ชินคอร์ปผนวกกิจการดีพีซี จุดกำเนิดของ duo band
ในอีกไม่ถึงเดือน การผนวกกิจการระหว่างชินคอร์ปและดีพีซี จะเกิดขึ้น เพราะนี่คือความลงตัวของการประสานประโยชน์ระหว่างโอเปอเรเตอร์มือถือ ที่จะอยู่รอดท่ามกลางกระแสความเชี่ยวกรากของการแข่งขันในโลกปัจจุบัน
(นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2543)
จากเสียงสู่ข้อมูล ยุทธศาสตร์ของไร้สาย
ตลาดโทรศัพท์มือถือในปี 2000 ไม่ได้เปลี่ยนแปลงในแง่ของดีกรีการแข่งขันที่ร้อนแรงขึ้นเท่านั้น แต่สิ่งที่จะเปลี่ยนแปลงก็คือ การพัฒนาจากเสียงไปสู่ข้อมูล
(นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2543)
คลังอาวุธสมอง บุญคลี ปลั่งศิริ
"ในวงการโทรคมนาคม ทุกคนใหม่หมด ผมจะถามจากใคร ผมต้องอ่านในตำรา
เหตุผลสั้นๆ ที่ทำให้บุญคลีกลายเป็นหนอนหนังสือตัวยง ที่ให้ความสำคัญกับการหาความรู้ผ่าน
"ตำรา" มากที่สุดคนหนึ่งของชินคอร์ป และเต็มไปด้วยความกระหายใคร่รู้
(นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2542)
ควอคอมม์แจ้งเกิดในไทย ยังต้องอีกหลายยก
ในบรรดาโทรศัพท์มือถือที่ครองตลาดอยู่ในไทย หลายคนคงนึกถึงแต่ยี่ห้อโนเกียแห่งฟินแลนด์
อีริคสันจากสวีเดน โมโตโรล่า จากอเมริกา นอกนั้นก็เป็นของจากค่ายยุโรป อย่างซีเมนส์
อัลคาเทล ที่ทำตลาดอยู่ประปราย
(นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2541)
ถึงคราวอีริคสันต้องจัดทัพ
หากจัดอันดับผู้ผลิตอุปกรณ์โทรคมนาคมรายใหญ่ของโลก อีริคสันคอมมิวนิเคชั่นส์
คงติดหนึ่งในนั้นอย่างไม่ต้องสงสัย อีริคสันข้ามน้ำข้ามทะเลมาสร้างอาณาจักรในไทยมาหลายสิบปีมาแล้ว ปัจจุบันอีริคสันได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งในซัปพลายเออร์ผู้ผลิตอุปกรณ์ติดตั้งเครือข่ายโครคมนาคมรายใหญ่ของไทย ที่มีรายชื่อลูกค้าอย่างองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย (ทศท.) การสื่อสารแห่งประเทศไทย (กสท.) ตลอดจนเอกชนผู้ให้บริการรายใหญ่ของไทย
(นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2540)
จูนมือถือ ยุทธการปล้นไฮเทค
จูนมือถือ ยุทธการปล้นไฮเทค ระเบิดเวลาลูกใหม่ที่สร้างความสูญเสียอย่างมหาศาล
วันดีคืนดีผู้ใช้ต้องเจอบิลเรียกเก็บเงินหฤโหดทั้ง ๆ ที่ไม่ได้โทร หรือแม้กระทั่งต้องเจอความเสี่ยง
ชนิดเดินไปห้างสรรพิสินค้าก็ยังไม่ได้ เหตุใด เอไอเอส-แทค เพิ่มตื่นแก้ปัญหา
ต้นตอของปัญหามาจากไหน จะกลางเป็นปัญหาเรื้อรังจนเกินเยียวยา หรือไม่ เป็นเรื่องต้องติดตาม
(นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2539)
กลเม็ดป้องกันถูกจูนมือถือของผู้ใช้
1. ยกเลิกโทรศัพท์ทางไกลต่างประเทศ
2. กำหนดวงเงินในการโทรฯแต่ละเดือน
3. นำเครื่องไปซ่อมที่ศูนย์บริการของตัวแทนจำหน่ายเท่านั้น
(นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2539)
"บิ๊กจิ๋ว" กับมือถือรายที่ 3ในนามองค์การทหารผ่านศึก
"ทหารทำได้ทุกอย่าง ไม่มีอะไรที่ทหารทำไม่ได้" วลีสั้น ๆ ง่ายๆ แต่ได้ใจความของ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมที่เอ่ยกับบรรดาสื่อมวลชนในการจัดประชุม เพื่อพิจารณาแนวทางเปิดโทรศัพท์มือถือขององค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก (อผศ.) ด้วยเหตุนี้เอง "องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก" หรือ อผศ. ในยุคสมัยของ พล.อ.ชวลิต จึงผันตัวเองจากหน่วยงานที่ไม่มีบทบาทใด ๆ ในเชิงธุรกิจ
(นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2539)
"เซอร์วิส โพรวายเดอร์ พีซีเอ็น 1800" จุดเปลี่ยนไออีซี
การได้เป็น "ตัวแทนเพื่อจัดให้บริการวิทยุคมนาคม (SERVICE PROVIDER)
ระบบเซลลูลาร์ พีซีเอ็น (PCN-PERSONAL COMMUNICATION NETWORK)" ให้กับบริษัท
โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเกชั่น หรือ "TAC" เป็นสิ่งที่มีความหมายในเชิงยุทธศาสตร์ของ
ไออีซี. เป็นอย่างมาก
(นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2537)
"โทรฟรีมือถือ ใครคือผู้รับผลประโยชน์ที่แท้จริง"
การแข่งขันของตลาดโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบเซลลูล่าร์ 900 กับเวิลด์โฟน 800เริ่มใกล้ถึงจุดจบในการเปลี่ยนแนวรบใหม่ ผู้ค้าทั้ง 2 ค่ายต่างชิงไหวชิงพริบในการปล่อยโทรมือถือของตนเองเข้าตลาดให้มากที่สุดว่ากันว่าการฟาดฟันอย่างดุเดือดของเซลลูล่าร์ 900 กับเวิลด์โฟน 800 ครั้งล่าสุดเกี่ยวกับการปล่อยแคมเปญโทรฟรีเฉพาะภาค ครึ่งราคาทั่วประเทศ หรือ นาทีละ 1 บาท มีการซ่อนดาบไว้ข้างหลัง
(นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2537)