การเปลี่ยนแปลงในอาคเนย์ประกันภัย
ย้อนหลังไปเมื่อกันยายน ปี '30 เหตุการณ์ในบอร์ดรูมของอาคเนย์ประกันภัย
ดูวุ่นวายไปหมด เมื่อกลุ่มผู้ถือหุ้นเก่าแก่กลุ่มหนึ่งนำโดย นรฤทธิ์ โชติกเสถียร
ถูกกลุ่มผู้ถือหุ้น ศรีกาญจนา และบุณยรักษ์ นำโดย ดร.ศักดา บุณยรักษ์ เขี่ยออกจากการเป็นกรรมการ
และผู้บริหารในบริษัท
(นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2532)
"ทีพีไอ : ตัวอย่างคลาสสิคของการประกันโรงปิโตรเคมี"
โรงปิโตรเคมีของบริษัทอุตสาหกรรมปิโตรเคมีคัลไทย จำกัด (ทีพีไอ) นับเป็นโรงปิโตรเคมีแห่งแรกที่เปิดดำเนินการผลิตในปี
2525 โดยมีการทำประกันวินาศภัยไว้กับบริษัทบางกอกสหประกันภัย จำกัด (บียูไอ)
ซึ่งทั้งสองบริษัทต่างก็เป็นกิจการของตระกูลเลี่ยวไพรัตน์
(นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2532)
"เอชเอชแอลรี : โบรกเกอร์เก่าแก่ที่สุดในไทย"
หากจะสำรวจกันอย่างถี่ถ้วนแล้ว ฮีทฮิวดิก แลงเวล (เอชเอชแอล) อาจจะไม่ใช่โบรกเกอร์เก่าแก่ที่สุดในไทย
แต่ในเมื่อเอชเอชแอลได้ควบกิจการเข้ากับโรลิเบ็กซ์ อินเตอร์เนชั่นแนล ซึ่งเป็นบริษัทสาขาของสหรัฐฯ
และเป็นกิจการนายหน้าประกันภัยแห่งแรกสุดในไทย เมื่อปี 2520 จนประมาณปี 2526
โรลิเบ็กซ์ถอนตัวออกไป ดังนั้น จึงเหลือเอชเอชแอลเป็นนายหน้าที่เก่าที่สุดจริง
ๆ
(นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2532)
"เนแวน (ไทย) : ไม่มีอะไรในกอไผ่จริง ๆ !?"
ชื่อบริษัท เนแวน (ไทย) จำกัด อาจจะยังไม่เป็นที่คุ้นเคยของวงการประกันภัยบ้านเราสักเท่าใด
แต่หากเอ่ยชื่อกรรมการผู้จัดการที่ชื่อ เนวิล เมลยูอิช (NEVILLE T. MELLUISH)
วงการนายหน้าประกันภัยต้องร้องอ๋อเป็นแน่
(นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2532)
บัวหลวงประกันภัย "สุดยอดของการเจ๊ง"
ธุรกิจประกันภัยกำลังไปได้สวยด้วยอัตราการเติบโตของเบี้ยประกันภัยรับโดยตรงที่เพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัวในช่วงเวลา
5 ปีที่ผ่านมา แต่แล้วบริษัทบัวหลวงประกันภัย จำกัด กลับประสบปัญหาวิกฤติค้างจ้างค่าสินไหมผู้เอาประกันและหนี้อยู่ในเครือหลายสิบล้าน
นอกจากนี้ยังจะมีบริษัทประกันภัยอื่น ๆ ที่มีอาการร่อแร่ไม่แพ้บัวหลวงอีกหลายราย
(นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2532)
"เล่ห์กลของบัวหลวงที่กำกับอู่ในเครือ"
บัวหลวงประกันภัยประสบปัญหาการขาดทุนมาเป็นเวลานานแต่กว่าที่ผู้เกี่ยวข้องทั้งหลายจะรู้สึกว่ามันเข้าขั้นวิกฤติกก็เมื่อย่างเข้าเมษา
- พฤษภา 2530 โดยบรรดาอู่รถในเครือประกันทั้งหลายเริ่มรู้สึกตัวว่ากำลังถูกบริษัทบีบในเรื่องการตีราคาซ่อมรถ
(นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2532)
วันสุดท้ายของบัวหลวงประกันภัย
ภายหลังจากที่สำนักงานประกันภัยตัดสินใจใช้มาตรการหานักลงทุนมาเทคโอเวอร์บัวหลวงฯ
โดยสำนักงานฯเข้าตรวจสอบเคลียร์หนี้สินบริษัท หามูลหนี้ที่แท้จริงพร้อมกับดำเนินการเจรจาประนอมหนี้ที่มีต่อบริษัทประกันภัยด้วยกัน
และทาบทามผู้สนใจมากซื้อกิจการนั้น
(นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2532)