"อินเตอร์ฟาร์อีสท์-ตะวันเทเลคอม พันธมิตรกู้วิกฤต !"
เมื่อถึงจุดตกต่ำ "อินเตอร์ฟาร์อีสท์" จำเป็นต้องดิ้นรนหาทางออก
หลังจากที่พยายามมาหลายทางแล้ว "ณรงค์ เตชะไชยวงศ์" พบว่า เขาวนกลับมาที่เดิม
จนในที่สุดมาพบกับ "ตะวันเทเลคอม" ของ "เธียร ปฏิเวชวงศ์"
การเป็นพันธมิตรจึงเริ่มขึ้น สหกรุ๊ปต้องยอมเฉือนเนื้อตัวเองจากอินเตอร์ฟาร์อีสท์
และณรงค์ต้องลงจากบัลลังก์ผู้มีอำนาจเต็มเป็นครั้งแรกในรอบ 18 ปี
(นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2538)
เคพีเอ็นจับมือมูรายามา ความบังเอิญที่ 'เกษม ณรงค์เดช' ตั้งใจ
พิธีลงนามในสัญญาร่วมทุน ระหว่างกลุ่มเคพีเอ็น, บริษัท มูรายามา แห่งประเทศญี่ปุ่น,
บริษัท ซูมิโตโม คอร์ปอเรชั่นแห่งประเทศญี่ปุ่น และบริษัท ซูมิ-ไทย อินเตอร์เนชั่นแนล
จำกัด เมื่อกลางเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา เพื่อร่วมลงทุนในบริษัท อินเตอร์เนชั่นแนล
ฟอร์จจิ้ง จำกัด(ไอเอฟซี) มีความหมายเป็นอย่างยิ่ง
(นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2538)
ธวัช ยิบอินซอย เจ็บแต่ไม่เข็ด !
กลุ่มบริษัท "ยิบอินซอย" ถือได้ว่าเป็นกลุ่มธุรกิจคนไทยกลุ่มแรกๆ
ที่เดินเข้าไปลงทุนในเวียดนาม จากรากฐานที่มั่นคงในไทย พวกเขานำนักลงทุนไทยอีกหลายคนหลายกลุ่มเข้าเวียดนามอย่างสง่าผ่าเผย แต่ในที่สุดก็ต้องถอนตัวกลับออกมา
(นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2538)
ชุมพล ธีระโกเมน อย่าเผลอให้ "แอร์ยอร์ค" ก็แล้วกัน
การเซ็นสัญญาระห่างบริษัท ยอร์ค แอร์ คอนดิชั่นนิ่ง แอนด์ รีฟริจเจอเรชั่น
องค์ กับบริษัท แอร์โร่มาสเตอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล เพื่อร่วมทุนในบริษัท
แอร์โร่มาสเตอร์ อินดัสตรีส์ จำกัด เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2538 นับเป็นก้าวรุกสำคัญก้าวที่
2 ในไทยของยอร์ค อินเตอร์เนชั่นแนล ผู้ผลิตเครื่องปรับอากาศรายใหญ่ของโลก
(นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2538)
วัดอุณหภูมิ "หุ้นทางด่วน-รถไฟฟ้า" ยังไม่รู้ปหมู่หรือจ่า
ปัจจัยหลักที่จะทำให้การเข้ามาระดมทุนของโครงการทางด่วน และขนส่งมวลชน ไม่เป็นไปตามที่หวังก็คือ สถานะและความมั่นคงของโครงการนั้น ซึ่งรวมถึงอัตราเสี่ยงที่การเมืองจะเข้ามาแทรกแซงทำให้โครงการต้องมีอันผันแปร หรือล้มเลิกไป นอกจากนั้นประสิทธิภาพในการบริหารโครงการเพื่อให้ได้รายได้มากที่สุด ก็เป็นอีกความห่วงใยของนักลงทุนที่หวังจะเข้ามาหาเม็ดเงินจากหุ้นโครงการนั้นๆ
(นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2538)
ไนเน็กซ์-ซีพี ต่างที่มาแต่เป้าหมายเดียวกัน
"การดำเนินงานที่ประสบความสำเร็จของไนเน็กซ์กับกลุ่มซีพีในเมืองไทย
ซึ่งร่วมกันพัฒนาสร้างโครงข่ายสื่อสารขนาดใหญ่ที่จะมีบริการเสริมหลากหลายรูปแบบ
ด้วยเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นมาล่าสุด เป็นตัวอย่างที่ดีของความสัมพันธ์ที่เราต้องการขยายความร่วมมือในลักษณะนี้มากขึ้นในประเทศอื่นๆ"
(นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2538)
กำลังเกิดอะไรขึ้นกับอุตสาหกรรมค้าปลีก
ต้นเดือนเมษายน ธุรกิจค้าปลีกที่กรุงเทพฯ ตื่นขึ้นมารับข่าวการควบกิจการ
cash-carry wholesale store ของสองยักษ์ใหญ่เซ็นทรัลกับโรบินสันด้วยเงินทุนกว่า
500 ล้านบาท โดยผ่านการสวอปหุ้นบริษัทในเครือของทั้งสอง สิ่งที่เกิดขึ้นนี้
นับเป็นครั้งแรกของอุตสาหกรรมค้าปลีกของเมืองไทย ที่กำลังถูกดูดซับเข้าไปอยู่ในวงจรของข้อตกลงของแกตต์
(นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2538)
สถาพร กวิตานนท์ " เมื่อกระแสการค้าโลกบีบรัด บีโอไอ จะเป็นเพียงคนกลาง"
หลังจาก " บีโอไอ แฟร์ 95" งานที่ได้รับความสนใจมากที่สุดและได้รับคำวิพากษ์วิจารณ์มากที่สุดงานหนึ่ง
สถาพร กวิตานนท์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการการลงทุนให้สัมภาษณ์ถึงสิ่งที่เกิดขึ้น
และชี้ชัดถึงบทบาท และทิศทางในอนาคตของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
แน่นอนที่สำหรับงานบีโอไอแฟร์ สถาพรย่อมต้องพอใจ แต่ทำไมเขาจึงรู้สึกเช่นนั้น
(นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2538)
เอ็กซิมแบงก์ประเดิมสาขาแรก-หาดใหญ่
จากที่ได้เปิดบริการวันแรกเมื่อ 1 กุมภาพันธื 2537 ของธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย
(ธสน.) หรือเอ็กซิมแบงก์ ตามนโยบายรัฐบาลที่จะผลักดันให้การส่งออกของประเทศมีความสามารถในการแข่งขันยิ่งขึ้น
ทว่า จากที่มีสำนักงานอยู่ในกรุงเทพฯ ที่เดียวทำให้การบริการเป็นไปอย่างไม่ทั่วถึง
(นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2538)