สยามสปอร์ต ตักศิลานักข่าวกีฬาไทย
บทบาทของสยามสปอร์ตกำลังขยายตัวยื่นล้ำ เข้าไปสู่สื่อวิทยุโทรทัศน์อย่างต่อเนื่อง
และทำให้สยามสปอร์ตมีฐานะเป็นเสมือนแหล่งสร้างผู้บรรยายกีฬา ที่มีโครงข่ายกว้างขวางและครอบคลุมประเภทกีฬามากที่สุดของประเทศไทย
ซึ่งเป็นผลมาจากการสั่งสมประสบการณ์จากกระบวนการผลิต และกลไกการดำเนินงานในสื่อสิ่งพิมพ์กีฬาของสยามสปอร์ตเอง
ที่ ณ วันนี้มีฐานะไม่แตกต่างกับสถาบันฝึกวิชาชีพ ที่เต็มเปี่ยมไปด้วยฐานข้อมูลชั้นดีนั่นเอง
(นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2543)
หนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่ง
"หนังสือพิมพ์วันนี้ "แตะต้อง" กันมากขึ้น
ปรากฏการณ์หนังสือพิมพ์ฉบับต่างๆรายงานที่เกี่ยวข้องกับผู้ประกอบการหนังสือพิมพ์
อย่างต่อเนื่องในช่วงหลังๆ มานี้ และดูจะเข้มข้นขึ้นเป็นลำดับ นับเป็นพัฒนาการที่ก้าวหน้ามากทีเดียว
ในเชิงพัฒนาการสังคมไทย…"
(นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2543)
City of Headquater (2) : Publishing
New York Times และ Wall Street Journal มีฐานอยู่ในนิวยอร์ก เมืองที่มีหนังสือพิมพ์
นิตยสาร และสำนักพิมพ์ ซึ่งขายสิ่งพิมพ์ไปทั่วโลกอยู่เป็นจำนวนมาก ดังที่เคยเกริ่นไว้ในฉบับก่อน
และตอนนี้จะขยายความในรายละเอียดของแต่ละกลุ่มบริษัทเจ้าตลาดในธุรกิจสิ่งพิมพ์ของที่นี่
เ ริ่มจาก Advance Publication หนึ่งในกลุ่มสื่อสารมวลชนใหญ่ที่สุดของอเมริกา …
(นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2543)
Internet newspaper
หนังสือพิมพ์กำลังเผชิญหน้ากับการท้าทายครั้งใหญ่ จากยุคอินเทอร์เน็ต
ทั้งผู้ประกอบการและตัวทีมงานในกองบรรณาธิการ
ผู้ประกอบการมองว่า สื่ออินเทอร์เน็ต มาแรงจะเข้ามาแทนที่
ซึ่งจะทำให้สื่อสิ่งพิมพ์ตายไป ขณะที่นักข่าวมองว่าประสบการณ์ของพวกเขาและเธอในกองบรรณาธิการ
จะใช้ไม่ได้ในยุคใหม่นี้
ผมเสนอในครั้งนั้นว่า ผู้ประกอบการที่ฉลาด ไม่ควรละทิ้งธุรกิจในสื่อเก่าไปสู่สื่อใหม่ทันที
หากควรสร้าง"สะพาน" เชื่อมระหว่างสื่อสิ่งพิมพ์กับอินเทอร์เน็ตอย่างกลมกลืน
(นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2543)
ปิดฉากบรรณวิทย์ บุญญรัตน์ ไม่มีที่ว่างของเขาอีกต่อไป
บรรณวิทย์ บุญญรัตน์ และสยามมีเดีย แอนด์ คอมมิวนิเคชั่น เป็นกรณีศึกษาที่มักถูกหยิบยกมาเสมอ
กับความล้มเหลว ที่เกิดขึ้นจากการขยายอาณาจักรธุรกิจเกินตัวบทสรุปของการบริหารงานที่ผิดพลาดในครั้งนั้นก็คือ
การลบชื่อของบรรณวิทย์ออกจากกิจการของสยามมีเดียฯ ทุกตำแหน่ง
เพราะนี่คือบาดแผลของแบงก์ไทยพาณิชย์ ที่ต้องเช็ดให้สะอาด
(นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2542)
โลกใหม่ธุรกิจข่าว
ไม่นานหลังจากเปิดตัว MSNBC ผู้ให้บริการข่าวทางเคเบิลทีวีร่วมกับไมโครซอฟท์ในปี
1996 NBC จัดแจงโยกย้ายหน่วยปฏิบัติงานทำข่าวออก จากร็อกกีเฟลเลอร์ พลาซา ไปยังนิคมอุตสาหกรรมแห่งหนึ่งในรัฐนิวเจอร์ซี
ห้องข่าวแห่งใหม่ออกแบบให้เริ่ดไปด้วย เทคโนโลยีอวกาศ โต๊ะผู้อ่านข่าวเป็นแบบหมุนได้
หลังคาทรงโค้งติดตั้งจอภาพไว้ด้านหลัง รองรับภาพฉายจากเครื่องโปรเจ็กเตอร์
(นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2541)
"ปรับโฉม MANAGER เสนอแนว "คู่มือเผชิญชีวิตกรุงเทพฯ"
หลังจากออกวางตลาดมาได้ 99 ฉบับแล้วนั้น Manager ซึ่งเป็นนิตยสารภาษาอังกฤษรายเดือนในเครือผู้จัดการก็จะปรับโฉมใหม่
ซึ่งครั้งนี้ฟังแนวคิดการปรับตัวแล้ว ฮือฮาไม่น้อย!
พันศักดิ์ วิญญรัตน์ บรรณาธิการบริหาร Asia Times และ Manager เปิดเผยกับ
"ผู้จัดการรายเดือน" ว่า "แนวหนังสือที่ปรับไปนั้น เน้นกลุ่มผู้อ่านที่เป็นนักธุรกิจและคนทำงานในกรุงเทพฯ
ไม่ว่าผู้หญิงหรือผู้ชาย
(นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2540)
เคเบิลทีวีข้ามชาติ ยุทธการซื้ออนาคตอีกครั้งของสหวิริยา
>"เราพูดถึงเคเบิลทีวี เราไม่ได้หมายถึงค่าสมาชิก 56 ดอยช์มาร์ก แต่สิ่งที่เราอยากได้
คือ สื่อ เพราะเคเบิลทีวีเป็นสื่อชนิดหนึ่งที่อนาคตอาจจะกายเป็นไดเร็กต์เมล์
ให้นักธุรกิจของไทย และนักธุรกิจต่างชาติมาเจอกัน" แจ็ค มิน อิงค์ธเนศ
ประธานกรรมการบริหาร บริษัท สหวิริยา โอเอ กล่าวในงานเปิดตัวบริษัทไทยเวฟ
อินเตอร์เนชั่นแนล บรอดคาสติ้ง จำกัด
(นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2539)
วัฏจักรกรุ๊ป วิสัยทัศน์หรือ "ความฝัน"
การรุกเข้าสู่ธุรกิจมีเดียเมื่อ 3-4 ปีที่ผ่านมาของกลุ่มวัฏจักร ทำกำไรมหาศาลให้กับ
"นิกร พรสาธิต"เพราะราคาหุ้นวัฏจักรพุ่งลิ่ว ๆ เสียหลายรอบ
(นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2539)
มีเดียพลัส-ไทยสกายทีวี เกมนี้ยังเหนื่อยอีกนาน
มีเดียพลัสและไทยสกายเคเบิลทีวี คือ 2 สื่อที่เครือวัฏจักรกรุ๊ปเข้าไปซื้อกิจการเพื่อหวังขยับขยายบทบาทจากสื่อสิ่งพิมพ์ไปในสู่สื่อวิทยุและโทรทัศน์
ในการใช้ประโยชน์จากข้อมูลข่าวสารที่มีอยู่กระจายไปตามสื่อต่าง ๆ ให้ครบวงจร
(นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2539)