การผนวกและซื้อกิจการธนาคาร: โอกาสทางประวัติศาสตร์ ที่ไม่ใช่สำหรับกิจการที่อ่อนแอ
นักสังเกตการณ์ส่วนใหญ่เชื่อว่าการผนวกและซื้อกิจการธนาคารในเอเชียจะเริ่มบูมขึ้นในปี 1998 อันเป็นผลจากแรงผลักดัน
ของวิกฤตการณ์ แต่พวกเขาคาดผิด เพราะในตลาดหลักเก้าแห่งที่กำลังพุ่งแรงในเอเชียตะวันออก อันได้แก่ จีน ฮ่องกง
อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ เกาหลีใต้ ไต้หวัน และไทย การผนวกและซื้อกิจการธนาคารภาคเอกชนดำเนินไป
อย่างค่อนข้างราบเรียบในปี 1998 เป็นวงเงินเพียง 5.6 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งเป็นอัตราที่พอๆ กับเมื่อปี 1996 ก่อนที่จะเกิด
ภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ
(นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2542)
ยกเครื่องธนาคารในเอเชีย
สถาบันการเงินในภูมิภาคเอเซีย กำลังเผชิญกับแรงท้าทายนานัปการ ทั้งนโยบายเปิดเสรีมากขึ้น ลูกค้าและนักลงทุนประเภท
สถาบันจากต่างชาติที่ล้วนแต่ต้องการบริการที่หลากหลายกว่าเดิม และภาวะการแข่งขันที่รุนแรงจากต่างชาติ สิ่งเหล่านี้
สร้างแรงกดดันต่อธนาคารเอกชนและธนาคารของรัฐให้ต้องเร่งปรับตัวอย่างที่ไม่เคยปรากฎมาก่อน ในระยะเวลาไม่กี่ปี
ข้างหน้านี้ ธนาคารจะต้องปรับปรุงระบบทำงานอย่างมหาศาลเพื่อความอยู่รอดและสร้างตัวเองขึ้นจากรากฐานที่มีอยู่
(นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2542)
สถานะแบงก์ไทย-เทศ ยุคหัวเลี้ยวหัวต่อ
มุมมองของบริษัทจัดอันดับยักษ์ใหญ่ที่มีอิทธิพลต่อนักลงทุนอย่าง Moody"s
Investors Service ต่อภาคธนาคารพาณิชย์ไทยว่ายังอยู่ในภาวะวิกฤติที่ต่อเนื่องและยังมีแนวโน้ม
"เชิงลบ" ต่อกลุ่มธนาคารขนาดเล็กขนาดกลาง รวมทั้งธนาคารที่ขอรับการช่วยเหลือจากทางการส่วน
ธนาคาร ขนาดใหญ่ถูกจัดในระดับที่มี "เสถียรภาพ" โดย Moody"s เห็น ว่าการเพิ่มทุนของระบบธนาคารพาณิชย์ตั้งแต่ต้นปี
2541 เป็นต้นมามีจำนวน 7 แสนล้านบาทนั้น "ยังไม่เพียงพอ"
(นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2542)
แบงก์จีเอสู้ไม่ถอยเปิดฉากกระจายหุ้น
ท่ามกลางความไม่แน่นอนของภาวะเศรษฐกิจไทย ทำให้อะไรอะไรก็พลอยดูไม่น่ามั่นใจกันไปหมด
แม้กระทั่งธนาคารพาณิชย์แห่งใหม่ที่เตรียมการกันมาเนิ่นนานจนได้รับใบอนุญาตกันไปแล้ว
3 แห่งคือธนาคารเจเนอรัล เอเชีย ของกลุ่ม บงล.จีเอฟ ธนาคารปฐมไทยของกลุ่มอิตาเลียนไทย
และธนาคารนครราชสีมาของกลุ่มเอ็มบีเค พร็อพเพอร์ตี้ฯ
(นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2540)
แบงก์คุณภาพฝันที่เป็นจริงได้ของ "ธนาคารทหารไทย"
ธนาคารทหารไทยสร้างแผนงาน 9 ปีเพื่อกรุยทางสู่แบงก์คุณภาพ เริ่มจากการสะสางองค์กร
สร้างประสิทธิภาพของคนแล้วค่อยก้าวสู่การแข่งขันเพื่อชิงมาร์เก็ตแชร์ แผนงานผ่านไปแล้วครึ่งทาง
แบงก์ทหารไทยมีคุณภาพตามที่วาดหวังไว้หรือไม่ หรือมีอะไรผิดเพี้ยนไป ?!?
ความมั่นอกมั่นใจของ ดร.ทนง เกิดขึ้นจากการดำเนินงานตามแผนงาน 9 ปี (2536-2544)
ซึ่งเป็นหนทางสู่การเป็นแบงก์คุณภาพ นับถึงปัจจุบัน TMB เดินมาถึงครึ่งทางแล้ว
(นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2540)
ธนาคารไทยพาณิชย์ 1 ปีต้องมีสักครั้ง
จากสภาวการณ์ปัจจุบันที่เศรษฐกิจของประเทศไทยมีอัตราการเติบโตลดลง ขณะที่การขาดดุลบัญชีเดินสะพัดก็มีแนวโน้มสูงขึ้น
ประกอบกับภาวะการดำเนินธุรกิจในหลายๆ ด้าน อยู่ในภาวะซบเซาส่งผลให้เกิดปัญหาเงินเฟ้อ
สภาพคล่องตึงตัว คณะรัฐมนตรีได้พยายามหามาตรการเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจที่ตกต่ำอยู่ในขณะนี้ให้กระเตื้องขึ้นได้
(นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2539)
ราเกซ สักเสนา
ต้องขออภัยจริง ๆ กับท่านผู้อ่านที่ดิฉันหายไปจากคอลัมน์นี้เดือนที่แล้ว เพราะติดภารกิจสำคัญต้องบินไปสัมภาษณ์ ราเกซ สักเสนา ผู้ต้องหาคนสำคัญในคดีบีบีซี ที่แวนคูเวอร์อย่างฉุกละหุกเอาการ
(นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2539)
บุญญรักษ์ นิงสานนท์ ถึงเวลาเบนหัวเรือธนาคารออมสินสู่ปากอ่าว
วันอังคารที่ 2 กรกฎาคม 2539 ที่ผ่านมา ถือได้ว่าเป็นการเริ่มต้นแห่งมิติใหม่ของธนาคารออมสิน ธนาคารที่รับฝากเงินเริ่มต้นจาก 1 บาทแห่งเดียวของไทย เพราะเป็นวันเข้ารับตำแหน่งใหม่ของ ดร.บุญญรักษ์ นิงสานนท์ ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน คนที่ 10 แต่เป็นผู้อำนวยการออมสินคนแรกที่มาจากคนนอก "
(นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2539)
"จินดา จรุงเจริญเวชช์ เมื่อนางสิงห์ต้องสะอื้น"
จินดา จรุงเจริญเวชช์หรือ "พี่เตี้ย" สำหรับน้อง ๆ ถือเป็นผู้หญิงที่ทำงานเก่งมาก ๆ อีกคนหนึ่ง เธออาจเป็นผู้หญิงเหล็กที่ทำงานราวผู้ชายอกสามศอก อยู่ระดับแถวหน้าของแบงก์กรุงเทพที่สามารถสร้างธุรกรรมแนวใหม่ที่ให้บริการคนรวยได้มาก ๆ จนกระทั่งสามารถระดมเงินฝากให้แบงก์ได้สูงที่สุดคนหนึ่ง
(นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2539)