อนาคตไฟแนนซ์ไทย
ภาวะวิกฤติสถาบันการเงินที่เกิดขึ้นในปี 2540 ทำให้เกิดการปิดกิจการบริษัทเงินทุนจำนวนมากกว่าครึ่งหนึ่งของที่มีอยู่ในเวลานั้น
ซึ่งในช่วงปี 2541 ที่ผ่านมา เราก็ได้เห็นภาพการพยายามที่จะขายทรัพย์สินของบริษัทเงินทุนเหล่านี้
เพื่อนำไปชำระคืนแก่เจ้าหนี้ในปี 2542 นี้
(นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2542)
สายป่านยาวอยู่รอด !?
ความตกต่ำของตลาดอสังหาริมทรัพย์เป็นตัวจุดประกายเริ่มแรกของวิกฤติความซบเซาทางเศรษฐกิจในรอบนี้
ซึ่งความรุนแรงไม่เพียงแต่แสดงออกทางภาวะตลาดหลักทรัพย์ที่ตกต่ำลงอย่างรุนแรงและต่อเนื่องเท่านั้น
แต่ยังพาให้บริษัทไฟแนนซ์ และสถาบันการเงินต่างๆ ประสบปัญหาไปด้วย และในตอนนี้ปัญหาก็ลุกลามมากขึ้น
จนอาจกล่าวได้ว่ากระทบมาถึงบริษัทต่างๆ จำนวนมากและพนักงานในบริษัทเหล่านั้น
กลายเป็นปัญหาระดับชาติที่จู่โจมเสถียรภาพของรัฐบาลและความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจไทยอย่างหนัก
(นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2540)
"รับทุกจ่าย ขายทุกตั๋ว" ที่ "เคาน์เตอร์เซอร์วิส"
"รับทุกจ่าย ขายทุกตั๋ว" สโลแกนที่ปรากฏอยู่บนป้ายสัญลักษณ์
"เคาน์เตอร์เซอร์วิส" คงได้ผ่านสายตาท่านผู้บริโภคทั้งหลายที่แวะเวียนไปใช้บริการของ
7-ELEVEN ไปบ้างแล้ว รวมทั้งบรรดาผู้ที่นิยมชมคอนเสิร์ตก็คงจะคุ้นหูไม่น้อยกับการจองตั๋วได้ที่
"เคาน์เตอร์เซอร์วิส" ของห้างโรบินสันหรือเดอะมอลล์สาขาต่างๆ หลายท่านอาจเกิดความสงสัยว่า
"เคาน์เตอร์เซอร์วิส" คืออะไรกันแน่
(นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2540)
"ม.ร.ว. สุชาติจันทร์ยันเสียงแข็งจีเอฟไม่คิดควบกิจการในเครือ"
ภายหลัง บมจ. เงินทุนเอกธนกิจ ไฟแนนซ์ขนาดใหญ่อันดับ 1 ของเมืองไทยต้องซวนเซเนื่องจากปัญหาสภาพคล่อง
จนถึงขั้นต้องให้ บมจ. ธนาคารไทยทนุเข้าควบกิจการ กระแสข่าวลือเกี่ยวกับไฟแนนซ์มากมายเริ่มทยอยกันออกมาป่วนตลาด
ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ 10 สถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยบังคับให้เพิ่มทุนอย่างเร่งด่วน
เรื่อง บงล. ศรีมิตรเตรียมควบกิจการเช่นกัน บงล. ซิทก้าและพันธมิตรทั้ง 7
เตรียมรวมตัวกันเป็นหนึ่งเดียวเพื่อสนองนโยบายธนาคารแห่งประเทศไทย
(นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2540)
ถึงคิวแฟคตอริ่ง เปิดกลยุทธ์รับมือข้าศึกใหม่
แฟคตอริ่งเป็นธุรกิจที่มีมาช้านานพร้อมๆ กับระบบการค้าแบบเงินเชื่อแต่มักทำในรูปธุรกิจส่วนตัวเล็กๆ
ในย่านสำเพ็ง โบ๊เบ๊ พาหุรัด เป็นต้น ธุรกิจที่ทำกันมากคืออุตสาหกรรมสิ่งทอ
และพืชผลทางการเกษตร
(นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2540)
'ธนชาติ' กับแนวรบทั้งสองด้าน…เหตุการณ์ไม่เปลี่ยนแปลง
หุ้นบงล.ธนชาติมีราคาต่ำลง ๆ หลังมีข่าวลือหนี้เสียของ บมจ.สมประสงค์แลนด์ฝรั่งเทขาย
ตามติดด้วยรายย่อย นี่เป็นเพราะอิทธิพลข่าวลือหรือมีสิ่งใดแอบแผงมากกว่านั้น
ในขณะที่ผู้บริหารยืนยันแน่ชัด ธนชาติไม่มีหนี้เสีย เพราะยังรักษาแนวคิดอนุรักษนิยมตลอดมาเป็นแนวทางที่จะยึกถือต่อไป
(นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2539)
"เปลี่ยนวิธีรับรู้รายได้" เป็นสัญญาณอันตรายของ NFS
ตัวเลขผลประกอบการประจำไตรมาส 3 ของ บงล.ธนชาติหรือ NFS ดูสวยหรูเป็นอย่างยิ่ง
เพราะสามารถทำกำไรสุทธิได้สูงกว่างวดเดียวกันในปีที่แล้วถึง 13% หรือมีกำไรทั้งสิ้น
320 ล้านบาทขณะที่ปีที่แล้วทำได้เพียง 283 ล้านบาท
(นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2539)
จากทรัพย์ทวีสู่เอเซียไฟแนนซ์ในอุ้งมือของกลุ่มเอก
เมื่อเอ่ยชื่อบริษัทเงินทุนเอเซียไฟแนนซ์ (Asia Finance Corporation Ltd.)
หลายคนคงไม่คุ้นเท่าชื่อบริษัทเงินทุนทรัพย์ทวีทรัสต์ หนึ่งในกลุ่ม บง. ที่อยู่ภายใต้โครงการ
4 เมษายน 2527 ของกระทรวงการคลัง โดยมีกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเป็นผู้ดูแล
และแก้ไขหลังจากที่บริษัทประสบภาวะวิกฤตทางการเงินอย่างรุนแรง ซึ่งก็เรียกกันติดปากมาจนถึงทุกวันนี้ว่า
ทรัสต์ 4 เมษาฯ
(นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2539)
BDC แหล่งระดมทุนใหม่ที่ยังมีอนาคต
ชมรมผู้ค้าตราสารหนี้ หรือ BDC (Bond Dealers' Club) ถือกำเนิดขึ้นเมื่อวันที่
1 พฤศจิกายน 2537 แม้ชื่อจะเป็นเพียงชมรมแต่โดยสถานะแล้วเทียบเท่าตลาดรองตราสารหนี้ที่มีอยู่ในต่างประเทศทีเดียว
(Secondary Market) จวบจนถึงทุกวันนี้ BDC กำลังย่างเข้าสู่ขวบปีที่ 3 หากมองย้อนหลังลงไปจะยบว่าตลาดแห่งนี้มีพัฒนาการที่ก้าวหน้าและเติบโตอย่างเห็นได้ชัด
(นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2539)