วิโรจน์ VS ไกรศรี-ชยุติ
กรณีไกรศรี จาติกวนิช อดีตอธิบดีกรมศุลกากร ชยุติ จิระเลิศพงษ์ อดีตรองอธิบดีกรมศุลกากร
และเจ้าหน้าที่กรมศุลฯ อีก 12 คน ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดทางวินัยอย่งร้ายแรงในการหลีกเลี่ยงภาษีอากรนำเข้ารถยนต์ยี่ห้อโตโยต้า
ซอเรอร์ จนในที่สุดไกรศรีและชยุติถูกตัดสินให้ออกจากราชการ ส่วนเจ้าหน้าที่อีก
12 คน การสอบสวนยังไม่ยุติ เรื่องนี้เป็นเรื่องที่อื้อฉาวและตกเป็นข่าวโด่งดังมากในรอบปีที่ผ่านมา
(นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2531)
รถเจ้าปัญหา
รถโตโยต้า ซอเรอร์ คันนี้เป็นรถรุ่นเดียวรถที่เกิดปัญหา (ซึ่งราคาบ้านเราคันละประมาณ
4,500,000 รวมภาษี) ซึ่งนำเข้าโดยนายมนัสชัย อริยอาภากุล ซึ่งนำมาให้นายประพัฒน์
อภิปุญญา เพื่อค้ำประกันหนี้ ประมาณปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2529
(นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2531)
มิตรภาพร่วมเปอโยต์ - ยนตรกิจเบื้องหลังรอยยิ้มมีแต่เรื่องลับ ๆ
มรสุมเงินเยนที่โหมกระหน่ำจนค่ายรถยนต์ญี่ปุ่นต้องพังพาบไปตาม ๆ กันในระยะปีสองปีมานี้
ปลุกเอาผีที่ใกล้จะถึงป่าช้าอย่างรถยนต์ยุโรปให้ฟื้นชีพกลับคืนอย่างไม่คาดฝัน
โดยเฉพาะค่ายยนตรกิจที่เป็นตัวแทนจำหน่ายเปอโยต์ บีเอ็ม.ดับบลิว. ซึ่งรุกคืบกินตลาดอย่างเมามัน
(นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2530)
นี่คือ "โตโยต้ากรุ๊ป" ความมหัศจรรย์ที่ไม่มีวันกร่อนสลาย
เมื่อสิ้นปี 2529 หากดูถึงสินทรัพย์รวมของ "โตโยต้า กรุ๊ป" ทั้งหมดที่มีอยู่ในญี่ปุ่นและที่กระจัดกระจายตามสาขาไปประเทศต่าง
ๆ อีก 20 กว่าประเทศ มีมูลค่ามหาศาลมากกวางบพัฒนาประเทศไทยในปีปัจจุบันเสียอีก
เฉพาะที่ญี่ปุ่นทุนจดทะเบียนบริษัทก็สูงถึง 133,200 ล้านบาท
(นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2530)
ทนง ลี้อิสสระนุกูล รุ่นที่ 3 ปลดเปลื้องอาถรรพณ์
คนจีนถือว่าความรุ่งเรืองของธุรกิจ จะไม่พ้นรุ่นที่ 3 กลุ่มสิทธิพลของ
"ลี้อิสสระนุกูล" ซึ่งยิ่งยงอยู่ในแวดวงอุตสหกรรมยานยนต์ มาหลายสิบปี
ได้ก้างมาถึงรุ่นที่ 3 แล้วในวันนี้
(นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2530)
ความซวยของยนตรกิจเหตุเพราะยอดขายบีเอ็ม, เปอร์โยต์พุ่งแรงมากไป?
นอกจากจะได้อิมเมจอย่างดีเยี่ยมจากการชนะเลิศไทยแลนด์กรังปรีซ์ไปเมื่อปลายปีที่แล้ว
ยอดขายรถยนต์นั่งส่วนบุคคลของค่ายยนตรกิจทั้ง 2 ยี่ห้อไม่ว่าจะเป็นบีเอ็มดับบลิวหรือเปอร์โยต์นั้น
ก็ดูเหมือนว่าจะยั้งกันไม่หยุดฉุดกันไม่อยู่เสียจริง ๆ
(นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2530)
เมโทรแมชีนเนอรี่ KING OF TRACTOR ผงาดขึ้นอีกครั้ง!?
ปี 2527 เมโทรแมชชีนเนอรี่เผชิญมรสุมครั้งใหญ่ ขาดทุนถึง 178 ล้านบาท ครั้งแรกครั้งเดียวในประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา
ทองไทร บูรพชัยศรี ผู้กุมบังเหียนมาแต่ต้นจนทุกวันนี้ต้องเหนื่อยอย่างมาก
ตั้งแต่ปี 2528 เป็นต้นมา ซึ่งมีความพยายามของเขาในการ "ฟื้นฟู"
กิจการก็ใกล้บรรลุความสำเร็จแล้ว
(นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2529)