"คนเราไม่ได้เก่งไปทุกอย่าง" ยุทธศาสตร์พันธมิตรธุรกิจ
แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ ในปีที่ 10 ของการก่อตั้ง ไม่ใช่เป็นบริษัทสร้างและขายบ้านพร้อมที่ดินเพียงอย่างเดียวแล้ว
หากแต่เป็นกลุ่มธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่ครบวงจร ตั้งแต่โครงการที่อยู่อาศัยในรูปของบ้านเดี่ยว
ทาวเฮ้าส์ คอนโดมิเนียม โครงการอาคารสำนักงาน เซอร์วิส อพาร์เม้นท์และรับสร้างบ้าน
ซึ่งดำเนินการในนามของบริษัทควลลิตี้ เฮ้าส์และสยามพาณิชย์พัฒนาอุตสาหกรรม
โครงการศูนย์การค้าดิโอลด์ สยามพลาซ่า และแฟชั่นไอส์แลนด์
(นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2536)
"คนขายตึก" ใครใหญ่ใครอยู่
ริชาร์ด เอลลิส โจนส์ แลงก์ วูธทัน และเชสเตอร์ตันคือบริษัทบริหารงานขายโครงการอสังหาริมทรัพย์ข้ามชาติ
ที่กำลังทำสงครามชิงความเป็นหนึ่งของวงการบริหารงานขายในเมืองไทยขณะนี้ ในยุคที่ซัพพลายมีมากกว่าดีมานด์ตลาดเป็นของผู้ซื้อ
ธุรกิจที่ปรึกษาการตลาด การขายนอกจากจะต้องแข่งกันเอง เพื่อชิงโครงการดี
ๆ มาไว้ในมือแล้ว ยังต้องงัดกลยุทธ์ทุกรูปแบบออกมาเล่นกับตลาด เพื่อหาลูกค้ามาซื้อพื้นที่ให้ได้มากที่สุด
(นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2536)
"ใครๆ ก็เรียกผม "เสี่ยฮับ" จากช่างประตู สู่นักพัฒนาที่ดิน"
ชายจีนร่างอ้วนใหญ่ที่พูดน้อยแต่มีลักษณะทรงอำนาจ ท่ามกลางหมู่ผู้ถือหุ้นของบริษัทจตุรมิตรแลนด์
ที่ทำโครงการ "เดอะ เรสซิเด้นท์ปาร์ค" คนๆ นี้คือ "เสียมทอง
หวังเจริญทรัพย์" ที่สร้างตัวเองจากช่างประตูไม้สู่ฐานะเศรษฐีในชั่วอายุคนหนึ่ง
(นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2536)
"สีลม พรีเชียสทาวเวอร์ หยุดไม่ได้ แต่จะไปทางไหน ?"
เหมือนสายฟ้าฟาด !! กลางความรู้สึกของผู้คนในแวดวงเรียลเอสเตท เมื่อรังสรรค์
ต่อสุวรรณ นายกสมาคมการค้าอาคารชุดเจ้าของโครงการที่อยู่อาศัยหลายโครงการถูกข้อหา
จ้างวานฆ่าประธานศาลฎีกา และไม่ว่าคำ "พิพากษา" จะออกมาเช่นไร
ณ วันนี้ รังสรรค์ สูญสิ้นชื่อเสียงหมดแล้วทางด้านการทำธุรกิจที่ดิน
(นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2536)
"สุนทร โภคาชัยพัฒน์ นักกฎหมายผู้ข้ามวงการ"
เมื่อปี 2532 "ผู้จัดการ" เคยเขียนถึงสุนทร โภคาชัยพัฒน์ ในฐานะนักกฎหมายที่น่าสนใจมาก
ๆ เนื่องจากเขาเป็นทนายความที่มีชื่อปรากฏอยู่ในหลาย ๆ บริษัทในฐานะ "ที่ปรึกษากฎหมาย"
ในหลาย ๆ วงการ ทั้งการเงิน อุตสาหกรรม
(นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2536)
บ้านปลอดดอกเบี้ยลูกเล่นบางกอกแลนด์
ในยุทธจักร นักพัฒนา ที่ดินของไทย อนันต์ กาญจนพาสต์ คนโตแห่งค่ายบางกอกแลนด์
ดูจะเป็นคนที่มีแนวคิดและการทำธุรกิจทีล่ำหน้า คนหนึ่งของวงการ โครงการต่าง
ๆ ที่ออกมาจากหนึ่งสมอง สองมือของเขา ดูจะไม่ธรรมดา
(นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2536)
ทัพเรียลเอสเตทไทยบุกจีน... บทพิสูจน์ CONNECTION
การเข้าไปลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์ของนักธุรกิจไทยในเมืองจีนวันนี้ ไม่ใช่เรื่องใหม่แล้ว แต่กลยุทธ์การเข้าไปเพื่อให้ได้มาซึ่งใบอนุญาตของพวกเขาเป็นเรื่องที่ควรศึกษา กลุ่มสมประสงค์ เอ็มไทย ซีพีและกาญจนพาสน์ต่างใช้สายสัมพันธ์ที่มีอยู่อย่างลึกซึ้งยาวนานกับเจ้าหน้าที่รัฐจีน รวมทั้งฐานธุรกิจ ในฮ่องกง เป็นสะพานทอดสู่การลงทุน นี่คือกลยุทธ์ในการลงทุนของทัพเรียลเอสเตทไทยในจีน
(นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2535)
เปิดขุมทรัพย์ที่ดินสนง.ทรัพย์สินฯ
ปัจจุบันสำนักงานทรัพย์สิน ฯ มีที่ดินในเขตกรุงเทพมหานครจำนวนไม่ต่ำกว่า 1,060,000 ตารางวา หรือ 2,650 ไร่ โดยที่ดินผืนใหญ่ที่สุด 300 ไร่อยู่บริเวณหลังวัดพระยาไกร บางรักนอกนั้น เป็นที่ดินประมาณ 10 ไร่ขึ้นไปในย่านธุรกิจการค้าเป็นส่วนใหญ่
(นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2535)
“อาคารบ้านเรือนครั้งที่ 11” งานสำหรับคนอยากมีบ้านอีกครั้ง
“บ้านคือวิมานของเรา” คำ ๆ นี้จะยังคงมีความหมายอยู่เสมอของมนุษย์ และสำหรับผู้ที่กำลังมองหาที่อยู่อาศัยคงไม่พลาดกับงาน “อาคารบ้านเรือน ครั้งที่ 11” ที่ผ่านมา จัดโดยบริษัทไทยเทรดแฟร์ซึ่งนับว่าเป็นการชุมนุมครั้งที่สำคัญอย่างพร้อมหน้าพร้อมตาของวงการอสังหาริมทรัพย์ในเมืองไทยทั้งโครงการบ้านจัดสรร โครงการคอนโดมิเนียมและอาคารสำนักงาน สวนเกษตร อาทิ ศุภาลัยบุรี มอนเทอร์เรย์ทาวเวอร์ สวนริมธารและบ้านเก็จนภา
(นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2535)
"มีแต่นายหน้า ยังไม่มี ESCROW"
เมื่อไม่นานมานี้ มีข่าวที่ค่อนข้างเป็นเรื่องใหม่ในวงการธุรกิจบ้านจัดสรรบ้านเราขึ้นนั่นคือ
ข่าวที่มีผู้ประกอบการธุรกิจเรียลเอสเตทในรูปของ "โบรกเกอร์" ร่วมกันจัดตั้งชมรมกันขึ้นมา
เพื่อทำหน้าที่เป็นศูนย์รวมที่จะแก้ปัญหาเรื่องการซื้อขายบ้านของผู้บริโภค
(นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2535)