เปิดกลยุทธ์ค้าปลีกซีพี กุมช่องทางการค้าเป็นเจ้าตลาด
ข่าวคราวการเคลื่อนไหวของบริษัทในวงการค้าปลีกช่วงนี้ ค่อนข้างจะคึกคักกันพอสมควร
นับตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2540 ใครจะรวมกับใคร ใครจะขายกิจการให้ใคร ถึงตอนนี้ก็ค่อนข้างจะมีบทสรุปที่เห็นได้ชัดขึ้นทุกที
โดยเฉพาะกลุ่มซีพี ซึ่งมีบทบาทกับธุรกิจนี้ไม่น้อยไปกว่าธุรกิจอื่นๆ ในเครือฯ
ภาพความเป็นเจ้าตลาด การผูกขาดช่องทางการจัดจำหน่าย กำลังจะทำให้บทบาทของซีพีในวงการค้าปลีกยิ่งเด่นชัดขึ้นกว่าที่เป็นอยู่
(นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2541)
"กุญแจแห่งความอยู่รอดของธุรกิจขนาดย่อม"
ท่ามกลางภาวการณ์ที่วิกฤติในปัจจุบัน บรรดาผู้ประกอบการทั้งหลายพยายามคิดหาหนทางที่จะนำพาธุรกิจของตนให้อยู่รอด
ผู้ที่จะเหนื่อยมากก็ดูเหมือนจะเป็นผู้ที่ประกอบธุรกิจขนาดใหญ่ ๆ ในขณะที่ธุรกิจขนาดเล็กหรือธุรกิจขนาดย่อมกลับมีแนวโน้มที่จะเติบโตมากขึ้น
(นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2540)
"คาร์ฟูร์" บุกเต็มกำลัง ชิงส่วนแบ่งตลาดไฮเปอร์มาร์เก็ต"
ไฮเปอร์มาร์เก็ต หรือห้างสรรพสินค้าที่มีการรวมส่วนของความเป็นซูเปอร์มาร์เก็ตสินค้าประเภทฮาร์ดกู๊ด
และพวกเสื้อผ้าเข้าด้วยกัน ไฮเปอร์มาร์เก็ต เป็นธุรกิจที่มีผู้เชี่ยวชาญกำหนดไว้ว่า มักจะเปิดดำเนินการอยู่ตามเมืองซึ่งกำลังขยายตัว และจำนวนของผู้มีรถยนต์ส่วนตัวเพิ่มขึ้น โดยเน้นระบบการบริโภคแบบมหาชน ระบบบริโภคแบบมหาชนเริ่มเข้าสู่ตลาดเมืองไทย โดยเฉพาะในเขตกรุงเทพฯ และหัวเมืองใหญ่
(นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2540)
"วัลยา จิราธิวัฒน์ มือบริหารซูเปอร์มาร์เก็ตของตระกูล ' จิราธิวัฒน์"
เอ่ยชื่อสกุล "จิราธิวัฒน์" ต่างเป็นที่รู้จักกันดีว่า ตระกูลนี้มีความสามารถเพียงใดในธุรกิจค้าปลีก
จึงไม่ใช่เรื่องแปลกถ้าเมืองไทยจะมีมือบริหารธุรกิจค้าปลีกชั้นแนวหน้าหลายคน
มาจากตระกูลจิราธิวัฒน์
โดยเฉพาะการประกาศตัวจากกลุ่มนี้ที่จะยึดความเป็นหนึ่งในธุรกิจค้าปลีกของเมืองไทย
ด้วยการร่วมมือกับรอยัล เอโฮลด์ จากเนเธอร์แลนด ์ เพื่อใช้ท็อปส์ ซูเปอร์มาร์เก็ตเป็นผู้บุกตลาดทางด้านนี้
(นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2540)
กำลังเกิดอะไรขึ้นกับอุตสาหกรรมค้าปลีก
ต้นเดือนเมษายน ธุรกิจค้าปลีกที่กรุงเทพฯ ตื่นขึ้นมารับข่าวการควบกิจการ
cash-carry wholesale store ของสองยักษ์ใหญ่เซ็นทรัลกับโรบินสันด้วยเงินทุนกว่า
500 ล้านบาท โดยผ่านการสวอปหุ้นบริษัทในเครือของทั้งสอง สิ่งที่เกิดขึ้นนี้
นับเป็นครั้งแรกของอุตสาหกรรมค้าปลีกของเมืองไทย ที่กำลังถูกดูดซับเข้าไปอยู่ในวงจรของข้อตกลงของแกตต์
(นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2538)
โลตัส...ในความเป็นดิสเคาน์สโตร์
ในอดีตซีพีหรือบริษัทเจริญโภคภัณฑ์เป็นบริษัทที่รู้จักกันดี เป็นยักษ์ใหญ่ในภาคอุตสาหกรรมการเกษตร
ซีพีสร้างอาณาจักรของตนเองให้ยิ่งใหญ่มาด้วยพื้นฐานทางสินค้าเกษตรจนเป็นยักษ์ใหญ่ระดับโลก
(นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2538)
"ค้าปลีก ยุคโชว์ห่วยติดแอร์"
ทันทีที่การค้าปลีกขนาดใหญ่ที่ใช้มืออาชีพเข้ามาบริหารงานอย่างมีระบบ และมีแนวทางการตลาดอย่างดี
ประสบความสำเร็จเมื่อทศวรรษที่ผ่านมา การค้าปลีกแบบซื้อมาขายไปขนาดเล็กห้องแถว
1 คูหาโดยผ่านกระบวนการตัดสินใจจากอาแป๊ะอาม่าเป็นใหญ่วิ่งหยิบสินค้าส่งให้ผู้ซื้อตามสั่งก็ค่อย
ๆ เริ่มจางหาย กลายเป็นการค้าแบบผู้ซื้อช่วยตนเอง (SELF SERVICE)
(นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2536)
"ศึกค้าปลีกบนถนนออร์ชาร์ด"
เมื่อเอ่ยถึงถนนออร์ชาร์ด นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ย่อมต้องรู้จักกันดีว่า คือแหล่งช้อปปิ้งที่มีชื่อเสียงรู้จักกันดีมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก กิจการบนถนนสายนี้ทำรายได้อย่างมหาศาลให้กับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของสิงคโปร์ แต่วันนี้เมื่อธุรกิจค้าปลีกต่างถิ่นจากญี่ปุ่น มาเลเซียและอินโดนีเซียกลายมาเป็นคู่แข่งที่น่าเกรงขาม ถนนออร์ชาร์ดก็กำลังถูกสั่นคลอนอย่างหนัก
(นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2536)
โชบุน ซึกิกาว่า โตเกียวคอนเนคชั่นในเชียงใหม่
เมื่อปีที่แล้วโชบุนเป็นนักธุรกิจพ่อม่ายชาวญี่ปุ่นผู้เดินทางมาแสวงหาโชคที่เชียงใหม่
ที่ซึ่งขณะนี้อำนวยโชคให้เขาได้ร่ำรวยและมีความสุขมากกว่าการเป็นเจ้าของสตูดิโอเล็กๆในโตเกียว
ทั้งๆที่พื้นฐานครอบครัวของโชบุนนั้นเป็นคหบดีที่ร่ำรวยที่สุดคนหนึ่งในสิบคนของเศรษฐีแห่งเกาะชิวกิว
(นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2533)