อีก 1 วิถีชีวิตใหม่ที่เพิ่งเริ่ม
เก้าโมงเช้า วันที่เก้า เดือนเก้า ช่างเป็นฤกษ์ที่พอเหมาะพอเจาะ และพอดีสำหรับงานแถลงข่าวเปิดตัว "Metro Mall" ศูนย์ชอปปิ้งมอลล์แห่งใหม่ที่ถูกสร้างขึ้นในบริเวณของสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน สถานีสุขุมวิท
(นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2548)
ยุทธศาสตร์รถไฟ TX : Tsukuba Express
พัฒนาการของโครงข่ายการคมนาคม ด้วยระบบรางในประเทศญี่ปุ่น นอกจากจะจำเริญเติบโตจากผลของระดับเทคโนโลยีที่ล้ำหน้า ซึ่งผลักดันให้ญี่ปุ่นได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่มีกิจการรถไฟอยู่ในระดับที่ก้าวหน้ามากที่สุดแห่งหนึ่งของโลกแล้ว กิจการรถไฟในญี่ปุ่นยังเป็นกรณีที่มีความเกี่ยวเนื่องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาในระดับชาติอย่างยากจะแยกออก
(นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2548)
เส้นทางโดยรอบ
ฝุ่นที่คละคลุ้งจากการก่อสร้างกลายเป็นสิ่งที่พบเห็นได้ไม่ยากนักเมื่อเดินทางไปถึงบริเวณรอบๆ สนามบินสุวรรณภูมิ ถนนแทบทุกเส้นที่มุ่งหน้าเข้าสู่สนามบิน หรือเป็นทางออกไปยังจุดอื่นที่ใกล้เคียง ในวันนี้ล้วนแล้วแต่ได้รับการขยายช่องการจราจรให้เพิ่มขึ้นแทบทุกเส้นทาง บ้างเป็นสี่ บ้างเป็นหกช่องการจราจร ตามความคาดการณ์จราจรที่จะเกิดขึ้น
(นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2548)
สุวิช พึ่งเจริญ Japanese Connection
BECL ดูเหมือนจะเป็นบริษัทหนึ่งที่นักวิเคราะห์หลักทรัพย์กำลังให้ความสนใจด้วยผลประกอบการที่เติบโตอย่างมั่นคง และเงินปันผลจ่ายในอัตราที่สูง ทัศนะและมุมมองของผู้บริหารที่สะท้อนถึงปรัชญาขององค์กร จึงเป็นเรื่องที่นักลงทุนจำเป็นต้องติดตาม
(นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2547)
รถไฟฟ้าใต้ดิน จุดนัดพบใหม่ของชาวกรุง
กว่า 12 ปี นับจากรถไฟฟ้า BTS เกิดขึ้น รถไฟฟ้าใต้ดินสายแรกของประเทศไทย ภายใต้ชื่อว่า "รถไฟฟ้ามหานครสายเฉลิมรัชมงคล" จึงสร้างเสร็จและเปิดให้ประชาชนทดลองใช้ในช่วงสงกรานต์ 2547 ที่ผ่านมา ท่ามกลางการป้องกันเหตุร้ายจากเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยหนาแน่นกว่า 300 คน
(นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2547)
คีรี กาญจนพาสน์ "นักสู้จำเป็น"
ถึงแม้ว่า ตลอดปี 2543 ที่ผ่านมา คีรี กาญจนพาสน์จะระดมกลยุทธ์ทกรูปแบบในการลดราคาค่าโดยสารเพื่อขนคนขึ้นรถให้ได้มากที่สุด เพื่อสู้กับภาระดอกเบี้ยที่แบกอยู่ถึง 8 ล้านต่อวัน แต่ ณ วันนี้ดูเหมือนว่าทำอย่างไรก็ไม่มีทางถึงเป้า 6 แสนคนต่อวันที่วางไว้
(นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2543)
บททดสอบทางธุรกิจรถไฟฟ้ากรุงเทพ
โครงการรถไฟฟ้าระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ ได้ฤกษ์เปิดให้บริการไปเมื่อวันที่ 5 ธันวาคมที่ผ่านมา นับเป็นความสำเร็จท่ามกลางความขัดแย้งในหมู่ผู้ถือหุ้นที่ยืดเยื้อมาจนถึงกระทั่งนาทีสุดท้ายก่อนรถออกวิ่ง
(นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2543)
"พอกันทีไปรษณีย์แบบเก่า ยุคปรับโฉม กสท. แบบเอกชน"
กิจการไปรษณีย์ไทยแบบเดิม ผูกขาดโดย กสท. เมื่อถึงคราวต้องปรับตัวรับแผนแม่บทฯ
และการค้าเสรี หน่วยงานแห่งนี้จะทำอย่างไร? เอกชนมองเห็นช่องทางในการทำธุรกิจใหม่
"เมลล์ บ๊อกซ์" เสริมช่องว่างรัฐ หนทางนี้ยังไม่รุ่งหากไม่ทำธุรกิจอื่นเสริม
(นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2540)
"ไปรษณีย์เอกชนบนหนทางเพื่อให้อยู่รอด"
ความตื่นตัวของธุรกิจไปรษณีย์เอกชนในประเทศไทยตั้งแต่เดือนกันยายน 2537
เมื่อบริษัทเมล์บ๊อกซ์ อีทีซี (ไทยแลนด์) จำกัด หรือ MBE ผู้ได้รับสิทธิสัมปทานธุรกิจในประเทศไทยของบริษัท
Mail Boxes Etc. U.S.A.ในสหรัฐอเมริกาเป็นลักษณะ Master License โดยรับโอนมาจาก
Peacore-Living Consortium Ltd.(PCL)
(นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2540)
FedEx เพิ่มเที่ยวบินในไทยหวังเศรษฐกิจฟื้น
ในวงการธุรกิจขนส่งพัสดุภัณฑ์หรือขนส่งเอกสารของภาคเอกชน (air express)
ปัจจุบันอยู่ในช่วงเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยในช่วงที่ผ่านมาอัตราการเติบดตของภาคธุรกิจดังกล่าวทั่วโลกอยู่ที่ระดับ
20% โดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชียซึ่งมีการคาดกันว่าการเติบโตจะอยู่ในอัตราที่สูงกว่าภูมิภาคอื่นๆ
คือประมาณ 20-30% ส่วนธุรกิจนี้ในประเทศไทยอัตราการเติบโตก็คงจะอยู่ที่ระดับการเติบโตเฉลี่ยของโลก
(นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2540)