โลกาภิวัตน์รุกธุรกิจโรงพยาบาล
ชาวอเมริกันกำลังรู้สึกว่า ไยจึงต้องทนกับโรงพยาบาลในประเทศที่ค่ารักษาแสนแพง แถมคุณภาพก็ "งั้นๆ" ในเมื่อสามารถไปรับการรักษาที่ดีกว่าในเอเชียและที่อื่นๆ
(นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2551)
วิสาหกิจที่กระชับ
ประสบการณ์ของคนเข้าโรงพยาบาลส่วนใหญ่ที่ใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 5-6 ชั่วโมง เพื่อรอตรวจรักษาเป็นสิ่งที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยง เป็นเพราะว่าระบบการจัดการที่ใช้เวลายาวนานของแต่ละแผนก
(นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2551)
รศ.นพ.สุเมธ พีรวุฒิ คนกรุงเทพฯ แต่หัวใจอยู่ใต้
หมอสุเมธตั้งใจไว้ว่า เขาจะไปเป็นหมอชนบทที่ภาคอีสาน และตั้งหลักปักฐานอยู่ที่นั่น แต่ชีวิตกับพลิกผันมาเป็นหมออยู่ภาคใต้ นพ.สุเมธ พีรวุฒิ วัย 58 ปี ปัจจุบันมีตำแหน่งเป็นคณบดีคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นนักบริหารที่มีรางวัลนักบริหารโรงพยาบาลยอดเยี่ยมระดับโรงพยาบาลตติยภูมิ
(นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2551)
รพ.สงขลานครินทร์ ต้นแบบหยุดภาวะ "สมองไหล"
"หมอ ก็เหมือนคนทั่วไปที่ต้องการความสุขความสบาย และความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน ทำให้หมอในโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ออกไปทำงานเอกชนบ้าง แต่ไม่ใช่หมอทุกคนที่มีความคิดเช่นนั้น" คำพูดของ อ.นพ.กิตติพงศ์ เรียบร้อย รองผู้อำนวยการ โรงพยาบาลสงขลานครินทร์
(นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2551)
The Heart by Siriraj หัวใจศิริราช ในมาดเอกชน
พนักงานต้อนรับและพยาบาลสาวหน้าตาจิ้มลิ้มที่ยืนยิ้มฉันญาติมิตรหลังเคาน์เตอร์ เก้าอี้เบาะหนังสีเอิร์ธโทนตัวเขื่องที่จัดวางราวห้องนั่งเล่น ซี่เสาลายไม้ที่ให้อารมณ์แสนอบอุ่น กับห้องพักฟื้นที่มีจอ LCD ขนาดใหญ่กว่าห้องนอนที่บ้าน ใครเลยจะเชื่อว่าภาพเช่นนี้เห็นได้ที่โรงพยาบาลศิริราช
(นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2550)
โรงพยาบาลกรุงเทพเจาะตลาดอเมริกาด้วยสเต็มเซลล์
โรงพยาบาลกรุงเทพเตรียมรุกตลาดคนไข้ต่างชาติอย่างเข้มข้นจริงจังยิ่งขึ้นในปีนี้ โดยใช้สเต็มเซลล์เป็นหัวหอกในการบุกตลาดอเมริกา พร้อมทั้งชิมลางการขยายออกสู่ต่างประเทศเป็นครั้งแรกที่กัมพูชา
(นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2550)
บำรุงราษฎร์ หัวหอกโรงพยาบาลไทยบุกต่างแดน
จากความตั้งใจที่จะยกระดับขึ้นสู่มาตรฐานสากลเมื่อ 15 ปีก่อน โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ไม่เพียงบรรลุเป้าหมายดังกล่าวเท่านั้น แต่ยังเป็นหัวหอกโรงพยาบาลไทยในการบุกตลาดต่างแดนอีกด้วย
(นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2550)
SingaporeMedicine คู่แข่งที่ประมาทไม่ได้
สิงคโปร์เคยเป็นประเทศที่มีชาวต่างชาติเดินทางมาใช้บริการทางการแพทย์สูงที่สุดในอาเซียน ก่อนหน้าที่ไทยจะตามมาทันและแซงหน้าไปได้ในที่สุด อย่างไรก็ตาม ทั้งภาครัฐและเอกชนของสิงคโปร์ต่างก็ร่วมมือร่วมใจกันพยายามผลักดันให้ประเทศเล็กๆ แห่งนี้ก้าวขึ้นเป็น Medical Hub อันดับต้นๆ ของโลกให้ได้
(นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2550)
Medical Hub of Asia เกมนี้ยังไม่จบ
หากวัดกันที่จำนวนผู้ป่วยต่างชาติที่เข้ามารักษา ปัจจุบันไทยได้กลายเป็นศูนย์กลางการแพทย์ในเอเชียไปเรียบร้อยแล้ว แต่แชมป์เก่าอย่างสิงคโปร์และอินเดียผู้มาใหม่ต่างก็จ้องชิงตลาดนี้อย่างดุเดือด มาตรการของภาครัฐและแรงผลักดันของเอกชนนับจากนี้จะเป็นตัวชี้ชะตาอนาคตอุตสาหกรรมดาวรุ่งของไทยกลุ่มนี้ว่าจะรุ่งโรจน์ต่อไปได้อีกหรือไม่
(นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2550)
โรงพยาบาลเอเชียดูดลูกค้าตะวันตก
Kevin Miller ชาวรัฐ Louisiana ในสหรัฐฯ จะต้องผ่าตัดคอเพื่อรักษาอาการบาดเจ็บที่เกิดจากอุบัติเหตุรถยนต์เมื่อปีก่อน แต่ค่าผ่าตัดสูงที่ถึง 90,000 ดอลลาร์ ในขณะที่เขาทำอาชีพอิสระและไม่มีประกันสุขภาพ Miller จึงตัดสินใจพึ่งอินเทอร์เน็ต แม้ว่าหมอที่รักษาเขาจะคัดค้าน และนัดหมายที่จะเข้ารับการรักษาพยาบาลกับโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ของไทย ซึ่งเขาจะต้องเดินทางถึงครึ่งทวีป
(นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2549)