Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
News Article

industry
company
people
internet
brand


View Results by Group
นิตยสารผู้จัดการ352  
Positioning45  
ผู้จัดการรายวัน246  
ผู้จัดการรายสัปดาห์20  
PR News654  
Total 1297  

Listed Company
Manager Lists
 
Industry > Banking and Finance > Banking

Subcategories
Cash Management
Interest Rate
Consumer Banking
Retail Banking
Electronic Banking


นิตยสารผู้จัดการ (171 - 180 of 352 items)
"นิตยา วิรัชพันธ์ ผู้เปิดฉาก "ไพรเวทแบงกิ้ง" ด้วยกลยุทธ์ง่าย ๆ "นิตยา วิรัชพันธุ์" สามารถฉ้อโกงแบงก์กรุงเทพมาได้เป็นเงินถึง 266 ล้านบาทเป็นอย่างต่ำ เพียงแต่นิตยานั่งทำงานในส่วนที่ไม่ธรรมดา "ไพรเวทแบงกิ้ง" เป็นธุรกิจที่เป็นหน้าเป็นตาของแบงก์กรุงเทพและเป็นการันตีแห่งความน่าเชื่อถือในตัวนิตยา มาวันนี้นิตยาปิด "ธนาคารส่วนตัว" ของเธอพร้อมกับทำลายความน่าเชื่อถือของไพรเวทแบงกิ้งอย่างยับเยิน นิตยาเป็นใคร เธอทำได้อย่างไร เงินหายไปไหน? ตั๋วบี/อีปลอมระบาดไปแค่ไหน?(นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2539)
"ตั๋วบี/อี มหาภัย ระวังโง่-งก-เงิน" จากตั๋วบี/อีปลอมกระดาษแผ่นเดียวหลายกอปปี้ที่เขียนข้อความว่า "ตั๋วแลกเงิน" (BILL OF EXCHANGE) ของบริษัทปราณบุรี พร๊อพเพอร์ตี้ส์ ที่สุรพงษ์ ใจงาม กรรมการผู้จัดการ เซ็นชื่อเป็นผู้รับรองการจ่ายเงินและสั่งจ่ายแบบ WITHOUT RECOURSE ที่ไม่ต้องรับผิดชอบกรณีตั๋วเงินถูกปฏิเสธ กลายเป็นเรื่องไฟลามทุ่งที่ขยายไปถึงตลาดซื้อขายตั๋วแลกเงินที่กำลังสะพัดมูลค่าถึง 3-4 แสนล้านบาท(นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2539)
"การต่อสู้ของอินทรฑูต" เกริกเกียรติ ชาลีจันทร์ ไม่ใช่คนแรกที่เขียนตำนานอันเร้าใจบทนี้ บีบีซี เปิดดำเนินการเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2487 แถว ๆ ทรงวาดในยุคนั้น บีบีซีก็เหมือนธนาคารยุคแรก ๆ ที่ควบคุมโดยพ่อค้าเชื้อสายจีน เช่นธนาคารทั่วไปโดยมีหัวเรือใหญ่คือ ตัน จิน เกง พ่อค้าจีนผู้มีชื่อเสียง ประสบการณ์ธุรกิจครบเครื่องเจ้าของกิจการเดินเรือใหญ่ บริษัทโหงวฮก ได้ชักชวน ตัน ซิ่ว เม้ง หวั่งหลี บุลสุข สหัท มหาคุณลงขันตั้งธนาคารขึ้น(นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2539)
"ดร.สม"ไป-"ดร.โอฬาร"มา สมาคมแบงก์ไทยยุคโหรเศรษฐกิจ สิ้นปีที่แล้ว ดร.สม จาตุศรีพิทักษ์ทิ้งทวนตำแหน่งประธานสมาคมธนาคารไทยที่บริหารมาสองวาระหรือ 3 ปี ให้กับดร.โอฬารที่จ่อคิวตำแหน่งประธานคนใหม่ สถานภาพใหม่นี้มีความหมายทั้งส่วนรวมและส่วนตัว ที่สอดคล้องกับห้วงเวลาที่แบงก์ไทยพาณิชย์จะมีงานฉลองใหญ่ครบรอบ 90 ปีบริบูรณ์ในปีนี้ด้วย(นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2539)
"เมื่อหม่อมคึกฤทธิ์อสัญกรรม "ตันติพัฒน์พงศ์" จะฮุบแบงก์ ?" มูลค่าซื้อขายหุ้นแบงก์กรุงเทพฯ พาณิชย์การ ที่การติดอันดับสูงสุดสามวันต่อเนื่องกัน ภายหลังการอสัญกรรมของ พล.ต. ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็นปรากฏการณ์ที่สะท้อนถึงขบวนการสร้างราคาที่อาศัยความอ่อนไหวจากกระแสข่าว เฉกเช่นเคยเป็นมาในอดีต เช่น ราคาหุ้นพุ่งชนซิลลิ่งเพื่อขานรับข่าวศาลอุทธรณ์ยกฟ้องเสี่ยสองในข้อหาปั่นหุ้น(นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2538)
"โทนี่และปั้น" "โทนี่" ในที่นี้คือชาติศิริโสภณพนิชและ "ปั้น" ก็คือบัณฑูร ล่ำซำ กรรมการผู้จัดการใหญ่ของแบงก์กรุงเทพและแบงก์กสิกรไทยตามลำดับ ทั้งสองคนนั้นอาจจะถูกมองอย่างริษยาว่าต่างก็เกิดมาบนกองเงินกองทอง เพราะทั้งสองนามสกุลนั้นหลายคนแปลว่า "เงิน" หรือ "รวย"(นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2538)
"BOURSE GAME เกมเรียนๆ เล่นราคาแพงของซิตี้แบงก์" เมื่อซิตี้แบงก์ประเทศไทยประกาศจัดเล่นเกมแน่นอนย่อมไม่ใช่เกมธรรมดาเพราะ BOURSE GAME เป็นเกมค้าเงินที่โด่งดังระดับโลกของซิตี้แบงก์ ครั้งหนึ่งเคยเป็นสินค้านำเข้าที่มีชาวสิงคโปร์หรือฟิลิปปินส์สอนคนไทยเล่นด้วยภาษาอังกฤษ แต่ครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่ทีมคนไทยกำกับเวทีเอง นำทีมโดยปัญญา จรรยารุ่งโรจน์ (นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2538)
ยกเครื่อง ธ.อ.ส. ปฏิบัติการการเชิงรุกของสิทธิชัย ตันติ์พิพัฒน์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ( ธ.อ.ส.) รัฐวิสาหกิจผู้มีบทบาทสำคัญในการปล่อยกู้สินเชื่อสร้างบ้านจนเป็นหน่วยงานที่มีสัดส่วนการตลาดมากที่สุด เข้าใจอย่างซาบซึ้งว่า ในภาวการณ์แข่งขันที่เข้มข้นด้านการหาลูกค้าสินเชื่อในยุคปัจจุบัน ธ.อ.ส.คงจะปฏิเสธตัวเองไม่ได้ที่จะปรับเปลี่ยนรูปแบบองคฺกร วมถึงการให้บริการ ให้เกิดความทะมัดทะแมงที่จะขันแข่งกับคู่ต่อสู้ได้อย่างเต็มที่(นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2538)
จับตาเอบีเอ็น-แอมโร แบงก์ต่างประเทศ น้องใหม่ อายุ 171 ปี ความรีบร้อนกลับกรุงลอนดอน pjan klaff ประธานคณะผู้บริหารของแบงก์ยักษ์ใหญ่ที่สุดของโลกอย่าง เอบีเอ็น-แอมโร แบงก์ เกิดขึ้น หลังจากที่ได้รับรายงานต้องไปช่วยกู้วิกฤตการณ์ธนาคารแบริ่งล้ม ทำให้ลิเดีย คาล์ฟ ภริยาประธานและมาร์เทน รอยซ์ลิน รองประธานบริหารอาวุโส ต้องทำหน้าที่แทนในวันเปิดสาขาอย่างเป็นทางการ(นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2538)
แบงก์กรุงเทพหลังกึ่งศตวรรษ ต้องทำมากกว่าที่ผ่านมา ชาติศิริ โสภณพนิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ คนใหม่ ของธนาคารกรุงเทพ โสภณพนิช รุ่นที่ 3 ซึ่งเข้ามารั้งตำแหน่งหมายเลข 1 ของธนาคารที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ตั้งแต่เดือนนี้ ประกาศที่จะดำเนินนโยบายสู่การเป็นธนาคารแห่งภูมิภาคเอเชียในปี 2540 ทำให้คนในวงการมีคำถามเกิดขึ้นว่าคือราคาคุย หรือธนาคารกรุงเทพ จะมีแผนลุยตลาดเอเซีย อย่างจริงจัง เพราะการเป็น" ธนาคารแห่งภูมิภาค" หรือ " Regional Bank" ไม่ใช่เป็นเรื่องง่าย ๆ (นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2537)

Page: ..11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 ..





upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 

home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us