Bank CG and Basel III (Part I)
ที่ผ่านๆ มาเราได้คุยถึง CG ในหลากหลายแบบ แต่ก็เป็น CG สำหรับอุตสาหกรรมทั่วๆ ไป เช่น ซื้อมาขายไป หรือผลิตสินค้า พอดีช่วงนี้ผู้เขียนเห็นว่า เรื่อง Basel III ของแบงก์กำลังอินเทรนด์ พอๆ กับหุ้นธนาคารด้วย เลยทำให้นึกถึงอุตสาหกรรมธนาคารขึ้นมาได้ว่าอุตสาหกรรมนี้มีการดำเนินธุรกิจที่ไม่เหมือนใคร ไม่ได้ซื้ออะไรมาขาย ไม่ได้ผลิตสินค้า แต่ขายผลิตภัณฑ์ทางการเงินหรือเงินกู้ประเภทต่างๆ คือระดมเงินมาปล่อยกู้นั่นเอง
(นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา ตุลาคม 2553)
ซีอีโอหญิงคนใหม่
แม้เวลาจะล่วงเลยไปแล้ว 3 เดือน แต่ลิน ค็อก ในฐานะกรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหารธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) คนใหม่ เธอยังมีภารกิจรออยู่ตรงหน้าอีกมาก
(นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา ตุลาคม 2553)
ตลาดต้องฉีกแนว
แม้ว่าธนาคารซีไอเอ็มบีไทยจะไม่ใช่หน้าใหม่ เพราะมีฐานลูกค้าจากไทยธนาคารอยู่เดิมบางส่วนแล้วก็ตาม แต่ธนาคารจำเป็นต้องหาจุดยืนและโฟกัสตลาดให้ชัดเจนเพราะธุรกิจการแข่งขันด้านการเงินย่อมไม่มีที่ว่างให้กับผู้มาทีหลัง
(นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา ตุลาคม 2553)
1 Platform ของ CIMB
การรุกคืบตามยุทธศาสตร์ของ CIMB เพื่อก้าวสู่การเป็นธนาคารของประชาคม ASEAN รุดหน้าไปอีกขั้น หลังจาก CIMB เปิดตัวโครงการ 1 Platform ซึ่งเป็นโครงการสร้างระบบ Core Banking มาตรฐานร่วมสำหรับธุรกิจของ CIMB ในมาเลเซีย อินโดนีเซีย สิงคโปร์ และประเทศไทย
(นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา กันยายน 2553)
คนเก่าไปแต่คนใหม่ยังไม่มา
หลังจากประสาร ไตรรัตน์วรกุล ลาออกไปรับตำแหน่งผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยแล้ว ตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกสิกรไทยยังไม่มีใครเหมาะสมในเวลานี้ จึงทำให้บัณฑูร ล่ำซำ ต้องรักษาการไปก่อน
(นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา สิงหาคม 2553)
สถานะ SCB หลังโอนทรัพย์คดีทักษิณ
"เงินนี้เป็นเงินของลูกค้า ไม่ใช่เงินของธนาคาร หากมีคำสั่งที่ถูกต้องตามกฎหมายตามสิทธิ์ เราพร้อมทำตาม เราไม่มีปัญหา สภาพคล่อง เพราะในระบบของเรามีสูง และเงินก้อนนี้เมื่อเทียบกับเงินฝากที่มี 9 แสนล้านบาท ถือว่าไม่มาก" กรรณิกา ชลิตอากรณ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์ ซึ่งได้โอนเงินให้กระทรวงการคลังตามคำสั่งศาลฎีกาแผนกคดี อาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองที่ ศย 100/1679 ตั้งแต่วันที่ 27 เมษายน 2553
(นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา พฤษภาคม 2553)
แล้วก็ถึงคราว...ธนาคารนครหลวงไทย
"ปิดตำนานธนาคารนครหลวงไทย" กลายเป็นข่าวพาดหัวหนังสือพิมพ์รายวันในหน้าเศรษฐกิจแทบทุกฉบับ หลังจากที่ธนาคารธนชาตได้รับสิทธิ์ในการซื้อกิจการธนาคารที่มีอายุยาวนานถึง 69 ปี
(นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา เมษายน 2553)
“บัณฑูร ล่ำซำ” ฟื้นรากเหง้าสู่อนาคตใหม่
ธนาคารกสิกรไทย (เคแบงก์) มีงานกิจกรรมที่เกี่ยวกับบริการของธนาคารเฉลี่ยแล้วเกือบทุกอาทิตย์ บางอาทิตย์มีมากกว่า 1 งานจากหลายฝ่ายหลายผลิตภัณฑ์ของธนาคาร เฉลี่ยแล้วกสิกรไทยจึงเป็นธนาคารที่มีกิจกรรมมากกว่า 52 งานในหนึ่งปี หรือจะพูดให้ใกล้เคียงกว่านั้นก็ต้องบอกว่า มีงานนับร้อยงานต่อปี
(นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา เมษายน 2553)
“หมินเซิง” เพื่อนรักฟ้าประทานของ “หนงหมิน”
เพิ่งผ่านไปไม่ถึงทศวรรษ ก่อนหน้านี้ที่ธนาคารกสิกรไทย หรือเคแบงก์ ปรับเปลี่ยนภาพลักษณ์ตัวเองเป็นแบงก์ซึ่งเป็นที่รู้จักกันด้วยภาพลักษณ์ที่เป็นสากล โดยเฉพาะเมื่อได้พูดคุยกับฝรั่งแล้วให้เข้าใจได้ว่านี่คือแบงก์ที่เป็นสากล ไม่ใช่ธนาคารของชาวนา จนถึงกับต้องเปลี่ยนชื่อเรียกจาก Thai Farmer Bank หรือ TFB มาสร้างเป็น K Brand เพื่อให้ลูกค้าเรียกได้คล่องกว่าชื่อเดิม
(นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา เมษายน 2553)