GF ยุคที่ 3 หยั่งรากลงลึก หรือดึงคนเเสริมทัพ
ปีนี้ใคร ๆ ก็รู้ว่าเป็นปีครบรอบ 30 ปีของ จีเอฟ หรือบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ จี เอฟ จำกัด (มหาชน) โบรกเกอร์หมายเลข 20 ของตลาดหลักทรัพย์ ด้วยเหตุที่ว่า จีเอฟได้เตรียมการและโฆษณามาตั้งแต่ปีที่แล้ว เฉพาะในปีนี้ ทางผู้บริหารได้เพิ่มงบประชาสัมพันธ์ให้มากเป็นพิเศษถึง 10 ล้านบาท จากปีก่อน ๆ ที่อยู่ในวงเงินประมาณ 5 ล้านบาทเท่านั้น
(นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2539)
สว่าง มั่นคงเจริญ ไทยรุ่งเรืองทรัสต์ปีหน้าค่อยว่ากันใหม่
"แผนการที่จะเข้าเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในปีนี้ตามที่วางไว้
คงจะต้องเลื่อนไปก่อน มีสาเหตุหลักสองประการ คือ ภาวะตลาดหุ้นและเศรษฐกิจโดยรวมไม่สดใสนัก
อีกประการหนึ่ง คือ ผู้ถือหุ้นไม่อนุมัติ ปีนี้แผนงานหลายอย่างไม่เป็นไปตามที่คาดหมายไว้บางแผนต้องเลื่อนไป
ปีหน้าค่อยว่ากันใหม่"
(นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2539)
อดีตที่อัศวินต้องจำไปจนตาย
อาคาร 34 ชั้นบน ถ.เพชรบุรีตัดใหม่ที่ลงฐานรากไว้เสร็จสรรพเรียบร้อย บนเนื้อที่ 3 ไร่เศษ พื้นที่ใช้สอย 70,000 ตร.ม. ข้างอาคารบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หรือ IFCT ในปัจจุบัน คงต้องปรับแผนการบริหารพื้นที่ในบางส่วนเสียแล้ว
(นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2539)
ดร.ชัยพัฒน์ สหัสกุล องครักษ์พิทักษ์จีเอฟคนที่ 4
"องครักษ์พิทักษ์เสรี" เป็นฉายาที่ ดร.ชัยพัฒน์ สหัสกุล อดีตผู้ช่วยผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ได้รับตลอดเวลาที่ทำงานรับใช้ใกล้ชิดกับเสรี จินตนเสรีจนเป็นที่ทราบกันดี ดังนั้นเมื่อ 'นาย' ต้องลาออกตามวาระครบ 4 ปี ดร.ชัยพัฒน์ จึงตัดสินใจลาออกพร้อมนายหลังจากที่ตั้งท่าคิดจะออกตั้งแต่ปีนี้ และเบนเข็มหางานใหม่ทำ
(นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2539)
หุ้น C เรื่องน่าช้ำใจ ของนักลงทุนหรือเจ้าของบริษัท ?
นับตั้งแต่ตลาดหลักทรัพย์แห่ประเทศไทย ได้เริ่มนำเกณฑ์การเพิกถอนหลักทรัพย์จดทะเบียนใหม่มาใช้ในทางปฏิบัติเมื่อวันที่
4 มี.ค. 2539 จนถึงปัจจุบันปรากฎว่า มีหุ้นสามัญของบริษัทจดทะเบียนจำนวน 15 บริษัท ได้เข้าข่ายอาจถูกเพิกถอนจากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนแล้ว
(นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2539)
"วรวรรณ ธาราภูมิ กองทุนตราสารหนี้ยังไปได้อีกไกล"
"การที่บริษัทเสนอขายกองทุนตราสารหนี้เพิ่มขึ้น เนื่องจากแนวโน้มการเติบโตของตลาดตราสารหนี้ไทยมีสูงมาก โดยคาดว่าในปีอีก 5-6 ปีข้างหน้า สัดส่วนการลงทุนในหุ้นทุนและตราสารหนี้จะอยู่ที่ 50% แม้ว่าการลงทุนในหุ้นทุนจะยังได้รับผลทุนผลกระทบจากความผันผวนของดัชนี แต่หุ้นทุนยังคงให้ผลตอบแทนที่สูง ส่วนการลงทุนในตราสารหนี้ให้ผลตอบแทนคงที่ แต่ก็ยังสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ 3 แห่งประมาณ 1%"
(นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2539)
"อเล็กซ์ เอร์สกิน ทำเงินบาทให้แข็งแบบเทคนิคเชียน"
เมื่อเร็ว ๆ นี้ ซิตี้แบงก์ ได้จัดให้มีสัมมนาเรื่อง "ทางเลือกระบบอัตราแลกเปลี่ยนของไทย" โดยเชิญ อเล็กซ์ เอร์สกิน เจ้าหน้าที่ของซิตี้แบงก์ซึ่งประจำอยู่ที่ประเทศสิงคโปร์มาเป็นผู้บรรยาย "เราจะใช้วิธีเลือกดูว่า ในการจัดสัมมนาแต่ละครั้ง ตลาดการเงินช่วงนั้น ๆ มีเรื่องอะไรที่น่าสนใจ ก็จะเลือกเรื่องสัมมนาแล้วหาผู้เชี่ยวชาญทางด้านนั้นมาเป็นผู้บรรยาย
(นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2539)
กิตติรัตน์ ณ ระนอง ในสถานการณ์ที่ไม่ได้สร้างวีรบุรุษ
"ผมไม่ทราบเหมือนกันว่าจะอยู่ในตำแหน่งใดในเอกธำรง คงต้องให้ทางเอกธำรงกำหนดต่อไป"
นี่คือคำตอบของกิตติรัตน์ ณ ระนอง กรรมการผู้อำนวยการบริษัทหลักทรัพย์ (บล.)
เอกเอเซีย จำกัด (มหาชน)
(นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2539)
"อัครพงษ์ ไทยานนท์ ถึงเวลาของเขาแล้วแม่ทัพใหม่ "เพรีกรีนนิธิ"
เดือนเมษายนนี้บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์เพรีกรีนนิธิจะบุกธุรกิจเงินทุนอย่างเป็นทางการภายใต้การบริหารงานของแม่ทัพหนุ่มมืออาชีพ คืออัครพงษ์ ไทยานนท์ ขณะที่ศรีพร สุทธิพงษ์ เป็นกรรมการผู้จัดการสาวหน้าหวานเสียงใสยังคงดูแลธุรกิจหลักทรัพย์
(นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2539)
"มุมการเงินในสหชาติแห่งยุโรป"
การก่อตั้งภาคีความร่วมมือและช่วยเหลือซึ่งกันและกันของบรรดาประเทศต่าง ๆ เป็นวิถีปฏิบัติซึ่งเริ่มมีมาตั้งแต่ครั้งที่มีการสร้างชาติกำหนดพรมแดน หากว่าจะไม่นับย้อนหลังไปถึงสมัยที่เกิดมีชุมชนขึ้นมา กลุ่มประเทศภาคีฯ ดังกล่าวนี้ มีจุดมุ่งหมายต่าง ๆ กัน แล้วแต่ว่าจะเน้นความสำคัญในด้านลัทธิ การทหาร การเมือง หรือว่าเศรษฐกิจ บรรดาประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรปหรือยูโรเพียนยูเนียน ที่เรียกกันย่อ ๆ ว่า อียู
(นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2539)