"ยุทธศาสตร์ "ซิทก้า" ก้าวกระโดดแบบคนรุ่นใหม่"
ยุทธศาสตร์องค์กรภายใต้วิสัยทัศน์คนรุ่นใหม่อย่างวีระ มานะคงตรีชีพ ทำงานอย่างได้ผล
ภายใน 3 ปี ซิทก้าโตแบบก้าวกระโดดเป็นไฟแนนซ์ระดับกลางที่มีสินทรัพย์รวมไม่ต่ำกว่า
30,000 ล้านบาท เตรียมแตกหน่อธุรกิจการเงินให้ครบวงจรอย่างเร้าใจด้วยพลังหนุ่มสาววัย
30 ผลลัพธ์ของวิสัยทัศน์ปี 2000 ของวีระจะนำสถาบันการเงินคนรุ่นใหม่ให้รุ่งไปได้แค่ไหนในบรรยากาศเศรษฐกิจไร้ฟองสบู่ ?
(นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2538)
พงส์ สารสินกับงานเบาๆ "ประธานกรรมการ" อันดับที่ครึ่งร้อย
เช้าวันเปิดตัวประธานกรรมการบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ มหาธนกิจอย่างเป็นทางการ
ขลุกขลักพอควรกับดอกไม้ช่องามที่พนักงานบรรจงติดให้พงส์ สารสิน เพราะช่อที่หนักเกินไปจนห้อยหล่นๆ
ก่อให้เกิดความรำคาญแก่พงส์ตั้งแต่ก้าวแรกจนนั่งแป้นแถลงข่าวร่วมกับสองหนุ่มผู้บริหารระดับสูงอย่างเทพ
รุ่งธนาภิรมย์และมาริษ ท่าราบ
(นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2538)
นพดล มิ่งจินดา "พ่อบ้านเหอ" ผู้กำกับมาตรฐานค้าหุ้นของจีเอฟ
ในยุคจรรยาบรรณเสื่อมโทรม การที่ ก.ล.ต. บังคับให้ทุกบริษัทหลักทรัพย์ต้องตั้งหน่วยงานกำกับและตรวจสอบภายใน (COMPLIANCE UNIT) ขึ้น โดยหลักการย่อมเป็นสิ่งประเสริฐ แต่โดยทางปฏิบัติยังมีอุปสรรคอยู่มากมาย เพราะตราบใดที่เจ้าหน้าที่หน่วยงานยังคงรับเงินเดือน และอยู่ใต้บังคับบัญชาการของผู้บริหารก็คงไม่มีใครกล้า "ฟ้องนาย-ขายเพื่อน" โดยทำบันทึกรายงานความผิดของเจ้านายตนเองแน่นอน นี่คือตัวอย่างความขัดแย้งทางผลประโยชน์อย่างหนึ่ง
(นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2538)
หุ้นกู้แปลงสภาพครึ่งหลังปี 2538 จะไปยุโรปหรืออยู่ในประเทศดีกว่ากัน?
การลดอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกในรอบ 3 ปีของธนาคารสหรัฐฯ นอกจากจะเป็นปัจจัยที่สำคัญทำให้ตลาดหุ้นทั่วโลกกลับมาคึกคักกันอย่างทั่วหน้า ยังเป็นปัจจัยสำคัญกระตุ้นระดมทุนในครึ่งหลังปี 2538 ให้กลับมาเฟื่องฟูอีกครั้งหนึ่ง โดยเฉพาะการออกตราสารหนี้ แต่จะเป็นการออกตราสารหนี้ประเภทไหนนั้น วาณิชธนากรต่างมีข้อเสนอที่แตกต่างกัน
(นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2538)
ดร.ณรงค์ชัย อัครเศรณี แล้ว "นำจีเอฟ" กับ "นำไทย" จะไปทางไหน?
เป็นประเพณีทุก ๆ กลางปีและปลายปี ดร.ณรงค์ชัย อัครเศรณี ในฐานะประธานเจ้าหน้าที่บริหารของบงล. จีเอฟ จะโชว์เดี่ยวคาดการณ์แนวโน้มทางเศรษฐกิจของไทย สำหรับครึ่งปีหลังของรอบปีนี้เป็นที่คาดว่าจะขยายตัว 8.5% ได้ถ้าหากรัฐบาลใหม่มีประสิทธิภาพในการบริหาร เพราะการที่ส่งออกและการลงทุนภาคเอกชนจะเป็นตัวนำ และการใช้จ่ายในโครงการของรัฐบาลที่คั่งค้างจะมีความสำคัญสูง
(นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2538)
มรกตกับการกลับมาเพื่อบดขยี้ของอัศวานนท์
14 ปีใน "มรกต" ของ "อัศวานนท์" ต้องสิ้นสุดลงพร้อมกับการก้าวเข้ามาของ "อัดนัน คาช็อกกี" แต่บทสรุปของตลาดน้ำมันพืชยังไม่จบ "ศุภลักษณ์ อัศวานนท์" กลับมาอีกครั้งอย่างรวดเร็วในโฉมหน้าใหม่ อาวุธตัวใหม่ พร้อมกับความเชื่อมั่นที่จะบดขยี้สิ่งที่เคยสร้างมากับมือ!
(นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2538)
Exchange square ปัญหา 30 ปีที่ยิ่งแก้ยิ่งยุ่ง!
ในช่วง 30 ปี ที่ผ่านมา ความฝันของตระกูล " กาญจนพาสน์ " ประการหนึ่งคือ
พัฒนาที่ดินของทรัพย์สินฯ 53 ไร่ บริเวณชุมชนเทพประทาน จนเมื่อศิริ กาญจนพาสน์
ได้สิทธิ์โครงการ " Exchange squaree ความฝันนี้ก็จุดประกายขึ้นมาอีก
(นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2538)
"พ่อมดการเงิน คนพันธุ์ใหม่ในการตลาดทุนไทย"
ตัวละครหน้าใหม่ในตลาดทุนไทย เพิ่งจะเกิดขึ้น เมื่อ 1-2 ปีมานี้เอง หลังจากปรากฏการณ์
การซื้อ-ครอบงำ- และควบกิจการขึ้นอย่างกว้างขวาง คนเหล่านี้ ส่วนใหญ่คลุกคลีอยู่ในวงการเงินอยู่แล้ว
มีสายสัมพันธ์ที่กว้างขวาง มีความรู้ความสามารถที่ดีเลิศ
(นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2537)
"ไอเอฟซีซี : 5 ปี 4 คน"
บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์เงินทุนสากลหรือไอเอฟซีซี นับว่าเป็นสถาบันการเงินที่ใช้ผู้บริหารเปลืองที่สุด
ในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา ไอเอฟซีซี เปลี่ยนตัวกรรมการผู้จัดการไปแล้วถึง 4 คน
(นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2536)