Global Team สร้างฐาน MFC ให้แข็งแกร่ง
ด้วยประสบการณ์การทำงานของ MFC ตลอด 33 ปีที่ผ่านมา ทำให้รู้ว่าบริษัทไม่สามารถพึ่งพาคนอื่นเพียงอย่างเดียว เพราะบริษัทรู้ตัวดีว่าถ้าจะสร้างรากฐานให้ธุรกิจแข็งแกร่งและสามารถแข่งขันกับคู่แข่งที่มีอยู่ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศได้นั้น จะต้องพึ่งพาลำแข้งของตัวเองถึงจะอยู่รอดได้อย่างมีศักยภาพ
(นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2551)
กองทุน FIF ปี 51 ยังมีเสน่ห์และน่าลงทุน
ปัญหาเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นทั่วโลก อาจทำให้นักลงทุนสงสัยว่าจะมีผลกระทบยาวนานแค่ไหน จะลุกลามอย่างไร แต่ธุรกิจบางประเภทกลับมองว่าสถานการณ์เช่นนี้สามารถพลิกวิกฤติให้เป็นโอกาส และหนึ่งในโอกาสนั้นก็คือการลงทุนในกองทุนรวม FIF ที่มองเห็นแสงสว่างที่เกิดขึ้นหลายๆ จุดทั่วโลก เพียงแต่ว่าบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนจะต้องฉกฉวยโอกาสนั้นมาให้ได้
(นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2551)
นิยามใหม่ของคำว่า "แบงก์" ไม่ได้วัดเพียงแค่เงินฝาก
ที่ผ่านมาการวัดขนาดความใหญ่ของแบงก์จะดูจากมูลค่าเงินฝากเพียงอย่างเดียว แต่อดิศร เสริมชัยวงศ์ ได้นิยามความหมายใหม่ขึ้นมา โดยให้ดูจากสินทรัพย์ที่ลูกค้านำมาฝากให้ดูแลมีมากน้อยเพียงใด สอดคล้องกับกรรณิกา ชลิตอาภรณ์ ที่พยายามบอกว่า ให้ดูตัวเลขการดำเนินงานโดยรวมของบริษัทในเครือทั้งหมด
(นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2551)
กองทุนรวมกับรีสอร์ตสุดหรู 5 ดาว
จุดหมายปลายทางการเดินทางของสื่อมวลชน 20 กว่าชีวิตในครั้งนี้ เพื่อไปเยี่ยมชมรีสอร์ตและสปาสุดหรู 5 ดาว ที่มีชื่อว่า เอวาซอน ไฮด์อะเวย์ ที่เกาะยาวน้อย จังหวัดพังงา เมื่อต้นเดือนธันวาคมปีที่แล้ว โดยมี บลจ.ทหารไทยเป็นเจ้าภาพ
(นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2551)
ไม่มีสูตรสำเร็จ ต้องทำงานหนักเท่านั้น
บุคคลภายนอกหลายคนคงตั้งคำถามว่า บลจ.ไทยพาณิชย์มีสินทรัพย์ที่บริหารอยู่ ณ ปัจจุบัน จำนวน 350,000 ล้านบาท ได้อย่างไร หรือทำอย่างไรที่สร้างหน่วยลงทุนจำนวน 290,000 ล้านบาท ในกองทุนรวมเป็นอันดับที่หนึ่ง
(นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2551)
SCBAM บททดสอบใหม่ เปิดตลาดระดับ Mass
ปีนี้เป็นอีกปีหนึ่งที่จะเป็นบทพิสูจน์ SCBAM อีกครั้ง หลังจากที่มีการเปลี่ยนแปลงโจทย์ เพื่อรับกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป โดยยึดลูกค้าระดับ mass เป็นเป้าหมายหลัก ในขณะที่กลุ่มลูกค้าระดับบนใกล้จะถึงจุดอิ่มตัว สิ่งที่ท้าทายสำหรับ SCBAM ทำอย่างไรจะให้ลูกค้าระดับ mass รับรู้ เข้าใจ และเข้าถึงการลงทุนให้ได้ง่ายที่สุด
(นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2551)
อลัน แคม
อลัน แคม วัย 50 ปี โลดแล่นอยู่ในวงการการเงิน บทบาทของเขาที่ผ่านมา เขาเป็นทั้งลูกจ้างมืออาชีพ เป็นทั้งผู้ถือหุ้นสลับกันไป ขึ้นอยู่กับจังหวะและโอกาสของชีวิตว่า เขาจะเล่นในบทบาทไหน ล่าสุดเขากลับมาเป็นลูกจ้างในบทบาทของ professional ใน บลจ.แมนูไลฟ์ (ประเทศไทย) แม้ว่าในตอนแรกเขาต้องการทำงานในรูปแบบร่วมทุนก็ตาม
(นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2550)
อลัน แคม กับ Manulife ในบทบาท Professional
ด้วยประสบการณ์ 30 ปี ที่อลัน แคม อยู่ในแวดวงตลาดเงิน ตลาดทุน ปัจจุบันเขานั่งอยู่ในตำแหน่งเอ็มดี บลจ.แมนูไลฟ์ (ประเทศไทย) ที่น่าสนใจคือ เขาใช้เวลาเพียง 5 เดือนสร้างสินทรัพย์ให้กับกองทุนทะลุ 5 พันล้านบาท จากที่กำหนดเป้าหมายเพียง 1,200 ล้านบาทในปีนี้ เขาใช้กลยุทธ์และวิธีคิดอย่างไรกับเรื่องนี้
(นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2550)
ทางเลือกใหม่
ดูเหมือนว่ากองทุนรวมลงทุนในต่างประเทศ (Foreign Investment Fund: FIF) จะคึกคักไปถึงปีหน้า หลังจากที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เปิดโอกาสให้มีการลงทุนเกิดขึ้น
(นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2550)
กว่า 40% ของกองทุนรวม บริหารโดยศิษย์เก่าศศินทร์
"เงินออมที่อยู่ในกองทุนรวมทุกวันนี้มีมูลค่าสูงถึง 1 ล้านล้านบาท คุณอยากให้ฝรั่งมาเป็นผู้บริหารหรือเปล่า ถ้าถามคนลงทุนหรือลูกค้า เขาอาจจะบอกว่าใครก็ได้ขอให้ได้ผลตอบแทนดีที่สุด ผมก็คิดยังงั้น แต่ว่าถ้าดูเทียบกับภาพรวมของประเทศแล้ว เศรษฐกิจเงิน 1 ล้านล้าน อยู่ในมือการจัดการของฝรั่งหรือคนต่างชาติ ซึ่งมุมมองหรือความสนใจของเขาอยู่ที่อื่น ไม่ได้โฟกัสอยู่ในไทย มันเหมาะสมหรือเปล่า แม้ว่าคนเหล่านั้นจะเก่งก็ตาม"
(นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2550)