รีดันแดนซ์ กรณีศึกษาของ Incubator
ปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นระหว่างบริษัทเอดีเวนเจอร์ และบริษัทรีดันแดนซ์
นับว่าเป็นกรณีศึกษา ธุรกิจดอทคอมของไทย ที่กำลังมาถึงช่วงขาลง
(นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2544)
"ซอฟท์แบงก์" - บนเวทีแห่งการตั้งรับของผู้นำโลกอินเทอร์เน็ต
ซอฟท์แบงก์ ธุรกิจอินเตอร์เน็ตยักษ์ใหญ่ของญี่ปุ่นที่เคยเป็นผู้นำในโลกยุคใหม่ และได้รับการกล่าวขวัญไปทั่วโลก ภายใต้การบุกเบิกของมาซาโยชิ ซัน นักธุรกิจชั้นหัวกะทิ หนึ่งในอภิมหาเศรษฐีโลก ทว่า ณ วันนี้ ซันกลับไม่ใช่วีรบุรุษผู้พิชิตอีกต่อไป อีกทั้งดินแดนที่เคยเฟื่องฟู กลับส่อเค้าความแตกแยก ถดถอย จนยากจะมองเห็นข้อสรุปที่เด่นชัด
(นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2543)
แกรี่ เรเชล - บุคคลแถวหน้าของซอฟท์แบงก์
ไม่แปลกที่แกรี่ เรเชล มักมีงานล้นมืออยู่เสมอ เพราะเขาต้องดูแลธุรกิจเวนเจอร์-แคปิตัลในสหรัฐฯ ให้กับมาซาโยชิ ซัน ซึ่งเป็นธุรกิจที่อาจเรียกได้ว่าสำคัญที่สุดในบรรดาธุรกิจต่าง ๆ ทั่วโลกของซอฟท์แบงก์เลยทีเดียว
(นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2543)
coolrhino.com เมื่อแรดตัวนี้หมายถึงเงิน
จากประสบการณ์ที่ผ่านมา ทำให้ อ่อง ทุน ผู้ก่อตั้งบริษัท ไทย สแตรทิจิก แคปปิตอล พบว่า มีผู้ประกอบการธุรกิจไอทีจำนวนมากที่มีไอเดียดีๆ แต่หาแหล่งเงินทุนไม่ได้ ทั้งๆ ที่มีแหล่งเงินทุนจาก venture capital จำนวนมาก สาเหตุสำคัญมาจากการขาดประสบการณ์ ในการนำเสนอแผนธุรกิจที่เหมาะสม และลึกในระดับที่ผู้ลงทุนจะวิเคราะห์ได้ จึงจะได้รับความสนใจจาก venture capital (VC) พวกเขาจึงใช้ประสบการณ์ และความรู้ในธุรกิจการเงิน สร้างเป็นโมเดลธุรกิจใหม่ วางบทบาท ของตัวเองเป็นสื่อกลางระหว่างผู้ประกอบการและแหล่งเงินทุน
(นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2543)
ใครมีไอเดียร้อนๆ มาขาย
เวนเจอร์แคปปิตอล บริษัทดอทคอม เจ้าของไอเดีย และ head hunter ที่ปรึกษาทางการเงิน ทั้งหมดนี้คือ ชีพจรที่กำลังเต้นในตลาดอินเตอร์เน็ตเมืองไทย
(นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2543)
สูตรลงทุนแบบใหม่ของ เอชแอนด์คิว
เอชแอนด์คิว เป็นเวนเจอร์แคปปิตอลข้ามชาติ ที่คร่ำหวอดอยู่ในเมืองไทยมานาน แต่สำหรับธุรกิจอินเตอร์เน็ตแล้ว ปัญหาอยู่ที่ขนาดธุรกิจในไทย เล็กเกินไปสำหรับเม็ดเงิน พวกเขาแก้ปัญหานี้อย่างไร
(นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2543)
ทำไมต้องมี Venture capital
ธุรกิจของ venture capital เป็นกลไกสำคัญที่ขาดไม่ได้ในโลกของธุรกิจอินเตอร์เน็ต เพราะถึงแม้มีไอเดีย แต่ขาดเงินทุนก็ย่อมเป็นไปไม่ได้ และส่วนใหญ่ในโลกของบริษัทดอทคอมมักจะเป็นเพียงนักศึกษา หรือโปรแกรมเมอร์ หรือกลุ่มคนไม่กี่คนทำธุรกิจไอเดีย มีสมองดี แต่ขาดเงินทุนที่จะมาทำให้ความฝันเป็นจริงขึ้นมาได้
(นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2543)
อินเตอร์เน็ต จิ๊กซอว์ที่ยังต่อไม่ครบ
จุไรรัตน์ อุณหกะ รองกรรมการผู้อำนวยการ สายการบริหารการลงทุน บริษัทชินคอร์ปอเรชั่น
จำกัด ด้วยประสบการณ์ด้านการเงินและการลงทุนของเธอ ลงตัวพอดีกับการเป็นเวนเจอร์
แคปปิตอลในการเป็นทัพหน้าบุกเบิกลงทุนหาสมองใหม่ ๆ มาใช้ในการสร้าง content บน
อินเตอร์เน็ต
(นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2542)