CIMB: Regional Networking
นับตั้งแต่ CIMB เข้าซื้อกิจการของไทยธนาคารจากกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินของไทย ด้วยเงินลงทุนรวมกว่า 6 พันล้านบาท จังหวะก้าวของ CIMB สถาบันการเงินซึ่งมีขนาดของสินทรัพย์ใหญ่เป็นอันดับ 5 ของสถาบันการเงินในกลุ่ม ASEAN ที่ดำเนินผ่าน CIMB Thai กำลังสะท้อนมิติที่เกี่ยวเนื่องและสอดรับกับโครงข่ายธุรกิจในระดับภูมิภาคที่น่าสนใจยิ่ง
(นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา พฤศจิกายน 2552)
Fraud = ปล้น
"กองปราบดักจับพนักงานธนาคารอาคารสงเคราะห์ ยักยอกเงินแบงก์ 400 ล้าน"..."ลูกค้าโวยธนาคารธนชาติ ไม่ยอมให้ถอนเงินจากบัญชี 4 ล้าน เหตุถูกพนักงานยักยอก"...เป็นเนื้อหาข่าวที่เกิดขึ้นติดๆ กัน ในช่วงเวลา 2 เดือนที่ผ่านมา
(นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา มิถุนายน 2552)
ได้เวลา Inorganic Growth
ปัญหาวิกฤติการเงินของสหรัฐอเมริกาเมื่อปีที่ผ่านมาเริ่มส่งผลกระทบอย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น เมื่อธนาคารโลกออกมาแถลงการณ์การเติบโตของเศรษฐกิจโลกจะเหลือเพียง 0.9%
(นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา มีนาคม 2552)
CIMB รุกคืบอย่างมีเป้าหมาย
หากธุรกิจการเงินการธนาคารเป็นประหนึ่งหัวใจของกลไกที่จะขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจ การเข้าซื้อกิจการของไทยธนาคาร โดย CIMB Group สถาบันการเงินอันดับสองจากมาเลเซีย กำลังสะท้อนภาพยุทธศาสตร์ขนาดใหญ่ที่พร้อมจะงอกเงยขึ้นจากจุดเริ่มต้นเล็กๆ นี้
(นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา กุมภาพันธ์ 2552)
เดินสายชี้แจงยังแข็งแรง
ฮานส์ แวน เดอ นอร์ดา ประธานกรรมการบริหารฝ่ายการจัดการการลงทุนและประกันภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ต้องเดินสายเพื่อชี้แจงทิศทางธุรกิจของกลุ่มไอเอ็นจีหลังจากที่รัฐบาลกลางเนเธอร์แลนด์นำเงินจำนวน 1 หมื่นล้านยูโร เข้ามาเสริมสภาพคล่องเมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา หลังจากได้รับผลกระทบวิกฤติเศรษฐกิจในสหรัฐอเมริกา
(นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา ธันวาคม 2551)
ไอเอ็นจีสะเทือน
ปัญหาวิกฤติการเงินในสหรัฐฯ ส่งผลกระทบสถาบันการเงินในกลุ่มยุโรปอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แม้แต่ธนาคารไอเอ็นจี ประเทศเนเธอร์แลนด์ 1 ใน 20 ธนาคารขนาดใหญ่ของโลกก็ยังได้รับแรงกระแทกจนซวนเซเช่นเดียวกัน
(นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2551)
สินเอเซีย ธนาคารกึ่งภูมิภาค
"ในอีก 2-3 ปีข้างหน้า รายได้หลัก 55 เปอร์เซ็นต์ของธนาคารสินเอเซียจะมาจากต่างจังหวัด เพราะตัวตนของธนาคารกลายเป็นธนาคารภูมิภาคครึ่งหนึ่งไปแล้ว" คำพูดหนักแน่นของกรรมการผู้จัดการใหญ่ธนาคารสินเอเซียที่กล่าวถึงเป้าหมาย และให้ความสำคัญในการบริหารสาขาเป็นอย่างมาก
(นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2551)
U-Turn Point ของธนาคารสินเอเซีย
ธนาคารหลายแห่งเร่งพัฒนาตัวเองก้าวไปเป็น Universal Banking ให้บริการด้านการเงินครบวงจร แต่สินเอเซียกลับพึงพอใจที่จะเป็นธนาคารขนาดเล็กที่สามารถเลือกลูกค้า เลือกบริการ และเลือกสมรภูมิแข่งขันด้วยตัวเอง ที่สำคัญ ยังนำจุดเด่นการให้บริการของธนาคารพาณิชย์ยุคก่อนปี 2540 กลับมาใช้อีกครั้ง
(นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2551)
Exim Bank กับภารกิจหลักใน GMS
โดยชื่อและบทบาทแล้ว EXIM Bank ของไทย คือผู้เล่นสำคัญรายหนึ่งในกลุ่มประเทศอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ไม่ต่างจาก ADB หรือ JBIC ซึ่งนักลงทุนไทยที่มองเห็นโอกาส ไม่สามารถมองข้ามได้
(นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2551)