"อะไหล่รถแพง ! มหกรรมมัดมือชก"
อะไหล่แพง..กลายเป็นสภาวะจำยอมของคนใช้รถเข้าศูนย์บริการไปแล้ว ขณะที่อยากจะใช้อะไหล่ถูกก็ต้องไปบริการอู่ซ่อมข้างถนน พร้อมกับความหวั่นวิตกที่ว่าอู่เหล่านี้ใช้ "อะไหล่ปลอม" ทำไมอะไหล่รถต้องแพง อะไหล่ปลอม ทำถึงได้ชื่อว่าปลอม ทั้งที่คุณภาพอาจจะไม่แตกต่างกัน ศูนย์บริการฟันกำไรมหาศาลจากค่าอะไหล่จริงหรือ
(นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2538)
"ความเร้นลับในศูนย์บริการ จะไว้ใจได้ 100% ?"
งานบริการในศูนย์บริการของบริษัทรถยนต์ต่าง ๆ ที่เรา ๆ ท่าน ๆ รับทราบกันมาว่า มีมาตรฐาน และประสิทธิภาพมหาศาลนั้นแท้ที่จริงแล้ว ก็ใช่ว่าภายใต้หลังคาโครงเหล็ก โปร่งสะอาด นั้นจะไม่มีความลึกลับซ่อนเร้นอยู่ ต่อไปนี้คือปัญหาที่ประเมินไว้ เพื่อให้ผู้ใช้รถยนต์ได้ชั่งใจว่าไม่มีอะไรสมบูรณ์แบบทีเดียวหรอกในโลกนี้
(นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2538)
"เธอะ ทวิน ปราจิน แอนด์ ขวัญชัย บทพิสูจน์แฝดต่างฝา ก่อนถึงงานใหญ่"
"เธอะ ทวิน ปราจินแอนด์ ขวัญชัย" เป็นชื่อที่ยังไม่คุ้นหูกันนัก แต่ชื่อ "ปราจิน" และ "ขวัญชัย" ดูจะเป็นที่มักคุ้นของผู้คนที่อยู่ในวงการยานยนต์ของเมืองไทย หรือแม้แต่ผู้คนที่ชอบเข้าชมงานแสดงรถยนต์ที่จัดในเมืองไทยตลอดเวลาหลายปีที่ผ่านมา
(นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2538)
กิตติ มาไพศาลสิน 'มืออาชีพ' กับ 'เถ้าแก่' ใครเจ็บกว่ากัน?
โดยบุคลิกแล้วผมเป็นคนมีความจริงใจเป็นหลัก ผมจะใช้สิ่งนี้เป็นตัวเบิกทางในการบริหาร
จากนี้ต่อไปจะขึ้นอยู่กับผมเพียงคนเดียวแล้ว"
คำพูดของ กิตติ มาไพศาลสิน เมื่อต้นเดือนมกราคม 2535 หลังการเปิดตัวรถยนต์ฮุนไดที่มีขึ้นครั้งแรกในประเทศไทยได้ไม่นานนัก
(นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2538)
รถขึ้นห้างที่รามอินทราแนวคิดที่ไปได้ตลอดรอดฝั่ง?
"...คนไทยไม่ชอบซื้อสินค้าจากแคตาล็อก..." คำกล่าวของขวัญชัย ปภัสร์พงษ์ ผู้อำนวยการบริษัท สื่อสากล จำกัด ที่เล่าถึงเหตุผลที่เป็นการจุดประกายความคิด และนำมาซึ่งการเปิด "มอเตอร์ แกลเลอรี่" ศูนย์รวมโชว์รูมรถยนต์ที่ถือว่าสมบูรณ์และมีศักยภาพที่สุดของเมืองไทยในขณะนี้
(นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2538)
หลังเปิดเสรี 4 ปี ตลาดรถยนต์ไทยไม่หมู
ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าโฉมหน้าตลาดรถยนต์ไทยในปัจจุบัน เป็นผลพวงมาจากนโยบายการเปิดตลาดรถยนต์เสรีและการปรับโครงสร้างภาษีรถยนต์สำเร็จรูปนำเข้าและภาษีชิ้นส่วน ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อกลางปี 2534 นโยบายดังกล่าวนับเป็นการพลิกโฉมธุรกิจรถยนต์รุนแรงกว่าครั้งใดในประวัติศาสตร์
(นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2538)
"ดีเกือบจะเต็ม 100%"
นับเนื่องจากการเปิดตลาดรถยนต์นำเข้ากึ่งเสรี ในช่วงนายอานันท์ ปันยารชุน เป็นหัวหน้า รัฐบาล โดยการปรับอัตราภาษีรถยนต์นำเข้าสำเร็จรูป ซึ่งถูกรัฐบาลควบคุมมากว่าหนึ่งทศวรรษ เพื่อ ยกเลิกการควบคุมรถยนต์นำเข้า (มิใช่ห้ามนำเข้า) โดยเฉพาะรถยนต์ในตลาดหลัก คือ ความจุที่ต่ำกว่า 2300 ซีซี ได้ส่งผลกระทบในทันทีที่ประกาศออกมา หลากหลายกระแสร่ำลือในช่วงนั้นว่า...
(นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2538)
ผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไทยยืดอกรับเสรี "ปกป้อง...ไร้สาระ"
ยังเป็นข้อถกเถียงกันอีกมาก ว่าแนวทางเพื่อช่วยเหลือกลุ่มอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ของไทยโดยภาครัฐ จำเป็นหรือไม่ และควรจะออกมาอย่างไรในช่วงระยะเวลาไม่กี่ปีที่เหลือจากนี้ ก่อนที่การค้าเสรีจะเกิดขึ้นจริง ซึ่งหมายถึงว่าการคุ้มครองและอุ้มชูที่กลุ่มอุตสาหกรรมนี้เคยได้รับจากภาครัฐมากว่า 3 ทศวรรษ จะต้องยกเลิกไป
(นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2538)
ตัวเลขลวงตา จุดวิตกยานยนต์ไทย
"ดาวน์น้อย ผ่อนนาน" กำลังเป็นกลยุทธ์ที่บริษัทค้ารถจำนวนมากนิยมเพื่อแสวงหาลูกค้าใหญ่ ๆ โดยอาศัยช่องทาง "ลิสซิ่ง" ที่ไม่มีกรอบและข้อจำกัดมากนักในเรื่องวงเงินดาวน์ แต่ขณะเดียวกันจำนวน "หนี้เสีย" ก็เริ่มเพิ่มขึ้น จนหลายฝ่ายเริ่มตั้งข้อสังเกตว่าตลาดรถที่โตขึ้นทุกวันนี้ มี "ของปลอม" มาปนกี่มากน้อย ?
(นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2538)