โบนัสเป็นพิษรอยด่างในใจของชายชื่อศิรินทร์
เรื่องราวของโบนัสกลายเป็นเรื่องที่วุ่นวายอย่างไม่น่าเชื่อ เพราะไม่ใช่แค่ที่บริษัทซันโยเท่านั้นแล้ว
แต่หลายแห่งก็มีการไม่พอใจในเรื่องของโบนัสที่เกิดขึ้นด้วยเช่นกัน
(นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2540)
ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล ฉีดภูมิคุ้มกันธุรกิจค้าเงิน
ขณะที่การเจรจาเปิดเสรีทางการเงินกำลังจะเปิดฉากขึ้น ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)
ในฐานะผู้คุมกฎทางการเงินของประเทศได้พยายามวางรากฐานโครงสร้างของสถาบนการเงินไทย
ให้เป็นปึกแผ่นแข็งแกร่งสามารถต้านทานกับการถาโถมเข้ามาของต่างชาติ ซึ่งมีความได้เปรียบในเชิงการแข่งขันกว่าไทยหลายเท่าตัว
(นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2540)
ดร.โอฯ รายวัน รับปรึกษาทั่วราชอาณาจักร
ในช่วงรัฐบาลบรรหาร ศิลปอาชา เป็นนายกรัฐมนตรี ถือว่าเป็นช่วงที่ผู้คนส่วนใหญ่ลงมติว่า
เศรษฐกิจของประเทศกำลังถูกย่ำยีอย่างหนัก ภาพพจน์ของผู้นำประเทศติดลบลงเรื่อย
ๆ แต่ในขณะเดียวกันบทบาทของคน ๆ หนึ่งก็โดดเด่นขึ้นมาในช่วงนี้เอง
(นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2540)
ก้าวใหม่ไทยพาณิชย์ ปีนี้ต้องเป็น LEARNING
ในปีนี้ธนาคารไทยพาณิชย์ก็กลับมาชิงตำแหน่งธนาคารแห่งปี 2539 จากการจัดอันดับของวารสารทางการเงินการธนาคาร
และถือได้ว่าเป็นการครองตำแหน่งนี้เป็นสมัยที่ 5 หลังจากที่เคยได้รับตำแหน่งไปเมื่อปี
2531-2534
(นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2540)
มองหุ้น SCB ผ่านผลงาน 12 ปีของสองผู้บริหาร
ธนาคารไทยพาณิชย์ หรือ SCB เป็นหุ้นที่มีราคาหวือหวาเกินหุ้นแบงก์อื่น ยามตลาดหุ้นดี
SCB วิ่งไปเร็วกว่า ยามตลาดฯ ซบ SCB ราคาฟุบมากกว่า แท้จริงแล้วปัจจัยพื้นฐานของ
SCB เป็นเช่นไร? ขึ้น ๆ ลง ๆ เช่นเดียวกับราคาหรือไม่ ความสามารถของผู้บริหารสองรุ่นล่าสุด
คือ ที่มาของปัจจัยพื้นฐานในปัจจุบัน 8 ปีกว่าของธารินทร์ นิมมานเหมินท์
และเวลา 4 ปีของโอฬาร ไชยประวัติ สร้างให้ SCB แข็งแกร่งแค่ไหน ?!?
(นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2540)
TDB - FIN1 - PHATRA - NPAT ร่วมอันเดอร์ไรต์หุ้นกู้
ธ.ไทยทนุ ส่งท้ายปีเก่าด้วยการจับมือ FIN1 และ 2 สถาบันใหญ่รับเป็นที่ปรึกษาทางการเงินให้กับ
MCC ในการจัดโครงสร้างหุ้นกู้ 3,500 ล้านบาท โดยแบ่งออกเป็น 3 TRANCHES และ
TRANCHE แรกเสร็จสมบูรณ์แล้ว ด้วยการออกในรูปของหุ้นกู้ด้อยสิทธิจำนวน 500
ล้านบาท อายุ 10 ปี อัตราดอกเบี้ยเงินฝาก 3 เดือนสูงสุดของไทยทนุ บวก 1.25%
ใน 5 ปีแรกและบวก 2.50% ใน 5 ปีหลัง
(นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2540)
ฝันของ ดร.วีระชัย เตชะวิจิตร์ กฎทุกกฎย่อมมีข้อยกเว้น
แม้ว่าธนาคารแห่งประเทศไทยจะประกาศผลการจัดตั้งธนาคารใหม่ออกมาแล้วว่า ผู้ที่ผ่านคุณสมบัติขั้นต้นในการจัดตั้งแบงก์ใหม่นั้นมีเพียง 3 ราย คือ เอ็มบีเค พร็อพเพอร์ตี้ / กลุ่มอิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ / และบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์จีเอฟ
(นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2539)
"ไพรเวท แบงกิ้ง ทำไมหละหลวมถึงขนาดนี้ ?"
"ทำไมนิตยาจึงโกงได้บ่อย ๆ เป็นปี แสดงว่าระบบการตรวจสอบไม่ชัดเจนทั้ง ๆ ที่เรื่องโกงนี้เกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2536 คือตั๋วบี/อีของลูกค้ารายหนึ่งเริ่มมีปัญหา แต่ลูกค้าซึ่งเป็นคุณยายรายนั้นไม่ไหวตัว เพราะยังได้รับดอกเบี้ยตามสัญญาทุกเดือนจนกระทั่งแกมารู้จากหนังสือพิมพ์เจอประกาศแจ้งจับ แกจึงมาร่วมแจ้งความด้วย นั่นแสดงว่าถ้าคุณนิตยาหมุนเงินได้ทันเรื่องก็ไม่แดงออกมาและเรื่องนี้อย่าให้คิดเลยว่าจะเสียหายมากมายกว่านี้สักแค่ไหน
(นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2539)
"เกริกเกียรติ ชาลีจันทร์ อวสาน "อินทรฑูต"
พฤษภาคม 2529 เกริกเกียรติ ชาลีจันทร์ เดินออกจากรั้ววังบางขุนพรหม มาดูแลธนาคารกรุงเทพฯ
พาณิชย์การของครอบครัว ด้วยความคาดหวังเต็มเปี่ยมของคนรอบข้าง ทั้งผู้ใหญ่ในแบงก์ชาติและครอบครัวของเขาว่าจะกอบกู้ธนาคารแห่งนี้ให้ฟื้นแข็งแรง
(นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2539)