กอล์ฟ ทุนวัฒนธรรม และ เศรษฐกิจฟองสบู่ (ตอนที่ 1)
ธุรกิจสนามกอล์ฟกำลังเผชิญภาวะความซบเซาทั้งในประเทศไทย ญี่ปุ่น และ บรรดาประเทศขอบสมุทรแปซิฟิก
ข้อที่ไม่สู้มีใครกล่าวถึง ก็คือ ความรุ่งเรือง และความซบเซาของธุรกิจสนามกอล์ฟขึ้นอยู่กับภาวะเศรษฐกิจฟองสบู่อย่าง
ค่อนข้างสำคัญ ความข้อนี้เป็นจริงอย่างยิ่งสำหรับกลุ่มประเทศขอบสมุทรแปซิฟิก
หรือ Pacific Rim…
(นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2543)
เอเชี่ยนเกมส์-บางกอก เปิดศักราชใหม่กีฬาพาณิชย์
เกมกีฬาและธุรกิจที่อุดมไปด้วยผลประโยชน์มหาศาล ได้มาจากกลวิธีการจัดการบริหารอย่างมืออาชีพ
โดยฝีมือของชายผู้นี้ - สันติภาพ เตชะวณิช ผู้กุมบังเหียนการเงินข้างรายได้ตัวหลักของเอเชี่ยนเกมส์ครั้ง
ที่ 13 ในไทย รายได้และงบประมาณเกือบ 4,000 ล้านบาท ที่ปรากฏในการจัดกีฬาครั้งนี้ชี้ให้เห็นอย่างชัดเจนว่า
การจัดการแข่งขันกีฬาระดับทวีปครั้งนี้เป็นไปในทิศทางเดียวกับกีฬาครั้งสำคัญๆ
(นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2541)
พิชัย รัตตกุล Saviour ของ BAGOC
ชื่อของรองนายกฯ พิชัย รัตตกุล กลายเป็นชื่อที่เกี่ยวข้องกับงานๆ เดียว
แต่เป็นงานระดับชาติที่ต้องให้รองนายกรัฐมนตรีเข้าไปควบคุมดูแล นั่นคือการจัดการแข่งขันเอเชี่ยนเกมส์ครั้งที่
13 ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ งานนี้จะเกิดหรือไม่เกิด จะดีเพียงใด อยู่ที่ฝีมือบริหารการจัดการแก้ไขปัญหาของรองนายกฯ
(นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2541)
จบเกมกีฬาสู่เกมธุรกิจ จะบริหารศูนย์กีฬามูลค่า 12,000 ล้านบาทต่ออย่างไร?
จบการแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ครั้งที่ 13 ศักดิ์ชาย ทัพสุวรรณ ผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทย,
นริศ ชัยสูตร อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ อนันต์ กาญจนพาสน์ ประธานกรรมการบริษัทบางกอกแลนด์
เตรียมเล่นเกมใหม่ที่ยากกว่าเก่า คือต้องแข่งกันบริหาร 3 สนามหลัก ที่ทุ่มงบไปแล้วกว่า
12,000 ล้านบาท เพื่อไม่ให้เป็นศูนย์กีฬาหรือสปอร์ตคอมเพล็กซ์ร้าง
เกมนี้อาจจะต้องเหนื่อย และยืดเยื้อกว่าเก่า !!
(นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2541)
ถนนทุกสายสู่…เอเชี่ยนเกมส์
ประชาชนทั้งประเทศร่วมลุ้นระทึกกับระบบคมนาคมของถนนสายเอเชี่ยนเกมส์ เช่น
เส้นทางด่วนสายบางปะอิน-ปากเกร็ด และดอนเมืองโทลล์เวย์ รวมทั้งถนนเส้นหน้ารามคำแหง
ในที่สุด สำนักงานตำรวจแห่งชาติได้เอาระบบ PARK & RIDE มาช่วย พร้อมเตรียมกำลังตำรวจจราจร
อำนวยความสะดวกและปลอดภัยกว่า 4,000 คน อ่านรายละเอียดของเส้นทางการจราจรวันปิด-เปิด
เอเชี่ยนเกมส์ และจุดจอดรถของ 3 สนามกีฬาหลักต่างๆ ได้ที่นี่!!
(นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2541)
เจเอสแอล งานนี้มีแต่กล่อง-เงินไม่เกี่ยว
ในการแข่งขันฟุตบอลโลก หรือ เกมกีฬาระดับโลกอื่นๆ พิธีเปิดและปิดงานเป็นแค่เครื่องประดับที่เรียกน้ำย่อย
แต่สำหรับระดับภูมิภาคเอเชียอย่างเอเชี่ยนเกมส์แล้ว พิธีการนี้จัดเป็นไฮไลต์
ที่ไม่แพ้เกมกีฬายอดฮิต พิธีเปิด-ปิดกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ครั้งที่ 13 ที่เจเอสแอลได้เป็นผู้จัดทำนั้น
มีเบื้องหน้าเบื้องหลังที่อดทนทรหดมากมายกับการได้เป็นผู้จัดทำโดยไม่คาดฝัน
(นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2541)
ธุรกิจกับเอเชี่ยนเกมส์ : เส้นทางของผลประโยชน์
นับแต่กีฬาเอเชี่ยนเกมส์กำเนิดขึ้นมา ไม่มีครั้งไหนที่ธุรกิจเข้ามาเกี่ยวข้องกับกีฬารายการนี้มากเท่ากับการแข่งขันเอเชี่ยนเกมส์ครั้งนี้
เหตุผลที่ธุรกิจต่างพยายามแย่งชิงความเป็นหนึ่งในการเข้ามาเป็นผู้สนับสนันรายการกีฬา
เพราะมองทางการหาผลประโยชน์ที่อยู่ในเกมกีฬามีมูลค่ามหาศาล และในอนาคตการห้ำหั่นกันของธุรกิจในวงการกีฬาจะรุนแรงขึ้นตามลำดับ
(นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2541)
"เปิดขุมทรัพย์ธุรกิจฟุตบอลอังกฤษแมนยูฯ กับกองเงิน 20,000 ล้านบาท"
ในทศวรรษนี้ ช่องทางการสร้างเงินของสโมสรฟุตบอลอังกฤษได้ถูกพัฒนาขึ้นด้วยทักษะทางการตลาดและการเงินที่ซับซ้อนกว่าเดิม ไม่ว่าจะเป็นการนำบริษัทที่เป็นเจ้าของสโมสรเข้าสู่ตลาดหุ้น การแตกธุรกิจออกไปสู่อุตสาหกรรมบริการ
การถ่ายทอดการแข่งขันในระบบ Pay Per View หรือกระทั่งการทำสถานีโทรทัศน์กีฬาของตนเอง
(นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2540)
"ปีศาจแดง ไฟเขียว สตาร์ ซอคเก้อร์"
สมลักษณ์ โหลทอง ผู้บริหารเครือข่ายร้าน "สตาร์ ซอคเก้อร์" รับตำแหน่ง
Woman of The Match อย่างเต็มภาคภูมิเมื่อธุรกิจนี้คือ Cash Cow ของสยามสปอร์ต
สมลักษณ์ยังมีภาพลักษณ์เป็น "แม่บ้านแมนยูฯ" เมื่อ Souvenir ของทีม
"ปีศาจแดง" คือ 80% ของสินค้าที่วางจำหน่าย
(นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2540)
"3 เอ็ม บรีทไรท์" อาวุธใหม่ของ 3 เอ็ม
ผ่านร้อนผ่านหนาวมาแล้ว 30 ปี สำหรับการทำธุรกิจในประเทศไทยในนาม บริษัท
3 เอ็ม ประเทศไทย จำกัด นับว่าประสบความสำเร็จอย่างมากในการจำหน่ายสินค้าที่มีหลากหลายชนิดที่คุ้นหูคุ้นตากันมาก
เช่น อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ เครื่องมือทางการแพทย์ เครื่องใช้สำนักงานต่าง ๆ
(นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2540)