โฉมหน้าใหม่ของความหิวโหย
การขาดแคลนอาหารที่เกิดขึ้นทั่วโลก ทำให้ทุกคนประหลาดใจ คำถามคือ เราควรจะทำอย่างไรต่อไป พ่อค้าข้าวตลาดชานเมืองในประเทศโกตดิวัวร์ ชี้ให้ดูชามที่บรรจุเต็มไปด้วยข้าวหักที่มาจากไทย ซึ่งเขาขายในราคา 400 ฟรังค์ CFA (ประมาณ 1 ดอลลาร์) ต่อกิโลกรัม ว่าเป็นข้าวที่ขายดีมากที่สุด
(นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2551)
บทพิสูจน์แห่ง "หนองหว้า" เกษตรกรก็รวยได้
หลายคนเชื่อว่า เกษตรกรรมกับความยากจนมักเป็นของคู่กัน ทว่ากลุ่มเกษตรกรแห่งหมู่บ้านหนองหว้า ผู้มีรายได้ต่อครัวเรือนเฉลี่ยร่วมแสนบาทต่อเดือนคงเป็นบทพิสูจน์ที่คัดค้านความเชื่อข้างต้นได้เป็นอย่างดี แต่กว่าจะมีความสำเร็จในวันนี้แน่นอนว่าต้องมีระบบวิธีคิดและกระบวนการจัดการที่ดีเป็นเบื้องหลังที่ควรค่าแก่การเรียนรู้และเป็นแบบอย่าง
(นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2550)
SPF เนื้อหมูปลอดสารพิษของเบทาโกร
เมื่อผักยังปลอดสารพิษได้ แล้วทำไมเนื้อสัตว์จะปลอดสารพิษไม่ได้ เพียงแต่กระบวนการผลิตเนื้อสัตว์ปลอดสารพิษนั้นยุ่งยากกว่าและใช้เวลานานกว่า
(นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2550)
โอกาสของธุรกิจไทย ในแนวเส้นทางหมายเลข 9
หากเปรียบเทียบกับโครงการสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจทางตอนบนแล้ว โอกาสของนักธุรกิจไทยที่จะได้ประโยชน์จากพื้นที่ลาวตอนกลาง ตามแนวถนนหมายเลข 9 ของกรอบ EWEC ในภาคอีสาน มีความเป็นไปได้ในเชิงรูปธรรมมากกว่า เพียงแต่การเข้ามาลงทุนต้องตรงกับศักยภาพของพื้นที่และถูกช่องทางจริงๆ
(นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2550)
แอปเปิลพอเพียง
แอปเปิลทรงสวยผลโตสีแดงสดฉ่ำจนดูเด่นสะดุดตากว่าแอปเปิลที่วางในกระบะข้างๆ ที่แผนกซูเปอร์มาร์เก็ตของห้างสุดหรูแห่งหนึ่งใจกลางกรุงเทพมหานครนั้น มีป้ายเขียนติดไว้ว่า "ฟูจิแอปเปิล" ซึ่งหากใครที่เคยลิ้มลองแล้วคงทราบดีว่า ไม่เพียงแค่อิ่มตากับแอปเปิลผลงามได้ส่วนเท่านั้น รสชาติอันหวานหอมกลมกล่อมและเนื้อที่แน่นกรอบเปี่ยมไปด้วยคุณภาพคับผลนั้น สมกับแบรนด์แอปเปิล "ฟูจิ"
(นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2550)
Gran Monte Vineyard สวรรค์น้อยกลางเขาใหญ่
ป้ายสีม่วงสดคล้ายสีองุ่นแดง โดดเด่นสะดุดตาเห็นได้ตลอดเส้นทางทั้งฝั่งถนนธนะรัชต์ และเส้นทางสายผ่านศึก-กุดคล้า เป็นป้ายบอกระยะทางที่จะนำไปสู่ไร่องุ่นบูติกที่มีชื่อเป็นภาษาอิตาเลียนว่า "กราน-มอนเต้" แปลเป็นไทยว่า "(ขุน) เขาใหญ่"
(นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2549)
อยากรวย เลิกหวย ปลูกอ้อย...ดีกว่า
ถ้าหากมีผู้สมัครลงเลือกตั้งเป็น ส.ส.ผู้ทรงเกียรติคนไหนเข้าไปหาเสียงที่บ้านหนองดินดำ อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ แล้วเอานโยบายหาเสียงประเภทประชานิยมไปหว่านล้อมชาวบ้าน ไม่ว่าจะเป็นปลดหนี้เกษตรกร เรียนฟรีจะกี่ปีก็แล้วแต่ หรือสัญญาว่าจะแจกโคล้านตัวเพื่อหวังแลกกับคะแนนเสียง
(นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2549)
“มี่เผิง” ลูกที่อาจจะโตแซงแม่
มิตรผลเข้าไปลงทุนธุรกิจน้ำตาลในประเทศจีน ตั้งแต่ปี 2536 ถึงวันนี้เป็นเวลา 13 ปีพอดี แต่คนทั่วไปกลับไม่ค่อยรับรู้เรื่องนี้มากนัก เพราะถ้าพูดถึงกลุ่มทุนไทยที่เข้าไปลงทุนในจีน คนส่วนมากมักจะคิดถึงเครือเจริญโภคภัณฑ์ หรือซี.พี. เสียเป็นส่วนใหญ่ ทั้งๆ ที่บริษัท Guangxi Nanning East Asia Sugar หรือที่รู้จักกันในนาม "มี่เผิง" (Mipeng - เพื่อนของความหวาน) ที่มิตรผลเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ร่วมกับรัฐบาลจีนประสบความสำเร็จอย่างมาก
(นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2549)
จากน้ำตาลสู่พลังงาน
หากเปรียบเทียบว่าช่วงวิกฤติเป็นช่วงที่มืดหม่น ดูเหมือนว่าตอนนี้จะเป็นช่วงที่ฟ้าเปิดและสดใสเป็นพิเศษสำหรับมิตรผล เพราะนอกจากผลผลิตน้ำตาลจะราคาดีเป็นประวัติการณ์แล้ว ยังมีโอกาสใหม่ๆ ที่น่าสนใจไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าน้ำตาลเพิ่มเข้ามาอีกด้วย นั่นคือเอทานอลและโรงไฟฟ้า
(นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2549)
มิตรผล Not just sugar, but a model
น้ำตาลมิตรผลเริ่มต้นมาจากกิจการเล็กๆ ในครอบครัว ผ่านมา 50 ปี ถึงวันนี้ก็ยังเป็นธุรกิจครอบครัวที่มีตระกูลว่องกุศลกิจเป็นเจ้าของเหมือนเดิม แต่ที่ต่างออกไปไม่ใช่แค่ขนาดที่ใหญ่ขึ้นเท่านั้น เพราะน้ำตาลมิตรผลในวันนี้เป็นองค์กรที่ทันสมัย มีรูปแบบการบริหารจัดการแบบสมัยใหม่ แถมยังเปิดรับแนวความคิดใหม่ๆ ต่างไปจากโรงงานน้ำตาลแต่ก่อนอย่างสิ้นเชิง
(นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2549)