"ครั้งแรกในชีวิตโฆษิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ ลูกจ้างของแบงก์กรุงเทพ"
โฆษิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ก้าวเข้าเป็นประธานคณะกรรมการบริหารจัดการและวางแผนของธนาคารกรุงเทพอย่างเต็มตัวตั้งแต่วันที่
1 กันยายนศกนี้ ตำแหน่งนี้เพิ่งตั้งขึ้นมาใหม่เพื่อปรับแต่งโครงสร้างองค์กรแบงก์เก่าแก่อายุ 50 ปีนี้ให้คล่องตัวมีความสามารถเชิงแข่งขันในอนาคต 5 ปีข้างหน้าและรองรับการเปลี่ยนแปลงใหม่ของทายาทผู้นำ
(นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2537)
"จามิกร บูรณะนนท์ จากซิตี้แบงก์ ถึงสแตนดาร์ด ชาร์เตอร์"
จามิกร บูรณะนนท์ นับเป็นคนไทยคนแรกที่ก้าวขึ้นมานั่งในตำแหน่งผู้บริหารสูงสุดของกิจการเครือสแตนดาร์ด
ชาร์เตอร์ในประเทศไทย ในฐานะกรรมการผู้จัดการ บริษัทสแตนดาร์ด ชาร์เตอร์ (ประเทศไทย) ซึ่งเป็นกิจการทางด้านวาณิชธนกิจของกลุ่มสแตนดาร์ด ชาร์เตอร์ เขาคือผู้ที่จะต้องเป็นแม่ทัพในการบุกเบิก พัฒนาธุรกิจวาณิชธนกิจของสแตนดาร์ด
ชาร์เตอร์ในประเทศไทย
(นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2537)
"REENGINEERING กสิกรไทยสู่ธนาคารแห่งศตวรรษใหม่"
2538 จะเป็นปีที่ธนาคารกสิกรไทยครบรอบ 50 ปี เป็นปีที่การเปลี่ยนแปลงซึ่งเริ่มต้นในปีนี้ภายใต้แนวคิดเรื่อง
"REENGINEERING กระบวนการทำงาน" จะเริ่มปรากฏผล และเป็นปีที่ธนาคารจะเผยโฉมดีไซน์ภายในสำนักงานใหม่ในโทนสีเขียว โดยเฉพาะสาขาของธนาคารในเขตกรุงเทพมหานครประมาณ 120 แห่ง
(นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2537)
"สนามเป้า : เป้าหมายแรกของ TFB
สาขาถือเป็นหน่วยงานหลักของธนาคาร เป็น OUTLET หรือจุดขาย เป็นตัวหารายได้ให้ธนาคาร
บริการส่วนใหญ่ที่มีให้ลูกค้าคือบริการระบบบัญชีเรื่องเกี่ยวกับเงินฝาก เงินกู้
และบริการต่าง ๆ ที่เป็นการอำนวยความสะดวกให้ลูกค้า เช่นเรื่องบัตรเครดิต
(นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2537)
วิบูลย์ อังสนันท์ กับทางเลือกใหม่สำหรับคนรุ่นเก่า
"ท่านผอ. คนนี้แปลกกว่าท่านอื่น เพราะไม่ว่าจะมีการอบรม หรือสัมมนาอะไร
ท่านจะไปกับพวกเราด้วย และการวางโครงการอะไร ท่านก็จะมีส่วนรับรู้ให้คำแนะนำโดยตลอด"
อดีตพนักงานกองการพนักงานหรือสำนักบริหารงานบุคคลในปัจจุบันเล่าให้ "ผู้จัดการ"
ฟัง
(นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2536)
ปีนี้ไม่มี "บัญชา ล่ำซำ"
จากมิถุนายน 2536 อันเป็นวาระขึ้นสู่ปีที่ 49 ของธนาคารกสิกรไทย แต่ปีนี้ไม่มี
"บัญชา ล่ำซำ" อยู่ร่วมชื่นชมความสำเร็จขององค์กรที่เขามีส่วนสร้างขึ้นมากับมือด้วยผู้หนึ่ง
(นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2536)
53 ปี ธนาคารเอเชีย Never Ending Story ของเอื้อชูเกียรติ
ตระกูลเอื้อชูเกียรติยกงานบริหารธนาคารยุคใหม่ให้กับจุลกร สิงหโกวินท์ วันนี้ธนาคารเอเชีย
(มหาชน) แตกต่างกว่าเมื่อ 5 ปีก่อนโดยสิ้นเชิง ทั้งในแง่ของกำไร วัตถุประสงค์
และยุทธวิธีที่มีความซับซ้อนแนบเนียนมากขึ้น ขยายกิจการสาขาออกไปอย่างกว้างขวาง
และกระจายอำนาจการบริหารมากขึ้นกว่าที่ "เอื้อชูเกียรติ" เคยทำมา!!
(นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2536)
ตระกูลภัทรประสิทธิ์ในธนาคารเอเชียกับเข้ามาของเจริญ สิริวัฒนภักดี
เป็นที่น่าสังเกตว่า รากฐานของผู้ถือหุ้นใหญ่ในธนาคารเอเชียนับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
ล้วนแล้วแต่เป็นคนในวงการธุรกิจการค้าสุรา ซึ่งเป็นนักธุรกิจการเมืองที่ต้องติดเขี้ยวเล็บรอบตัว
สำหรับการบริหารธุรกิจที่มีผลประโยชน์ก้อนมหาศาลให้อยู่รอด และมั่นคงในทุกสมัยผู้นำทางการเมืองแบบยุคเก่าที่เอาขวดเหล้าผูกไว้กับกระบอกปืน
(นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2536)
เมื่อสหภาพแบงก์เอเชีย ไม่ใช่หุ่นยนต์
ไม่น่าเชื่อว่า แบงก์ที่ได้รับคำชมจากทางการเมื่อต้นปี 2537 ว่ามีการบริหารเป็นเยี่ยม
เพราะสามารถคืนซอฟท์โลนจำนวน 1,500 ล้านบาทแก่แบงก์ชาติตามกำหนด หรือการเป็นแบงก์ขนาดเล็กแห่งหนึ่งที่ได้รับอนุญาตประกอบธุรกิจในศูนย์วิเทศธนกิจ
(นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2536)