มือขวาของเจริญในแบงก์มหานคร
เจริญ สิริวัฒนภักดี เป็นคนใจกว้างต่อคนทั่วไป ที่สำคัญเขาเป็นคนมีสปิริตอย่างสูงต่อญาติในครอบครัวเอามากๆ เจริญยิ่งใหญ่ขนาดไหนในวงการค้าที่ดิจและธุรกิจอุตสาหกรรมสุราในเมืองไทยเป็นที่รู้ก้นได้
(นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2532)
โสภณพนิชที่ 3 ในแบงก์กรุงเทพ ?
สิ้นบุญ ชิน โสภณพนิช ยังไม่ถึงปีดี โชติ โสภณพนิช บุตรชายคนที่ 3 ของเขาก็ยื่นใบลาออกจากตำแหน่งกรรมการรองผู้จัดการใหญ่แบงก์กรุงเทพได้สำเร็จ
โดยไม่มีใครทัดทานความประสงค์ของเขาอีกต่อไป
(นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2532)
แบงก์ชาติบนเส้นทางที่ตีบตัน?!
แบงก์ชาติบนเส้นทางที่ตีบตัน หลังจากปรากฎการณ์ที่มีผู้บริหารระดับสูงและกลางของแบงก์ชาติทยอยเดินออกจากความมั่นคง
ภาคภูมิและศักดิ์ศรีอันศักดิ์สิทธิ์ ของสถาบันการเงินสูงสุดของชาติแห่งนี้เป็นจำนวนมากแล้ว
คำถามก็เริ่มประดังประเดเข้ามาสู่สถาบันแห่งนี้อย่างไม่ขาดสายแบงก์ชาติเกิดปัญหาสมองไหล
(นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2532)
สวัสดิการพนักงานแบงก์ชาติ
สุขภาพ - สิทธิเรื่องการรักษาพยาบาลเบิกได้เหมือนข้าราชการ ได้มีการทำ
สัญญากับโรงพยาบาลศิริราชให้เป็นสถานที่รักษาพยาบาลของพนักงาน แต่ก็สามารถเบิกค่ารักษาได้ในกรณีที่ไปรักษากับสถานพยาบาลของเอกชน
(นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2532)
ตำแหน่งทางการเมืองในแบงก์ชาติ
ผู้ว่าการและรองผู้ว่าการเป็นตำแหน่งบริหารสูงสุดของแบงก์ชาติซึ่งมักจะมีการเข้าใจกันว่าเป็นตำแหน่งทางการเมือง
เพราะตลอดเวลาที่ผ่านมาผู้ว่าแบงก์ชาติรวม 11 คนและรองผู้ว่าการรวม 10 คนนับแต่ตั้งธนาคารเมื่อปี
2485 ล้วนแล้วแต่เป็นข้าราชการระดับสูงจากกรมต่าง ๆ ในกระทรวงการคลัง (ยกเส้นรองผู้ว่าการคนหลัง
ๆ)
(นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2532)
สหธนาคาร
ศึกชิงแบงก์สหธนาคารที่ยืดเยื้อกันมาตั้งแต่ต้นเดือนเมษายน จนถึงวันนี้มีทีท่าว่าจะต้องยืดออกไปอีก
เมื่อกลุ่มชลวิจารณ์พลิกสถานการณ์จากการตกเป็นฝ่ายรับขึ้นมายันการรุกของกลุ่มพันธมิตรสามฝ่ายคือ
"เพ็ญชาติ-อัศวินวิจิตร-เอบีซี" ไว้ได้
(นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2532)
ความสุขแบบนภพร เรืองสกุล
การใช้ชีวิตท่ามกลางความซับซ้อนสับสนวุ่นวายของสังคมสมัยใหม่ที่เต็มไปด้วยการแข่งขันกับเวลามากขึ้นสิ่งที่ตามมาคือความเครียด
สถิติคนเป็นโรคจิต-โรคประสาทสูงขึ้นอย่างน่าตกใจ ความสุขซึ่งเป็นสุดยอดปรารถนากลายเป็นสิ่งหายากและออกจะเป็นเรื่องแปลกหากใครจะบอกว่าตัวเองมีความสุข
(นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2532)
อคิน รุจิขจรเดช "ผมไม่ใช่คนขี้โกง"
อคิน รุจิขจรเดช ใช้เวลาถึง 876 วันเพียงจะพูดคำนี้เพียงคำเดียว แต่มันมีความหมายต่อเขาเท่าชีวิต
"ธนาคารกสิกรไทยไล่พนักงานระดับบริหารรองผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติหน้าที่ผู้จัดการเขต
7 ชื่อ อคิน รุจิขจรเดช ออกจากงาน เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2530 ในข้อหาฉกรรจ์ว่าทุจริตต่อหน้าที่
แสวงหาผลประโยชน์จากตำแหน่งหน้าที่ให้การช่วยเหลือลูกค้า ทำให้ธนาคารได้รับความเสียหาย"
(นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2532)
"รัฐควรจะถอยออกไปจากแบงก์กรุงไทย"
ในกรณีของแบงก์กรุงไทย คือ ไม่ได้อยู่ในความสนใจของรัฐบาลหรือสาธารณะหรือสภาผู้แทนราษฎร
นานพอสมควร ก่อนหน้าที่จะเริ่มมีความสนใจต่อสถาบันการเงินนี้ มันมีเหตุการณ์จากราชาเงินทุนเข้ามา
และเหตุการณ์ไฟแนนซ์ในปี 2527 เข้ามา พวกนี้มันสกัดกั้นความสนใจที่จะมีต่อแบงก์กรุงไทย
ทีนี้พอกลุ่มที่มีปัญหาเริ่มจะมีการเคลียร์ความสนใจจึงเริ่มจะเข้ามาสู่ที่นี่
(นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2532)
คุณหญิงสุวรรณี พัวไพโรจน์น้ำนิ่งไหลลึก
ผู้หญิงที่ถูกพูดถึงและมีข้อฉงนสนเท่ห์ต่อตัวเธอมากครั้งที่สุดในรอบสามเดือนแรกของปีนี้
เห็นทีจะต้องยกให้คนชื่อ "คุณหญิงสุวรรณี พัวไพโรจน์" ซึ่งดังกระหึ่มสุดขีดเมื่อเป็นคนไทยคนแรกซึ่ไงด้ร่วมลงทุนกับธนาคารแห่งรัฐของลาวจัดตั้ง
"ธนาคารพาณิชย์แห่งแรกขึ้นในลาว"
(นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2532)