FIF คึกคัก
แม้ว่าปัญหา subprime จากสหรัฐอเมริกาจะลุกลามไปทั่วโลก และประเทศไทยก็ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ อาการช็อกที่เกิดขึ้นทำให้สถาบันการเงินเกิดความตึงตัว แต่ในภาวะวิกฤติย่อมมีโอกาสเสมอ ถ้ามองตลาดเงินให้รอบด้าน จะเห็นว่ายังมีการลงทุนที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลาและต่อเนื่อง
(นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2550)
จับตาจีนกับแผนเปิดกองทุนใหญ่ที่สุดในโลก
ด้วยทุนสำรองเงินตราต่างประเทศมหาศาลกว่าล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ จีนมีแผนจะเปิดกองทุนขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งอาจสร้างความหายนะให้แก่เศรษฐกิจสหรัฐฯ ได้ในพริบตา
(นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2550)
private equity ถึงยุครุ่งเรืองในยุโรป
เมื่อไม่นานมานี้ J. Sainsbury ซูเปอร์มาร์เก็ตยักษ์ใหญ่ และ Alliance Boots เชนร้านขายยายักษ์ใหญ่ของอังกฤษ ตกเป็นเป้าหมาย การซื้อกิจการของบริษัทที่ซื้อกิจการด้วยวิธีที่เรียกว่า leveraged-buyout อย่างบริษัท Kohlberg Kravis Roberts และ Blackstone จากสหรัฐฯ
(นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2550)
ลักษณะกองทุนรวมอสังหาฯ ตามเกณฑ์ ก.ล.ต.
ลักษณะสำคัญทั่วๆ ไปของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ที่เป็นไปตามเกณฑ์ที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (สำนักงาน ก.ล.ต.) กำหนดให้จัดตั้งได้นั้น พอสรุปได้เป็นสังเขปดังนี้
(นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2550)
Property Fund คืออะไร?
ปัจจุบันตามประกาศของคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือ ก.ล.ต. กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ในเมืองไทยจะแบ่งออกเป็น 3 ประเภท แต่ในที่นี้จะกล่าวถึงเพียงกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (กอง 1) ซึ่งค่อนข้างจะเกี่ยวข้องกับเงินลงทุนในพอร์ตของนักลงทุนรายย่อยมากกว่าที่เหลือ
(นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2550)
Property Fund การลงทุนที่คุ้มเสี่ยง?
นักลงทุนรายย่อยที่เคยคาดหวังจะใช้ property fund เป็นช่องทางการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนที่ดีในระยะยาวนั้น อาจต้องลองคิดใหม่ เพราะหลักการการลงทุนของกองทุนที่มีในไทยนั้น ยังมีปัญหาในแง่เป้าหมายการลงทุน ซึ่งก็ยังไม่แน่ว่าผลตอบแทนที่ได้จะคุ้มเสียหรือเปล่า
(นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2550)
ถึงเวลากระจายความเสี่ยง
ช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมานี้กองทุนอสังหาริมทรัพย์ดูเหมือนจะกลับมาเป็นที่นิยมอีกครั้ง หลังสถานการณ์ความตึงเครียดทางเศรษฐกิจและการเมืองเริ่มคลี่คลาย จนทำให้ผู้บริหารจัดการกองทุนอสังหาริมทรัพย์เริ่มมองเห็นถึงโอกาสที่ดีในการประกาศขายหน่วยลงทุนสำหรับกองทุนอสังหาริมทรัพย์ทั้งที่เป็นกองใหม่และกองเก่า
(นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2550)
Funding For Future City
ถึงแม้ว่ากองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ฟิวเจอร์ปาร์ค หรือ FUTUREPF ซึ่งมีมูลค่ากองทุนมีขนาดค่อนข้างกะทัดรัดคือราวกว่า 4,733 ล้านบาท จะเปิดตัวล่ากว่ากองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ควอลิตี้ เฮ้าส์ หรือ QHPF ที่มีมูลค่าโครงการ 7,970 ล้านบาท ราวๆ 18 วัน แต่ก็ยังคงได้รับความสนอกสนใจจากสื่อมวลชนและนักลงทุนไม่แพ้กัน
(นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2549)
อาสา อินทรวิชัย "กลับมาเริ่มต้นจากติดลบ"
หากอยากเข้าใจถึงความยากลำบากของทีมผู้บริหาร เอเจเอฟ ซึ่งเข้ามารับช่วงงานแก้ปัญหาจากทีมก่อน น่าจะต้องฟังจากปาก 2 ผู้บริหารอย่างอาสา อินทรวิชัย ในฐานะคนเก่าที่เคยทำงานอยู่ที่เอเจเอฟ และฉัตรรพี ตันติเฉลิม อดีตประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บล.กรุงศรีอยุธยา ที่ต้องย้ายค่ายเข้ามานั่งเป็นกรรมการบริหารและกรรมการผู้จัดการใน บลจ.เอเจเอฟ เมื่อปลายปีก่อน
(นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2549)
ออก FIF ต้องวิเคราะห์ให้ถี่ถ้วน
แม้ณสุ จันทร์สม จะเคยเสนอเปิดตัวกองทุนที่ลงทุนในต่างประเทศ หรือ FIF กองที่ 3 ของค่ายเอเจเอฟให้ประภาส ตันพิบูลย์ศักดิ์ พิจารณาไปแล้ว แต่กองทุนใหม่นี้อาจจะยังไม่เกิดขึ้นได้ในเร็วๆ นี้ เพราะประภาสอยากให้วิเคราะห์ใหม่ให้ดี จากแง่ตัวสินค้าที่ยังมีหลากหลายตั้งแต่ commodity, fixed income, convertible bond หรือ equity ยังไม่นับรวมแหล่งที่จะเข้าลงทุน
(นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2549)