Nokia Platinum Screen
เมื่อโนเกียบุกโรงภาพยนตร์สุดหรูของค่ายเมเจอร์ ถือเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นไม่ค่อยบ่อยนักในเมืองไทย ที่จะมีเจ้าของกิจการหรือผู้ผลิตสินค้าใดสินค้าหนึ่งตัดสินใจใช้เงินเป็นจำนวนมากเพื่อแลกกับการใช้ชื่อแบรนด์สินค้าของตัวเองติดอยู่กับเบาะเก้าอี้ทุกตัวในโรงภาพยนตร์ พร้อมกับใช้ชื่อเดียวกันนี้ติดไว้ที่ด้านหน้าทางเข้า ประหนึ่งเป็นเจ้าของโรงภาพยนตร์นี้ไปกลายๆ
(นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2548)
บัตรเติมเงินกินได้
ก่อนหน้านี้หลายปี รายได้กว่าครึ่งของค่ายโอเปอเรเตอร์นั้นล้วนแล้วแต่มาจากการให้บริการโทรศัพท์แบบจดทะเบียนหรือโพสต์เพด เนื่องจากการใช้จ่ายต่อหัวต่อเดือนนั้นสูงกว่ามาก อีกไม่กี่ปีถัดมานับจนถึงปัจจุบัน หลายค่ายลงความเห็นว่าด้วยจำนวนผู้ใช้บัตรเติมเงินที่เพิ่มขึ้นสูงกว่าผู้ใช้แบบจดทะเบียนหลายเท่าตัว ทำให้รายได้ของโอเปอเรเตอร์นั้นกลับไปในทิศทางตรงข้าม ปัจจุบันบัตรเติมเงินกลายเป็นรายได้หลักของแทบทุกค่าย
(นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2548)
Nokia Concept Store
ว่ากันว่าการเป็นที่หนึ่งยากกว่าคนที่ตามหลังก็ตรงที่ต้องทำงานหนักเพื่อรักษาตำแหน่งเอาไว้ให้คงที่ เพราะหากพลาดพลั้งไม่เพียงอันดับจะหลุดไปเป็นรองเท่านั้น แต่ยังหมายถึงการที่ต้องทำงานหนักอีกหลายเท่าเพื่อทวงแชมป์กลับคืน
(นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2548)
ความหมายของ "เบอร์สอง"
"ด้วยความที่ค่ายดีแทคเป็นเบอร์สองของตลาดมาตลอด จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะตกอยู่ในฐานะที่ไม่ได้อยู่อย่างสบาย ดีแทคต้องดิ้นรนเพื่อที่จะรักษาระดับของตัวเองเอาไว้"
(นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2548)
เปิดบ้าน "BPC" ไม่เห็นของจริงอย่าตัดสินใจซื้อ
"สร้างบ้านให้เสร็จก่อนขาย" คำนิยามใหม่ของการทำธุรกิจกับกลุ่มองค์กรของดีแทค นอกจากกลุ่มผู้ใช้งานทั่วไปที่ถือเป็นแหล่งรายได้อันงดงามสำหรับผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือหรือโอเปอเรเตอร์แล้ว กลุ่มองค์กรขนาดเล็กและขนาดใหญ่ ซึ่งเรียกโดยรวมว่า Corporate น่าจะเป็นอีกหนึ่งแหล่งรายได้ที่ไม่ว่าค่ายไหนก็หันมาให้ความสำคัญกันแทบทั้งสิ้น
(นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2548)
พลังเล็กๆ ที่ยิ่งใหญ่
ถึงคราวที่เอไอเอสหันลำกลับหาเลือดใหม่เข้าเสริมทัพ หลังจากค้นพบตลาดสื่อสารต้องอาศัยคนที่จบสาขาหลากหลายมากกว่าวิศวกรรมศาสตร์ แม้จะไม่ใช่แนวคิดที่ใหม่อะไร ที่องค์กรใดองค์กรหนึ่งจะเลือกคนรุ่นใหม่เข้าไปทำงานด้วย เสมือนกับเป็นส่วนเสริมให้องค์กรนั้นมีความลงตัวยิ่งกว่าที่เคยเป็น แต่สำหรับเอไอเอส องค์กรที่มีอายุมายาวนานในวงการธุรกิจการสื่อสาร การเลือกที่จะให้ความสำคัญและใส่ใจเด็กรุ่นใหม่ไม่ได้มีความหมายเพียงแต่ได้คนมาทำงานเพิ่มขึ้นเท่านั้น
(นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2548)
Localize marketing
หลังจากที่มุ่งมั่นทำตลาดในเขตกรุงเทพฯ และหัวเมืองใหญ่มานาน กลางปีที่ผ่านมาเอไอเอส ก็เริ่มขยับตัวเพื่อมองหาแหล่งรายได้ในเขตจังหวัดรอบนอก กิ่งอำเภอ และระดับตำบลยิ่งขึ้น ยิ่งกว่านั้นตัวเลขคาดการณ์อัตราการเติบของผู้ใช้โทรศัพท์มือถือในปีนี้ทั้งปีกว่า 4 ล้านเลขหมาย ยังเป็นตัวเลขของผู้ใช้ในต่างจังหวัดแทบทั้งสิ้น กลยุทธ์ localize marketing จึงมีบทบาทสำคัญ กับเอไอเอสเป็นอย่างยิ่งนับจากนี้เป็นต้นไป
(นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2548)
"แจ๋ว" ไปด้วยทุกที่
ขึ้นชื่อว่าเป็นเจ้าแห่งการเลือกใช้คำง่ายๆ กับตัวบริการยากๆ อยู่มาตั้งแต่ไหนแต่ไร ทั้งบริการใจดีให้แลกที่เพิ่งจะเปิดตัวไป หรือใจดีให้ยืมก็เพิ่งจะได้รับเสียงตอบรับที่ดีเกินคาดหมายของผู้บริหาร ล่าสุดดีแทคยังคงเส้นคงวาด้วยการตามรอยนโยบายนี้อยู่อีกอย่างต่อเนื่อง เปิดตัวบริการที่เรียกว่า "แจ๋ว" บริการแจ้งเตือนสายที่ไม่ได้รับขณะปิดเครื่อง อับสัญญาณ หรือแบตเตอรี่หมดผ่านทางเอสเอ็มเอสแบบฟรีโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
(นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2548)
ยุค "อารมณ์" เป็นเครื่องมือการตลาด
ลูกค้ายุคใหม่มักตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าและบริการ ตามความรู้สึกมากขึ้นกว่าการใช้เหตุผล นี่เป็นที่มาของการตลาดแบบใหม่ที่เรียกว่า Emotional Marketing
(นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2548)
กระเป๋าเงินในมือถือ
งานวันเปิดตัวบริการใหม่อย่าง "mPAY" ของเอไอเอส นอกจากผู้บริหารสูงสุดอย่าง สมประสงค์ บุญยะชัย ประธานกรรมการบริหาร และยิ่งลักษณ์ ชินวัตร กรรมการผู้อำนวยการ และผู้บริหารในระดับต่างๆ เดินทางมาร่วมงานแทบจะครบทีมแล้ว ทางฝั่งผู้บริหารจากพันธมิตรก็ล้วนแล้วแต่อยู่ระดับสูงสุดขององค์กรทั้งสิ้น
(นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2548)