"ไทยสกายทีวี ท่าดีทีเหลว"
ไทยสกายเริ่มต้นด้วยการสร้างภาพของความยิ่งใหญ่เพราะมี "คีรี กาญจนพาสน์"
เป็นผู้ปลุกปั้นเมื่อ 2-3 ปีที่แล้ว คีรีประสบความสำเร็จและมือขึ้นในด้านธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ธุรกิจเคเบิลทีวีจึงดูยิ่งใหญ่ตามแบบฉบับของเขา ทว่าหนึ่งปีผ่านไปแล้วก็ยังล้มลุกคลุกคลานอยู่ จนน่าเป็นห่วง
(นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2536)
ผลกระทบของรายการข่าววิทยุ 24 ชั่วโมงต่อสื่อหนังสือพิมพ์
งานข่าวด่วน 24 ชั่วโมง ทางสถานีวิทยุกระจายเสียง มีจุดขายอยู่ที่ความรวดเร็ว
ทันต่อเหตุการณ์ สามารถเรียกความนิยมจากประชาชน ได้สูง เนื่องจากปัจจุบันเป็นภาวะที่ในขณะที่หนังสือพิมพ์
แม้จะเสนอข่าวได้อย่างมีรายละเอียดมากกว่า แต่ก็ต้องรอทราบข่าวจากวันรุ่งขึ้น
รายงานข่าวสดทันที ด้วยเวลาอันสั้น จึงเป็นที่นิยมและเกิดมากสถานี
(นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2536)
"จุลจิตต์ บุณยเกตุ มืออาชีพโปร่งใสใน อสมท."
"ผมพร้อมที่จะลาออกจากการเป็นกรรมการในคณะกรรมการชุดนี้" จุลจิตต์
บุณยเกตุ ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการ บริษัท ไทยออยล์กล่าวในการประชุมคณะกรรมการ
องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย (อสมท.) เพื่อแสดงจุดยืนว่า ตนไม่มีส่วนได้เสียเกี่ยวกับผลประโยชน์ใน
อสมท. ใด ๆ ทั้งสิ้น
(นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2535)
"รอยเตอร์ปะทะเทเลอเรท เสือพบสิงห์ในธุรกิจข้อมูล"
เทคโนโลยีได้กลายเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ ที่มิอาจไม่มีไปแล้วในโลกของการสื่อสารอุปกรณ์เครื่องมือที่ไฮเทครุ่นแล้วรุ่นเล่าถูกทยอยตัวเข้ามาเพื่อสร้างความรวดเร็วฉับไวของข่าวสารข้อมูล
(นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2535)
"พฤติกรรมบริโภคข้อมูลของนักธุรกิจ"
นักธุรกิจ 65% มีความต้องการบริโภคข้อมูลและข่าวสารที่รวดเร็ว เพื่อชิงความได้เปรียบในสงครามการค้า
และ 60% ต้องการข้อมูลข่าวสารที่ส่งผ่านทาง FAX"
(นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2535)
"กติกา"
ประเด็นวิจัยจะอยู่ที่การค้นคว้าหาความต้องการข่าวสารและข้อมูลในการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบธุรกิจในอุตสาหกรรมต่าง
ๆ ที่คำนึงถึงความสามารถที่จะซื้อ และความจำเป็นที่จะใช้ข้อมูลข่าวสารเพื่อกำหนดกลุ่มลูกค้าที่จะเป็นเป้าหมายทางการตลาด และความสนใจในการให้หน่วยงานภายนอกจัดทำข้อมูลให้
(นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2535)
"เปิดเสรีภาพทีวี-วิทยุ อันตราย..?"
การชุมนุมต่อต้านนายกรัฐมนตรีที่มาจากคนกลางอย่างพลเอกสุจินดา
คราประยูร ได้กลายเป็นชนวนทำลายความเชื่อถือต่อข่าวทีวี-วิทยุซึ่งเป็นเครื่องมือของรัฐอย่างสิ้นเชิง
ทั้งยังเป็นการหักโค้งครั้งสำคัญของธุรกิจสื่อสารมวลชนของสื่อทีวี-วิทยุ เพราะรัฐบาลหลงเข้าใจผิดว่าสื่อของรัฐคือสื่อของรัฐบาล
(นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2535)
"รัฐกำลังทำลายหลักกฎหมายแพ่งและอิสรภาพของศาล"
ในปัจจุบันนี้สื่อมวลชนได้มีอิทธิพลในทางความคิด และทัศนะคติของประชาชนเป็นอย่างมากไม่ว่าจะเป็นทางหนังสือพิมพ์
โทรทัศน์ หรือสื่อใด ๆ ก็ตามซึ่งอาจทำให้มุมมองของผู้รับสื่อนั้นเปลี่ยนไปในทางบวกหรือลบตามสิ่งที่เสนอ
(นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2535)