"ฉัตรชัย บุญยะอนันต์-สิงห์เฒ่าทีจี บทสรุปสายการบินใหม่ใครว่าง่าย?"
"ในภาวะเศรษฐกิจช่วงนี้ไม่อยู่ในสถานภาพที่ดีพอจะลงทุน" บทสรุปของฉัตรชัย
บุญยะอนันต์ อดีตกรรมการผู้อำนวยการใหญ่บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ซึ่งกล่าวถึงแผนการจัดตั้งสายการบินแห่งชาติสายที่
2 ที่คงไม่คุ้มหากจะเข้าไปดำเนินการในขณะนี้ แม้ใครจะมองว่าเป็นธุรกิจที่น่าสนใจอย่างยิ่งก็ตาม
ซึ่งก็ปรากฏว่าไม่มีชื่อของลูกหม้อสายการบินแห่งชาติคนนี้เข้าร่วมกลุ่มใดเลย
ในการเปิดประมูลรอบใหม่ของกรมการบินพาณิชย์เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา
(นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2540)
แพทริก ซี. ลิม เมื่อต้นตำรับเฮลิคอปเตอร์จะเป็นแท็กซี่
"สาเหตุสำคัญที่ผมตัดสินใจซื้อกิจการของ Rogerson Hiller ก็เนื่องมาจากว่า คุณพ่อผมเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์ฮิลเลอร์ ส่วนที่ผมเลือกใช้ไทยเป็นฐานในการผลิต-จำหน่ายและให้บริการเกี่ยวกับเฮลิคอปเตอร์ฮิลเลอร์นั้น เพราะว่าภรรยาผมเป็นคนไทย และเธอก็ไม่ต้องการไปอยู่ที่ไหน นอกจากที่นี่"
(นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2539)
"วิลเลียม อี.ไฮเน็คกี้ แล้วงานอดิเรก "เล็ก" ก็ไม่ใช่เรื่องเล็ก ๆ อีกต่อไป"
"สาเหตุที่ไมเนอร์สนใจเป็นตัวแทนจำหน่ายเครื่องบินไปเปอร์ เพราะเห็นว่าเครื่องบินเล็กส่วนบุคคลจะเป็นตลาดที่มีอัตราการเติบโตน่าสนใจในประเทศไทย
เนื่องจากเมื่อปีที่ผ่านมากรมการบินพาณิชย์ได้เปลี่ยนแปลงกฏข้อบังคับบางอย่าง
เพื่อให้บุคคลธรรมดาหรือบริษัทต่าง ๆ สามารถเป็นเจ้าของเครื่องบินเล็กได้
โดยไม่ต้องไปขึ้นทะเบียนกับสมาคมต่าง ๆ
(นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2539)
ศูนย์ซ่อมเครื่องบิน อีวีเอแอร์ การเริ่มต้นที่ไม่ธรรมดาของเอเวอร์กรีนกร๊ป
ขณะที่ต้นปีนี้เอง คณะรัฐสนตรีไทยเพิ่งได้ข้อสรุปลงตัวถึงแนวทางการบริหารศูนย์ซ่อมเครื่องบินลำตัวกว้าง
แห่งที่สอง ของการบินไทย ที่อู่ ตะเภา แบบแยก บัญชี ลักษณะศูนย์กำไร ( Profit
centre) โดยให้บริษัทตรวจสอบบัญชี เคพีเอ็มจี พีท มาร์วีค สุธีของสุระ สิงห์เสน่ห์เป็นบริษัทที่ปรึกษา
(นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2538)
"สายการบินจีน น่านฟ้าอันตราย"
สายการบินของจีนได้ชื่อว่า มีอันตรายมากที่สุดเป็นอันดับสองรองลงมาจากสายการบินรัสเซีย อุบัติเหตุร้ายแรงที่เกิดขึ้นครั้งแล้วครั้งเล่า ปัญหาการบริการ ความบกพร่องของอุปกรณ์ที่จำเป็นกลายเป็นเรื่องที่ชาชินไปเสียแล้ว สายการบินในประเทศจีนกำลังพยายามปรับปรุงมาตรฐานเรื่องความปลอดภัยในการบินให้สูงขึ้นซึ่งไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ เลย
(นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2537)
"คำแนะนำสำหรับนักเดินทาง"
พื้นที่กว้างใหญ่ของประเทศจีน และโครงสร้างพื้นฐานด้านถนนหนทางที่ใช้การไม่ได้
ทำให้การบินเป็นทางเลือกเดียวที่มีอยู่ เมื่อคุณต้องบิน มีทางเลือกต่าง ๆ
ที่คุณจะตัดสินใจเพื่อการไปถึงจุดหมายปลายทางได้อย่างปลอดภัยมากที่สุดดังนี้
(นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2537)
"กลยุทธ์ "ดีเอชแอล เน็ท " ธุรกิจม้าเร็วในยุคไฮเทค"
ในที่ซึ่งเวลาคือเงิน ธุรกิจคูเรียร์ (COURIER) หรือบริการรับส่งพัสดุและเอกสารด่วนทางอากาศเช่น "ดีเอชแอล" ถือว่าโลกคือตลาดเดียว และได้ช่วยธุรกิจต่าง ๆ พัฒนาการหาแหล่งข่าวสาร แหล่งผู้ผลิตจากทั่วโลกพัฒนารูปแบบการจัดจำหน่ายระดับโลก ทำให้เกิดความคล่องตัวในการผลิตสินค้าให้สอดคล้องกับรสนิยมของตลาดที่เปลี่ยนแปลงไป และช่วยย่นระยะเวลาผลิตให้สั้นเข้า
(นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2536)
"เบื้องหลังขายที่ดินสร้างโรงงานประกอบชิ้นส่วนเครื่องบิน"
ความสำเร็จในเบื้องแรกของระยองอินดัสเตรียลปาร์ค ที่สามารถดึงดูดให้บริษัทต่างชาติหลายๆ
บริษัท ไม่ว่าจะเป็นบริษัท Wang Sang ผู้ผลิตของเล่นพลาสติกจากไต้หวัน บริษัท
Astronic เป็นบริษัทร่วมทุนระหว่างนักลงทุนไต้หวันและเยอรมัน เพื่อผลิต Power
Supply บริษัท Thai Fluorine Chemical เป็นบริษัทผลิตสินค้าประเภทเคมีภัณฑ์
(นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2536)
"เส้นทางบินในประเทศ 13 สาย การบินไทยทำขาดทุน หมอปราเสริฐจะทำกำไรให้ดู"
หมอปราเสริฐจะผ่าตัดเส้นทางบินภายในประเทศให้หายจากโรคขาดทุนได้อย่างไร
หากคณะกรรมการบริหารกระทรวงคมนาคมอนุมัติให้ 13 เส้นทางบินย่อยในประเทศที่ขาดทุนย่อยยับอย่างต่อเนื่องมาแรมปีจับใส่พานโดยมี
"เต้" ประธานบอร์ดยกให้กับเอกชน โดยเฉพาะหมอปราเสริฐเพื่อนนักเรียนรุ่นเดียวกันรับไปดำเนินการ
(นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2535)
"เสี้ยวชีวิตการเป็นนักรบที่ไม่ใช่นักฆ่า"
น้อยคนนักที่จะรู้ว่าเกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้งเคยเป็นนักบินทหารมาก่อนในฝูงบินฝ่ายสัมพันธมิตร
เกียรติได้ผ่านสมรภูมิรบเมื่อครั้งเกิดสงครามโลกครั้งที่สอง โดยมีชื่อฝรั่งที่บรรดาเพื่อนฝูงพากันเรียกชื่อเกียรติว่า
"TOM CHENG"
(นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2535)