“โฮมเฟรชมาร์ท” หาผู้ร่วมทุน
ในขณะที่สงครามค้าปลีกกลุ่มไฮเปอร์ มาร์เก็ต “เทสโก้ โลตัส” และ “บิ๊กซี” กำลังขับเคี่ยวกันอย่างหนัก ทั้งสองค่ายเร่งขยายสาขาเจาะทุกพื้นที่ชุมชน โดยเฉพาะบิ๊กซีที่ไล่บี้เทสโก้ โลตัสชนทุกสาขา แต่ “เดอะมอลล์กรุ๊ป” กลับวาง ตำแหน่งธุรกิจฟู้ดรีเทล ทั้งโฮมเฟรชมาร์ท กูร์เมต์ มาร์เก็ตและฟู้ดฮอลล์ ในฐานะซูเปอร์มาร์เก็ตระดับพรีเมียม จับตลาดระดับบนและกลุ่มลูกค้ากำลังซื้อสูง เนื่องจากยังมีช่องว่างให้เก็บเกี่ยวยอดขายอีกมากมาย คุ้มทุน และเสี่ยงน้อยกว่าด้วย
(นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา พฤษภาคม 2555)
เปลี่ยนทั้งชื่อและโลโก
ก่อนหน้านี้ ธนกร วีรชาติยานุกูล เขาไม่ได้ชื่อนี้ แต่มีชื่อเดิมว่า “วรพล” และชื่อที่เปลี่ยนไปก็เพื่อให้สอดคล้องกับโลโกใหม่ของศูนย์การค้ายูดี ทาวน์ที่เปลี่ยนมาเป็นรูปทรงกลมสีส้มผูกโบ
(นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา มีนาคม 2555)
การแข่งขันเพิ่งเริ่มต้น
การบริหารจัดการของศูนย์การค้ายูดี ทาวน์ ห้างท้องถิ่นในจังหวัดอุดรธานีกำลังไปได้ดี แต่ปีนี้จะเป็นตัวชี้วัดว่าจะยั่งยืนหรือไม่ หลังจากยักษ์ใหญ่เซ็นทรัลจะเปิดตัวอย่างเป็นทางการในเดือนมีนาคม
(นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา มีนาคม 2555)
เอสเอฟ-อิเกีย ธุรกิจ “ยีน” เดียวกัน
“อิเกีย” IKEA มีแผนมานานเกือบสิบปีว่าจะเข้ามาบุกตลาดประเทศไทย โดยไม่มีข่าวการเจรจากับพันธมิตรรายใดเล็ดลอดออกมา แต่ท้ายที่สุดธุรกิจเฟอร์นิเจอร์ครบวงจรระดับโลกสัญชาติสวีเดนตัดสินใจตกร่องปล่องชิ้นกับบริษัท สยามฟิวเจอร์ ดีเวลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) สร้างโครงการเมกาบางนา มูลค่ากว่า 12,000 ล้านบาท และเปิด “อิเกียสโตร์” สาขาแรกในไทย
(นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา มีนาคม 2555)
“ผมไม่เคยคิดทำธุรกิจแบบครอบครัว...”
“สยามฟิวเจอร์ตั้งแต่วันแรกไม่ใช่ธุรกิจครอบครัวไม่เคยคิดด้วย ถ้าคนทำธุรกิจ ไม่มีใครอยากให้เป็นธุรกิจครอบครัว อยากให้เป็นของเราคนเดียว คุณเอาความจริงหรือโกหก ถ้าเอาเรื่องโกหกก็ต้องบอกว่ารักกัน อยากเป็นแฟมิลี่ อยากสร้างอาณาจักร แต่เรื่องจริงอยากเป็นของฉันคนเดียว ฉันสั่งได้ เงินเข้ากระเป๋าฉันคนเดียว ถ้าไม่มีเงิน ควรชวนคนอื่นมาร่วม ถ้าชวนได้อย่าชวนพี่น้อง เพราะถ้าทะเลาะกันตัดกันไม่ได้ พาร์ตเนอร์ยังตัดได้”
(นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา มีนาคม 2555)
เทรนด์เซตเตอร์ จาก “ไลฟ์สไตล์เซ็นเตอร์” สู่ “ไฮบริดมอลล์”
นพพร วิฑูรชาติ บางคนว่าเขาเป็นเจ้าพ่อศูนย์การค้า บางคนว่าเป็นพ่อมดร่ายเวทมนตร์ เพราะเปิดโครงการในทำเลไหน เหมือนมาได้จังหวะ ถูกที่ ถูกเวลา โดนกลุ่มเป้าหมายและปลุกกระแสไลฟ์สไตล์เซ็นเตอร์รูปแบบใหม่ๆ ไม่รู้จบ
(นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา มีนาคม 2555)
เจเนอเรชั่น 3 “ผมเชื่อเรื่องกรรมมากกว่า”
หากย้อนตำนานธุรกิจของตระกูล “ซอโสตถิกุล” เริ่มต้นจากวิชัย ซอโสตถิกุล ชาวจีนฮกเกี้ยนจากแผ่นดินใหญ่เข้ามาเป็นหลงจู๊ในโรงไม้ย่านวัดมหาพฤฒาราม แต่งงานมีลูกรวมทั้งหมด 9 คน สร้างเนื้อสร้างตัว จนกระทั่งหลังสงครามโลกครั้งที่สอง วิชัยได้เป็นตัวแทนจำหน่ายรองเท้า “นันยาง” จากสิงคโปร์ในเมืองไทย ต่อมาร่วมทุนกับกลุ่มนักธุรกิจชาวสิงคโปร์ตั้งบริษัท วัฒนสิน จำกัด ผลิตรองเท้านันยาง
(นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา กันยายน 2554)
ทรีเบสิก บิ๊กแมกเน็ต
แม้กระแสของศูนย์การค้าขนาดเล็กหรือ “คอมมูนิตี้มอลล์” จะได้รับความนิยมในภาวะที่การก่อสร้างอาคารขนาดใหญ่ยังติดข้อจำกัดตามกฎหมายผังเมืองและการแก้โจทย์เรื่องการเดินทาง ปัญหาน้ำมันแพง แต่ในความคิดหรือนโยบายของผู้บริหารซีคอนไม่เคยคิดจะลงทุนคอมมูนิตี้มอลล์
(นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา กันยายน 2554)
The Newcomer จากศรีนครินทร์ถึงบางแค
แม้วันเปิดศูนย์การค้าซีคอน บางแค ยังอีกไกลคือเดือนเมษายน 2555 แต่การโชว์โมเดลโครงการมูลค่ากว่า 3,000 ล้านบาท รูปแบบและจุดขายอย่างครบเครื่อง ก็สร้างความตื่นเต้นให้ธุรกิจศูนย์การค้า โดยเฉพาะคู่แข่งอย่าง “เดอะมอลล์กรุ๊ป” ที่เปิดสาขาบางแคผูกขาดย่านนี้มานานกว่า 17 ปี
(นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา กันยายน 2554)
“อัมพุช” รุ่น 3
ย้อนกลับไปเกือบ 30 ปี เมื่อศุภชัย อัมพุช ตัดสินใจเปิดธุรกิจห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์และดึงลูกๆ 4 คนจากทั้งหมด 5 คน เข้ามาร่วมลุยงานยุคบุกเบิก ไล่มาตั้งแต่สุรัตน์ อัมพุช ศุภลักษณ์ อัมพุช กฤษณา อัมพุช และสุทธิพงษ์ อัมพุช จนถึงปัจจุบันเหลือเพียงสุรัตน์และศุภลักษณ์ที่เข้ามาคุมงานบริหารระดับนโยบายของเดอะมอลล์
(นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา กันยายน 2554)