ทวิภพในพิพิธภัณฑ์ธนาคารไทย SCB's Collection Inspiration
การลงทุน renovate ปรับปรุงพิพิธภัณฑ์ธนาคารไทยแห่งนี้ไปมากกว่า 10 ล้านบาท เพื่อ "สร้างภาพ" ร่วมฉลองวาระโอกาสอันยิ่งใหญ่ครบรอบ "๑๐๐ ปี ธนาคารไทยพาณิชย์" เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2550 ยังเป็นประเด็นน่าคิดว่า สามารถ create value กระบวนการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นสมดังเจตนาที่ปรากฏในสูจิบัตรหรือไม่ว่า
(นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2550)
SCB Way สู่ปีที่ 101 จาก Blue blood Banker สู่ Sales force
กรณีศึกษา 3 ผู้จัดการสาขา ธนาคารไทยพาณิชย์ ระดับ Modern Thai Heritage Bank : ตลาดน้อย เพชรบุรี และเฉลิมนคร ต่างสะท้อนให้เห็นคุณค่าที่เปลี่ยนไปจากนายธนาคารเลือดสีน้ำเงินสู่กองทัพนักขายสีม่วง ภายใต้วัฒนธรรมองค์กรเก่าแก่นับ 100 ปี ที่มีคนทำงานกว่า 8,000 คน ใน 824 สาขา ซึ่งเปลี่ยนจากฐาน full branch มาเป็นเพียง sales and services center
(นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2550)
"Seeing is Believing" เพราะเห็นจึงศรัทธา...
Corporate Social Responsibility (CSR) กลายเป็นส่วนหนึ่งในคำโฆษณาของหลายธุรกิจ เพื่อสร้าง (หรืออ้าง) ความชอบธรรมในการแสวงหากำไรจากสังคมนั้น แต่จะมีธุรกิจสักกี่แห่งที่จะใช้ CSR ในการสร้างศรัทธามหาชนได้อย่างแท้จริง ซึ่ง "ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด" ก็น่าจะได้เป็นหนึ่งในนั้น
(นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2550)
CHASE - HSBC เดินคนละทาง แต่เป้าหมายเดียวกัน
เส้นทางเดินของ CHASE NOMINEES จะวนเวียนอยู่ในธุรกิจธนาคารและมีลักษณะแตกออกเป็นเซลล์เล็กๆ แล้วลุกลามขยายตัวออกไป โดย CHASE ที่รับจ้างถือหุ้นหมวดธนาคาร จะกระจายการถือครองหุ้นบลูชิปไปฝากไว้ตามนอมินีในชื่อบัญชีย่อยๆ ในนามของ CHASE NOMINEES
(นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2550)
Growth Opportunity at HSBC
ธนาคารฮ่องกงเซี่ยงไฮ้ คอร์ป หรือ HSBC เป็นธนาคารต่างชาติอีกรายในไทยที่ได้กำหนดให้มีโครงการเพิ่มโอกาสทางอาชีพระดับโลก ให้แก่พนักงานที่ประจำอยู่ตามสาขาท้องถิ่นของพวกตน
(นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2549)
อารยา ภู่พานิช คนไทยสู้เขาได้
ในอดีตนั้นชื่อ สแตนดาร์ด ชาร์เตอร์ด (ไทย) ธนาคารสัญชาติอังกฤษอายุกว่า 111 ปี อาจยังไม่เป็นที่รู้จักมากนักในกลุ่มลูกค้ารายย่อย
จนเมื่อสแตนดาร์ด ชาร์เตอร์ด กรุ๊ป ตัดสินใจซื้อกิจการธนาคารนครธน เปลี่ยนชื่อใหม่เป็นสแตนดาร์ด ชาร์เตอรด์ นครธน ชื่อนี้จึงเริ่มเป็นที่คุ้นหูลูกค้ารายย่อย ซึ่งเป็นฐานเดิมของนครธน
(นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2549)
แนวรบที่ "เปิด" แล้ว
คนแบงก์ที่ยังคงละล้าละลัง กลัวจะเสียเปรียบธนาคารพาณิชย์ต่างชาติเมื่อวันเปิดเสรีธุรกิจบริการมาถึง คงต้องยิ่งเพิ่มความตระหนักให้มากขึ้นไปอีกในวันนี้ เพราะธนาคารต่างชาติเหล่านี้เขาไม่รอการเปิดเสรี แต่ได้รุกเข้ามายึดกุม "หัวใจ" ในการทำธุรกิจการเงินของไทยไปเรียบร้อยแล้ว
(นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2549)
ปรับนโยบายระดมเงินฝาก
ด้วยข้อจำกัดในการทำธุรกิจของธนาคารเกียรตินาคิน (KK) ซึ่งเป็นธนาคารขนาดเล็กที่มุ่งเน้นการให้บริการในพื้นที่ตลาดที่มีความถนัดเพียงไม่กี่อย่าง เช่น การให้สินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ทั้งมือ 1 และมือ 2 และสินเชื่อโครงการอสังหาริมทรัพย์ที่ประมูลซื้อมาจากองค์การปฏิรูปสถาบันการเงิน (ปรส.) การกำหนดกลยุทธ์เน้นระดมเงินฝากระยะยาว ที่สอดคล้องกับอายุการปล่อยสินเชื่อถือเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งยวด
(นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2549)
จากรากเหง้า สู่อนาคต
ห้องทำงานใหม่ของเขาอีกห้องหนึ่งอยู่ที่ชั้น 9 สำนักพหลโยธิน อาคารนี้เคยเป็นสำนักงานใหญ่ยุคก่อนหน้า ซึ่งเขาถือเป็นยุคความเจริญรุ่งเรืองของธนาคารกสิกรไทย ขณะที่อาคารสำนักงานใหญ่ปัจจุบันอยู่ในยุคของการแก้ปัญหา
(นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2549)