"สงครามบ้านและที่ดิน สู้กันทุกรูปแบบ"
ในไตรมาสแรกของปี 2537 งบโฆษณาของสินค้าทางด้านที่อยู่อาศัยในทุกๆ สื่อรวมกันเป็นเงินถึง
1,390,686,000 บาท ในขณะที่ไตรมาสแรกของปีที่แล้วมีเพียง 864,940,000 บาท
ต่างกันถึง 500 กว่าล้านบาท อุณหภูมิการแข่งขันเพื่อแย่งชิงตลาดกำลังร้อนระอุ
และนับวันจะยิ่งทวีความรุนแรงขึ้น แต่ละค่ายอสังหาริมทรัพย์จะพลิกพลิ้วกลยุทธ์ใดที่ดึงดูดลูกค้าให้ได้ผลมากที่สุด
(นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2537)
นิพนธ์ สัจจาวุธ กลับมาเพื่อพิสูจน์ตัวเองด้วยเบตตี้แอดส์
นิพนธ์ สัจจาวุธ เอเยนซีแมนที่คร่ำหวอดในวงการมานานกว่า 20 ปี วันนี้ของเขากำลังพิสูจน์ ฝีมือของตนเอง เพื่อสมานแผลใจที่เกิดขึ้นจากซาทชิ แอนด์ ซาทชิ แอดเวอร์ไทซิ่ง ที่เขา ร่วมงานมานานนับแต่บริษัทนี้ถือกำเนิดสืบต่อมาจากเทดเบทส์(ประเทศไทย) แต่ก็ต้องระเห็จออกมาในที่สุดเมื่อต้นปีนี้ เพราะคำสบประมาทว่า เขาบริหารงานไม่ดี
(นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2535)
เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ บนความเปลี่ยนแปลง
ปีที่แล้วเบอร์ลี่ ยุคเกอร์มีพนักงานรวมทั้งสิ้น 1,414 คน เพิ่มจากปี 2532
ขึ้นมาเพียง 2 คน ปีนี้สมาชิกใหม่ของบริษัทการค้าที่มีอายุนับได้ 109 ปี
แห่งนี้เพิ่มขึ้นมาใหม่อีก 1 คน พนักงานใหม่ล่าสุดเป็นเจ้าหน้าที่ระดับบริหารในตำแหน่งใหม่ล่าสุดที่ไม่เคยมีมาก่อน
(นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2534)
สงครามอ่าวเปอร์เซียทำบุญหล่นทับบริษัทมะกัน
การเกิดสงครามในอ่าวเปอร์เซียไม่ใช่ว่าจะทำให้ทุกสิ่งทุกอย่างพลอยย่ำแย่ไปเสียหมด เพราะสงครามได้ทำให้บุญหล่นทับบริษัทธุรกิจสหรัฐฯที่มีงบประมาณบริษัทน้อย ซึ่งงบโฆษณา ของบริษัท มีไม่เพียงพอที่จะซื้อเวลาสถานีโทรทัศน์อื่นที่มีราคาค่าเวลาสูง จึงหันมาเลือกเคเบิล นิวส์ เน็ทเวิร์ค (ซีเอ็นเอ็น) แทน โดยไม่รู้มาก่อนเลยว่าในภายหลังบริษัทจะได้ผลประโยชน์มหาศาลเพียงใด
(นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2534)
จักรพันธ์ ยมจินดา "มิสเตอร์ มัสแตง"
เมื่อประมาณกลางปี 2531 บริษัทผู้ผลิตยางรายใหญ่ของญี่ปุ่นอย่างบริดจสโตนก็สามารถเข้าเทคโอเวอร์บริษัทผุ้ผลิตยางคู่รักคู่แค้นไฟร์สโตนได้เป็นผลสำเร็จ
เหตุการณ์ครั้งนั้นทำให้บริษัทยางสยามของค่ายปูนใหญ่อย่างปูนซิเมนต์ไทย ต้องเกิดการปรับตัวครั้งสำคัญเพื่อที่จะสามารถดำรงอยู่ได้ในวงการยางรถยนต์ที่นับวันก็เพิ่มความเข้มข้นของการแข่งขันขึ้นทุกที
(นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2532)