มอเตอร์เวิลด์ กับโอกาสที่มาแบบคาดไม่ถึง
เป็นสถิติที่น่าตื่นเต้น เมื่อร้านขายรถจักรยานยนต์ของคนไทยในลาวมียอดขายพุ่งขึ้นอย่างก้าวกระโดดภายในเวลาไม่กี่เดือน จนต้องขยายสาขาอีก 3 แห่ง อะไรคือปัจจัยที่ทำให้เกิดสถานการณ์เช่นนี้...?
(นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา พฤษภาคม 2555)
65 ปี เวสป้า จาก “แขกขนผ้า” ขอเป็น “เด็กแนว”
รถมอเตอร์ไซค์รูปร่างเพรียวลม ดูเหมือนจะเล็กเกินไปสำหรับการแบกม้วนผ้าขนาดใหญ่ ภาพรถเวสป้ากับคนส่งม้วนผ้าดูเหมือนจะเป็นที่คุ้นตา โดยเฉพาะในย่านพาหุรัดและประตูน้ำ จนปฏิเสธไม่ได้ว่า หากพูดถึงรถเวสป้า คนกรุงเทพฯ ส่วนใหญ่มักนึกถึงรถส่งผ้า
(นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา พฤศจิกายน 2554)
มอเตอร์ไซค์จีนในเวียดนาม
ภายในร้านค้ารถจักรยานยนต์บนถนนเตยเซินในนครฮานอย คนขายสินค้า 2 คนกำลังยุ่งอยู่กับการแนะนำบรรดารถจักรยานยนต์เครื่องหมายการค้า Lifan ของจีนให้ลูกค้า
(นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา กุมภาพันธ์ 2553)
มอเตอร์ไซค์ "คาจิวา" ขอกลับมาเกิดในไทยอีกครั้ง
การฟื้นตัวของตลาดรถจักรยานยนต์ ในปีที่แล้ว ซึ่งมีการคาดการณ์ถึงยอดขายตลอดทั้งปีว่าจะสูงถึง 800,000 คัน ส่งผลให้ค่ายรถจากยุโรป ได้เริ่มให้ความสนใจจะขอเข้ามาร่วม แย่งตลาดในประเทศไทยด้วย แนวโน้มตัวผู้เล่นในตลาดในปีนี้ จึงมีเพิ่มมากขึ้น จากเดิม ที่มีผู้ครองตลาดหลักอยู่เพียง 4 รายที่เป็นค่ายรถจากญี่ปุ่นล้วนๆ
(นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2544)
ตลาดเริ่มดุเดือดขึ้น
ยอดขายรถจักรยานยนต์โดยรวมปี 2543 คาดว่าจะสูงถึง 8 แสนคัน เพิ่มสูงขึ้นจากปีที่แล้ว ที่มียอดขายรวม 598,000 คัน ถึง 33.7% นับเป็นเค้กชิ้นใหญ่ที่ผู้จำหน่ายจักรยานยนต์
4 รายใหญ่ของไทยต่างหมายปองเป็นอย่างยิ่ง
(นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2543)
จักรยานยนต์ไทย เกือบสายไป เหตุเพราะหิวเงินแท้ๆ
สิ้นเสียงการประกาศจัดเก็บภาษีสรรพสามิตจากภาครัฐเพียงไม่กี่วัน เกือบทุกกลุ่มธุรกิจ
ต่างร้องคัดค้านกันแทบทั้งสิ้น มีเหตุผลที่เหมาะสม น่าฟังบ้าง และเหตุผลที่น้ำหนักน้อยบ้าง
ปะปนกันไป แต่มีอุตสาหกรรมหนึ่งที่น่าสนใจ และอาจมองได้ว่า ปฏิบัติการหาเงินเข้ารัฐอย่างเร่งด่วนครั้งนี้ผิดพลาด
เสียมากกว่าได้
(นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2540)
ชุมพล พรประภา กับมาตรการป้องกันศึกสายเลือด
หลังจากดำเนินธุรกิจมาจนเกือบจะครบ 30 ปี บริษัท เอส.พี.ซูซูกิ จำกัด (มหาชน)
ซึ่งเป็นสมบัติของตระกูล "พรประภา" อีกซีกหนึ่ง ภายใต้การนำของ"ดร.ชุมพล"
ได้จัดให้มีพิธีลงนามแต่งตั้งผู้จัดจำหน่าย และรับประกันการจำหน่ายหุ้นสามัญเพิ่มทุนกับตัวแทนจากสถาบันการเงินทั้งไทยและต่างประเทศ
(นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2539)
ยามาฮ่าในเงื้อมมือคุณหญิงพรทิพย์ ณรงค์เดช
การตัดสินใจของ "ยามาฮ่า" ประเทศญี่ปุ่น ในการจับมือเป็นพันธมิตรกับกลุ่มเคพีเอ็นของเกษม
และคุณหญิงพรทิพย์ ณรงค์เดช ถือเป็นเรื่องรวดเร็ว และเกินคาดหมาย อีกทั้งยังเป็นช่วง
"ร้อนระอุ" ของสงครามระหว่างสองพี่น้อง
(นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2538)
ยามาฮ่ากลัว "พรเทพ"ผู้ขายทุกอย่างที่ขวางหน้า ?
ทำไมยามาฮ่าไม่ต่อสัญญาความร่วมมือทางเทคนิคกับสยามยามาฮ่า ซึ่งถือหุ้นใหญ่โดยสยามกลการ
หรือพูดง่ายๆ ทำไมยามาฮ่า มอเตอร์ ไม่เลือกสยามกลการซึ่งเป็นคู่ค้าเก่าแก่กันมานานกว่า
30 ปี ดูเหมือนจะเป็นคำถามที่ทุกฝ่ายพยายามหลีกเลี่ยงที่จะพูดถึง หรือหากจะตอบก็ตอบแบบเลี่ยงๆ
(นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2538)
เจ้าตลาดจักรยานยนต์คนใหม่ เกษม ณรงค์เดช
จักรยานยนต์ไทย ที่สี่ของโลก อุตสาหกรรมการผลิต และประกอบรถจักรยานยนต์ในประเทศไทย อาจกล่าวได้ว่าเข้มแข็งมากแห่งหนึ่งของโลกด้วยตลาดในประเทศที่มารองรับมากกว่าปีละหนึ่งล้านคัน
(นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2538)