Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
News Article

industry
company
people
internet
brand


View Results by Group
นิตยสารผู้จัดการ61  
Positioning15  
ผู้จัดการรายวัน58  
ผู้จัดการรายสัปดาห์16  
PR News234  
Total 368  

Listed Company
Manager Lists
 
Industry > Health > Hospital

Subcategories
Clinic


นิตยสารผู้จัดการ (41 - 50 of 61 items)
เมื่อหน่วยงานรัฐคิดแบบเอกชน ความที่โรงพยาบาลบ้านแพ้ว เป็นโรงพยาบาลแห่งแรกที่ได้ออกจากระบบราชการ แปรสภาพเป็นองค์การมหาชน ทำให้ในแต่ละเดือนหมอวิทิต อรรถเวชกุล ผู้อำนวยการโรงพยาบาล(นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2545)
ถึงคิว..ร.พ.เอกชน ต้องช่วยกันฝ่าวิกฤติ "ในอดีตเราเคยผ่านเหตุการณ์ช่วงปี'23 และปี 27-28 แต่มีผลกระทบต่อรายได้ร.พ.เอกชนน้อยมาก เพียงแค่โตน้อยลงแทนที่จะโต 15% ก็เป็นเพียง 5-6% แต่ปีนี้หนักมากเฉลี่ยแล้วคิดว่ารายได้ของร.พ.จะลดลงประมาณ 15-20% และนี่เป็นเพียงจุดเริ่มต้นเท่านั้น" น.พ.บุญ วนาสิน เจ้าของร.พ.ในเครือโรงพยาบาลธนบุรี กล่าว(นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2540)
"ไพบูลย์ โชติประสิทธิ์ รวมพลหมอสร้างโรงพยาบาลที่แท้จริง" การลงทุนในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์อย่างหนึ่งที่ถือว่ามีอัตราเสี่ยงน้อยที่สุด ก็คือการลงทุนในธุรกิจโรงพยาบาล เพราะโรงพยาบาลเป็นความจำเป็นพื้นฐานของคนทั่วไป ในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่จะเห็นนักลงทุนกลุ่มใหญ่ ๆ ของวงการธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เข้าไปร่วมหุ้นทำธุรกิจโรงพยาบาล หรือไม่ก็เทกโอเวอร์โรงพยาบาลที่มีชื่ออยู่แล้ว แล้วนำมาพัฒนาเป็นเชนโรงพยาบาลที่มีรูปแบบและมาตรฐานเดียวกัน(นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2540)
รพ.เอกชน เส้นทางที่มีราคา แก้วใจ หญิงสาววัย 29 ปี ประกอบธุรกิจเป็นของตนเอง เธอตัดสินใจทันทีที่รู้ว่าตั้งท้องบุตรคนแรกว่าต้องเข้ารับการดูแลและบริการจากร.พ.เอกชนชั้น 1 เท่านั้น เช่นเดียวกับรัตนา พนักงานบริษัทเอกชนแห่งหนึ่งวัย 35 ปี ที่ป่วยด้วยโรคไต ก็เข้ารับการบำบัดรักษาใน ร.พ.เอกชนชั้นดีที่กรุงเทพฯ ทันที โดยทั้งคู่หวังเพียงการบริการที่ดี และความสะดวกรวดเร็วเป็นสำคัญ แม้ว่าต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงกว่า 2 เท่าของร.พ.รัฐบาลก็ตาม(นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2540)
สิทธิการเข้ารับการรักษา ความหวังที่เห็นอยู่รำไร แม้ว่าบรรดาผู้ประกอบการที่มีเงินทุนหนาๆ ทั้งหลายจะเข้ามาลงทุนในธุรกิจโรงพยาบาลกันมาก เพราะเป็นธุรกิจที่ทำเงินได้เป็นกอบเป็นกำ เพราะความเจ็บป่วยไม่สามารถห้ามกันได้ ดังนั้นจึงเป็นเหตุให้มีหน้าใหม่ๆ เปิดร.พ.กันอย่างไม่หยุดหย่อน ซึ่งทางหน่วยงานราชการที่รับผิดชอบโดยตรงคือกองประกอบโรคศิลป์ สำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข ต้องเหนื่อยหนักขึ้นไปอีกในการเข้าตรวจตราและสอดส่องให้สถานพยาบาลนั้นมีความเหมาะสมต่อการดูแลผู้ป่วยมากที่สุด(นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2540)
โรงพยาบาล..หุ้นน่ามอง..ที่ถูกเมิน เมื่อ 4-5 ปีที่ผ่านมาถือเป็นช่วงที่ตลาดหุ้นไทยกำลังบูมสุดขีด เป็นยุคทองของนักลงทุนอย่างแท้จริง โดยหุ้นกลุ่มแบงก์ ไฟแนนซ์ สื่อสารหรืออสังหาริมทรัพย์ ถือเป็นขวัญใจของคนที่ชอบเล่นกับการขึ้นลงของราคา ในขณะที่หุ้นกลุ่มอื่นๆ โดยเฉพาะกลุ่มการแพทย์กลับมีนักลงทุนจำนวนไม่มากนักให้ความสนใจ ทั้งๆ ที่เป็นหุ้นที่มีศักยภาพในการทำกำไรดีมาโดยตลอด เพราะเป็นธุรกิจที่สามารถสร้างเม็ดเงินที่มีการเติบโตสูขึ้นอย่างต่อเนื่อง(นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2540)
SOS…SAVE TIME AND SAVE LIFE SOS บริการช่วยเหลือชีวิตฉุกเฉิน ในเมืองไทยคงมีคนจำนวนไม่มากนักที่รู้จักกับบริการที่ว่านี้ เหมือนในยุโรป อเมริกา International SOS Assistance เป็นบริษัทสวิสที่เข้ามาก่อตั้งเครือข่ายและให้บริการด้านนี้โดยเฉพาะ มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่เจนีวา และสำนักงานประจำภูมิภาคเอเชียที่สิงคโปร์ ล่าสุด SOS ได้จับมือกับโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์เปิด Alarm Center ซึ่งตั้งอยู่ภายในโรงพยาบาลบำรุงราษฏร์ ให้บริการด้านการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย คือนำผู้ป่วยจากจุดเกิดเหตุจนถึงโรงพยาบาล (นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2540)
"บำรุงราษฎร์ โรงพยาบาล 5 ดาวของชาวกรุงฯ" ท่ามกลางตึกระฟ้าที่เบียดตัวแข่งกันผุดขึ้นทุกอณูของกรุงเทพฯ ตามแรงผลักดันแห่งการพัฒนาประเทศ โรงพยาบาลเป็นธุรกิจหนึ่งที่แทรกตัวขึ้นมารับประโยชน์จากผลพวงของความเจริญอย่างเงียบเชียบ บำรุงราษฎร์ โรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งที่ก่อตั้งขึ้นมากว่าทศวรรษ ได้ปรับตัวขนาดใหญ่เพื่อตอบรับกับภาวการณ์แห่งโรคภัยไข้เจ็บทวีความซับซ้อนมากขึ้นทุกขณะ โดยเฉพาะมะเร็ง และโรคหัวใจที่คร่าชีวิตผู้คนไม่น้อยในแต่ละปี(นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2540)
"บุญ วนาสิน วาดฝันเชื่อมโยงบริการสุขภาพด้วยระบบไอที" บุญ วนาสิน - แพทย์ นักธุรกิจ นักเทกโอเวอร์ และล่าสุดกำลังวาดฝันนำเทคโนโลยีไอทีมาใช้ในการบริหารกิจการโรงพยาบาล และคลินิกต่าง ๆ ทั่วประเทศ เพื่อเชื่อมโยงการให้บริการรักษาสุขภาพ และการประกัน นอกจากนี้ เขายังพยายามฟื้นฟูกิจการวิทยาคมอย่างเร่งด่วน ในฐานะที่เป็น "คนไข้ไอซียู" แล้ว โดยแนะนำธุรกิจไอทีเข้ามาเป็นเลือดก้อนใหม่ในการช่วยชีวิตครั้งนี้ "หมอบุญ" เชื่อมั่นว่าคนที่จะอยู่รอดในโลกของธุรกิจต่อไปได้นั้นต้องพยายามสร้างพันธมิตรเข้าไว้(นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2540)
คุณหญิงแสงดาว สยามวาลา ไม่มีการแบ่งแยกที่"โรงพยาบาลอิสลาม" แม้ในปัจจุบันจะมีโรงพยาบาลทั้งของรัฐและเอกชนเกิดขึ้นมาเป็นจำนวนมาก ทั้งโรงพยาบาลรักษาโรคทั่วไปและรักษาโรคเฉพาะทาง แต่จริงๆ แล้วก็ยังขาดโรงพยาบาลที่สนองตอบต่อประชาชนผู้ใช้บริการกลุ่มใหญ่กลุ่มหนึ่ง นั่นคือโรงพยาบาลอิสลาม(นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2538)

Page: 1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7





upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 

home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us