ตลาดจอภาพร้อน แอลซีดียังไปได้สวย แต่คู่แข่งเร่งหาจอคุณถาพสำหรับโทรศัพท์ 3G
โทรศัพท์ 3G จะแจ้งเกิดได้หรือไม่นั้น ส่วนหนึ่งขึ้นอยู่กับจอภาพ ที่ต้องใหญ่ขึ้น และดีขึ้นกว่าโทรศัพท์มือถือ ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน เพราะมิฉะนั้น แล้วก็ไม่อาจรองรับวิดีโอ
และภาพเคลื่อนไหว ที่จะนำเข้าไปใช้ในเทคโนโลยีนี้ ซึ่งจะ "เปลี่ยนวิธีเล่น และวิธีทำงานของเราไปจากเดิม"
(นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2544)
โอกาสสุดท้ายของไมโครแมชีน
มีการตั้งสมมติฐานกันว่า ไมโครซิสเต็มมีผลกระทบกับอุปกรณ์เชิงกล อุปกรณ์ออพติก และอุปกรณ์ด้านเคมีภัณฑ์ คำถาม ที่เกิดขึ้นคือ ไมโครอิเล็ก ทรอนิกส์ส่งผลกระทบในแง่ใดต่อเซมิคอนดักเตอร์ขณะที่อนาคตของไมโครซิสเต็มนั้น งดงาม แต่เรื่องราวหรือการเปิดตัวโครงการใหม่ๆ กลับมีให้เห็นถึงขณะนี้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น ....แต่สิ่งนี้กำลังจะเปลี่ยนแปลง
(นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2544)
โลกยุคกระดาษอิเล็คทรอนิกส์
การปฏิวัติเทคโนโลยีข้อมูลข่าวสาร เมื่อราวสิบปีก่อนทำให้ผู้คน พากันพูดถึงโลกยุคใหม่
สำนักงานไร้ กระดาษ ที่ไม่มีหนังสือพิมพ์กองโต รกพื้น ไม่มีหนังสือ และนิตยสารอยู่ตามชั้นหนังสือรอบห้อง
แต่เอาเข้าจริง ทุกวันนี้เราก็ยังต้องใช้กระดาษกันอยู่ ด้วยเหตุผลที่ว่ากระดาษนั้น ราคาถูก
ใช้งานได้คล่อง น้ำหนักเบา พับเก็บง่าย เคลื่อนย้ายสะดวก อีกทั้งการอ่านหนังสือก็ทำได้จากหลายมุมสายตา
สามารถเก็บไว้ได้นาน และ ไม่ต้องใช้แบตเตอรี่
(นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2544)
พานาโซนิค อีก 3 ปี ไทยจะส่งออกถ่านอัลคาไลน์ 680 ล้านบาท
มัทสุชิตะ แบตเตอรี่(ประเทศไทย) บริษัทในเครือมัทสุชิตะ ผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้ารายใหญ่จากญี่ปุ่น ประกาศโครงการลงทุนตั้งโรงงานผลิตถ่านอัลคาไลน์ ยี่ห้อพานาโซนิค ในประเทศไทย ด้วยวงเงินลงทุน 350 ล้านบาท มีกำลังการผลิต 150 ล้านก้อนต่อปี โดยมีเป้าหมายเพื่อส่งออก 80%
(นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2543)
เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ โมเดลใหม่ ธุรกิจรับจ้างผลิต
DELTA ได้สร้างดมเดลธุรกิจใหม่ ในธุรกิจรับจ้างผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในเมืองไทย และเป็นหนึ่งในบริษัทที่มีจำนวนไม่มากนัก ที่ได้รับประโยชน์จากวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค
(นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2543)
จากแมกเนติกสู่เพาเวอร์ซัปพลายครบวงจร
บมจ.เดลต้า อเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) หรือ DELTA จัดตั้งขึ้นเมื่อปี 2531
ซึ่งเป็นช่วงเวลา ที่อุตสาหกรรมชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ในไทยกำลังเบ่งบานท่ามกลางความปีติของภาครัฐ
ภายใต้ความรู้สึกเข้าใจว่าอุตสาหกรรมนี้ เป็นการผลิต ที่ใช้เทคโนโลยีระดับสูง
ที่ภาครัฐควรส่งเสริมอย่างแข็งขันในทุกทาง
(นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2543)
ความหวังศูนย์กลางไฮเทคของไทย
การที่ "ฮานา ไมโครอิเล็กทรอนิกส์" (Hana Microelectronics) รอดพ้นจากภาวะวกฤติเศรษฐกิจและกำลังขยายกิจการไปต่างประเทศ ได้นำพาความหวังที่ไทยจะเป็นศูนย์กลางอิเล็กทรอนิกส์เอเชียกลับมาอีกครั้ง แต่ริชาร์ด ดี. ฮัน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของฮานา บอกว่า การบริหารบริษัทอิเล็กทรอนิกส์ไทยไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะคนมักตีขลุมว่า บริษัทอิเล็กทรอนิกส์ทุกแห่งก็เหมือน ๆ กัน
(นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2543)
ไอซี ประดิษฐกรรมเปลี่ยนแปลงโลก
แผงวงจรไฟฟ้า (Intergrated Circuit : IC) ถือเป็นชิ้นส่วนพื้นฐานที่สำคัญทางอิเล็กทรอนิกส์
ทำหน้าที่เป็นตัวนำไฟฟ้า เพื่อให้วงจรไฟฟ้าทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยในปัจจุบันได้มีการคิดค้นพัฒนาไอซีให้มีขนาดเล็กกะทัดรัดน้ำหนักเบามากขึ้น เพื่อประโยชน์ในการนำไปประกอบในผลิตภัณฑ์ทางไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ โดยไอซีแต่ละชนิดจะมีหน้าที่การทำงานต่างกัน และเป็นอิสระต่อกันตามลักษณะโครงสร้างในการออกแบบวงจรในไอซีนั้นๆ
(นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2538)
"บันไดสู่ไฮเทค"
ประเทศต่าง ๆ และบริษัทหลายแห่งในเอเชียกำลังพัฒนาตัวเองอย่างเต็มที่เพื่อเข้าสู่ธุรกิจด้านเทคโนโลยีชั้นสูง ตอง-เอ ฟามาซูติคอล ไม่ใช่บริษัทระดับโลก เมื่อพิจารณาจากผลประกอบการในปี 1992 ซึ่งเท่ากับ 247 ล้านดอลลาร์ ทำให้ตอง-เอกลายเป็นผู้ผลิตยาที่ใหญ่ที่สุดนอกกลุ่มแชโบล (กลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ในเกาหลีใต้) นอกจากนี้ความพยายามด้านชีวเทคโนโลยีของบริษัทแห่งนี้ก็แสดงผลให้เป็นที่ประจักษ์กันมาบ้างแล้ว
(นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2537)