สยามการ์เดียน ตลาดกระจกในประเทศยังไม่พอรองรับกำลังการผลิต
เมื่อ 13 ปีก่อน การประกาศโครงการร่วมทุนกับเครือซิเมนต์ไทย ของการ์เดียน
อินดัสตรีส-์ 1 ใน 3 ของผู้ผลิตกระจกรายใหญ่ของโลกจากสหรัฐอเมริกา ที่ต้องการเข้ามาลงทุนตั้งโรงงานผลิตกระจกในประเทศไทย
ได้รับการต่อต้านอย่างหนักจากกระจกไทย-อาซาฮี ซึ่งถือเป็นผู้ผลิตกระจกรายใหญ่ที่สุดในประเทศไทยในขณะนั้น
(นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2544)
กระจกไทย-อาซาฮี เจอศึกหนักหลังผุดโรงงาน
ยุคเงินบาทลอยตัว เศรษฐกิจตกต่ำ ปัญหาการเมืองไร้เสถียรภาพ ผู้ประกอบการภาคเอกชนต่างดิ้นรนให้พ้นวิกฤติการณ์ให้ได้
ใครที่มีสายป่านยาวก็สามารถรอดตัวไปท่ามกลางความเจ็บปวดสำหรับผู้ที่ไม่สามารถฟันฝ่าออกไปได้ แต่ บมจ.กระจกไทย-อาซาฮี (TAG) ผู้ผลิตกระจกรายใหญ่ของประเทศไทยยังไม่รู้ว่าทิศทางของบริษัทจะเป็นอย่างไร
(นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2540)
กระจกแข่งเดือด ต่างชาติทุ่มตลาด อาซาฮีลดราคาสู้ ขอแค่เท่าทุนก็พอ
ในยามที่เศรษฐกิจตกสะเก็ดเช่นนี้ตัวเลขการเติบโตของภาคส่งออกครึ่งปีที่ผ่านมาเติบโตเพียง
3.8% สาเหตุสำคัญมาจากหมวดประมง เกษตร และสิ่งทอสิ่งออกได้น้อยลงเป็นหลัก
แต่ในบางหมวดนอกจากส่งออกลดลงแล้ว ยังโดนทุ่มตลาดจากต่างประเทศเข้ามาเสียอีก
(นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2539)
การ์เดียน - อาซาฮี…การตลาดภาค "มองต่างมุม"
การเกิดกระจกสยามการ์เดียนของเครือซิเมนต์ไทย อาจจะไม่เป็นเรื่องใหญ่โตนัก
หากผู้ผลิตรายเดิมที่ผูกขาดในไทยมิใช่กระจกไทย-อาซาฮีของตระกูล "ศรีเฟื่องฟุ้ง-พานิชชีวะ"
อันเป็นตระกูลที่มีบุญมีคุณกับพรรคชาติไทยมาตลอด เรื่องราวของการเกิดขึ้นของโรงงานกระจกใหม่เมื่อ
3-4 ปีก่อน เป็นเรื่องที่ดังมากในยุคนั้น ถึงขั้นมีการโยกย้ายรัฐมนตรีเพื่อให้เกิดโรงงานนี้
แต่จากนี้ไป เรื่องที่จะเกิดขึ้นอาจจะสนุกกว่านี้แน่นอน ในเมื่อปูนซิเมนต์ไทยยินยอมที่จะขาดทุนถึง
5 ปีเพื่ออยู่รอดในตลาดนี้
(นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2536)
ไปชมสยามการ์เดียน โรงงานทำกระจกน้องใหม่เครือซิเมนต์ไทย
ปริมาณความต้องการใช้กระจกของเมืองไทยนับวันจะมีจำนวนมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอุตสาหกรรมการก่อสร้างตึกรามสมัยนี้
นิยมใช้กระจกในการตกแต่งภายนอกอาคารมากกว่าเดิม มีผลให้อุตสาหกรรมผู้ผลิตกระจกในประเทศได้ผู้ผลิตเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งราย
(นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2536)
"ชัยคีรี ศรีเฟื่องฟุ้ง ทายาทรุ่นที่สามของศรีเฟื่องฟุ้ง"
หลังการมรณะกรรมของเกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง ภารกิจดูแลรักษาอาณาจักรธุรกิจอันยิ่งใหญ่ในบริษัทกระจกไทย-อาซาฮีได้ตกอยู่กับชัยคีรี ศรีเฟื่องฟุ้ง ทายาทคนโตที่เพิ่งขึ้นมาเป็นกรรมการอำนวยการแทนสมบัติ พานิชชีวะตั้งแต่การปรับโครงสร้างการบริหารระดับสูงกลางปีที่แล้ว
(นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2535)
ไทยอาซาฮีเข้าตลาดหุ้น
ข่าวเกี่ยวกับการเปิดโรงงานกระจกแผ่นแห่งหนึ่งที่ใช้กระบวนการผลิตแบบโฟลทของกลุ่มปูนซิเมนต์ที่ร่วมทุนกับ
บ.การ์เดี้ยนของสหรัฐฯ ยังไม่สรุปแน่ชัดว่าจะได้รับอนุญาตให้เปิดได้หรือไม่จากรัฐบาลไทย
แม้นว่าทางกระทรวงอุตสาหกรรมจะมีคำสั่งห้ามเปิดโรงงานผลิตกระจกแผ่นอีกภายใน
5 ปีก็ตาม
(นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2532)
" ผมไม่มีจิตใจที่จะผูกขาด "
ถ้าจะบอกว่าผมผูกขาด ประเด็นแรกจะต้องให้คำจำกัดความมันเสียก่อนว่าผูกขาดคืออะไร
ในมุมที่การผูกขาดคือผู้ซื้อไม่มีข้อต่อรอง อันนี้ตราบใดที่ซัพพลายไม่ขาด
ซัพพลายไม่น้อยกว่าดีมานด์ไม่ถือว่าเป็นการผูกขาด ไม่จำเป็นว่าการผลิตจะต้องกระจายสู่ผู้ลงทุนหลาย
ๆ คนหรือไม่
(นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2532)
เปิดผลิตกระจกเสรีสงบศึกอาซาฮี-การ์เดี้ยม
ทันทีที่ รมต.บรรหารสั่งคุมกำเนิดโรงงานผลิตกระจกใหม่ของบริษัทการ์เดี้ยนและปูนซิเมนต์ไทยก็จุดประกายความไม่พอใจให้แก่สหรัฐฯทันที
มีการใช้ ม.301 มากดดันเรื่องนี้ให้ผ่านการอนุมัติจากรัฐบาลไทยให้ได้
(นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2532)