"ปูนใหญ่ควักพันล้านแลกอนาคตกระดาษ"
กลางปีนี้ ข่าวใหญ่เรื่องสิ่งแวดล้อม คือเรื่องเกี่ยวกับการปล่อยน้ำเสียของโรงงานกระดาษฟินิกซ์พัลพ์แอนด์เพเพอร์ที่ขอนแก่น
จนกระทั่งน้ำในแม่น้ำพองบริเวณโรงงาน ไม่สามารถที่จะนำมาใช้ประโยชน์ได้และส่งผลกระทบถึงสิ่งแวดล้อมในอาณาบริเวณด้วย
(นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2535)
"สุ่นหั่วเซ้ง" เทวดาตกสวรรค์
ในอดีต กิตติ ดำเนินชาญวนิชย์ กัปตันใหญ่ของนาวาที่ชื่อว่า "สุ่นหั่วเซ้ง"
หรือ "เกษตรรุ่งเรือง" นั้นได้สวมวิญญาณของนักบุกเบิก ทุ่มเททุกลมหายใจของชีวิต
เพื่อถีบตัวขึ้นมาเป็นหนึ่งในยุทธจักรของการค้าคอมมอดิตี้ จนผงาดเป็นยักษ์ส่งออกพืชไร่
ตั้งแต่ข้าว ข้าวโพด และมันสำปะหลัง
(นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2533)
"ที่ดินแปลงนี้…ได้แต่ใดมา"
วันจันทร์ที่ 22 มกราคมที่ผ่านมานี้ คงจะเป็นวันที่กิตติ ดำเนินชาญวนิชย์
ถ้าแก่พืชไร่ผู้ประสบความสำเร็จมากที่สุดในยุคนี้ และกำลังแผ้วถางทางไปสู่ยักษ์อินเตอร์บนฐายใหม่ในโครงการเยื่อกระดาษครบวงจร
จะต้องจดจำไปอีกนานแสนนาน
(นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2533)
เฮี่ยงเซ้ง เก่งหรือเฮง ?
ห้าสิบปีก่อนกิมเลี้ยง แซ่แต้ตั้งโรงตอกลังไม้ใส่สบู่ส่งให้กับรีเวอร์บราเธอร์ในสมัยที่ยังใช้ไทยอินดัตรี้
เขาไม่ได้คิดวางแผนการอะไรใหญ่โตไปมากกว่าการเป็นเถ้าแก่มากกว่าลูกจ้าง จากลังไม้เปลี่ยนเป็นกล่องกระดาษ
จากที่เคยเป็นผู้ซื้อกระดาษมาทำกล่องมาเป็นผู้ผลิตกระดาษเอง จากธุรกิจเล็กๆในรุ่นพ่อเติบใหญ่เป็นธุรกิจพันล้านในรุ่นลูก
(นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2532)
เถ้าแก่เลี้ยงผู้เริ่มบทแรกของเฮี่ยงเซ้ง
นับย้อนหลังราวห้าสิบปีที่แล้ว กิมเลี้ยง แซ่แต้ ก็คงไม่นึกว่าโรงตอกไม้เล็กๆที่เขาได้ตั้งขึ้นมาจะขยายตัวกลายมาเป็นโรงกล่องกระดาษที่ใหญ่ที่สุดในเมืองไทย
(นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2532)
ปัญจพลไฟเบอร์ มาเรียบ และมาแรง
แม้จะเป็นผู้ผลิตกล่องกระดาษลูกฟูกรายใหญ่สุดของเมืองไทยที่มีอายุยาวนานกว่า
50 ปี แต่ปัญจพลไฟเบอร์ หรือเรียกกันในวงการด้วยชื่อเก่าว่า "เฮี่ยงเซ้ง"
กลับไม่ค่อยมีข่าวคราวออกมาสู่สาธารณชนมากเท่าไรนัก ห้าเสี่ยแห่งตระกูล เตชะวิบูลย์
พอใจที่จะเก็บเนื้อเก็บตัวทำงานกันเงียบ ๆ ไม่ต้องให้ใครมารับรู้เรื่องราวของตัวเอง
(นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2532)
ประสิทธิ์ ณรงค์เดช ลุยลูกเดียว
24 ปีก่อน ประสิทธิ์ ณรงค์เดช หันเหวิถีชีวิตจากเป็นลูกจ้างมาเป็นเถ้าแก่ ด้วยการให้กำเนิดบริษัทอนามัยภัณฑ์ซึ่งเกิดจากร่วมมือระหว่างประสิทธิ์ในฐานะเป็นหัวเรือใหญ่กับเหล่าญาติ ๆ ด้วยทุนจดทะเบีย 2,200,000 บาท แต่มาเริ่มดำเนินการจริง ๆ ก็เมื่อปี 2509
(นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2531)
"กระดาษไทย-สก็อตต์ กระดาษเหนียวกว่าพี่น้อง"
และแล้วน้ำก็ต้องแยกสาย ไผ่ก็ต้องแยกกอเมื่อสองศรีพี่น้องแห่งตระกูลณรงค์เดชต้องแยกทางกันเดิน
เพราะวิธีการทำงานที่ไปด้วยกันไม่ได้ โดยมี บริษัท กระดาษไทยสก็อตต์เป็นจุดแยก
(นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2531)
ในที่สุดก็เหลือเพียงตำนาน
กิจการบริษัทสยามคราฟท์ดีขึ้นเป็นลำดับ ทว่าอาการดีขึ้นไม่มีทีท่าจะหักลบกลบหนี้ก้อนมโหฬารลงได้อย่างรวดเร็ว
มิหนำซ้ำหนี้สินที่มีอยู่ก็มิได้ลดลง อยู่ในระดับ 1,500 ล้านบาท (ตามงบการเงินนี้ไม่แสดงกำไรติดต่อกันถึง
5 ปีจากปี 2525-2529)
(นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2530)