"เวฟ ดิเวลลอปเมนท์ คลื่นเรียลเอสเตทจากเซ็นทรัล"
สุทธิพงษ์ จิราธิวัฒน์หนุ่มวัย 35 ปี เป็นลูกชายคนที่ 12 ของเตียง จิราธิวัฒน์แห่งเซ็นทรัล
เขาเคยรับตำแหน่งผู้อำนวยการโครงการของบริษัทเซ็นทรัล อินเตอร์เนชั่นแนลดีเวลลอปเม้นท์
ตั้งแต่ พ.ศ. 2530-2534 แต่ก่อนหน้านั้นหลังสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีทางด้านการเงินจากมหาวิทยาลัยเซ็นต์จอห์น
และได้เริ่มงานครั้งแรกกับธนาคารแห่งอเมริกา ในตำแหน่งเจ้าหน้าที่วิเคราะห์การเงินและเจ้าหน้าที่ฝ่ายสินเชื่อ
(นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2537)
"ธุรกิจสร้างคฤหาสน์เศรษฐีมากด้วยกลยุทธ์ ยาวด้วยสายป่าน"
ธุรกิจสร้างบ้านระดับบน ไม่เหมือนเดินบนปุยนุ่นอย่างที่บางคนคาดคิดไว้ ใครที่จะอยู่ในธุรกิจนี้ได้ นอกจากต้องระดมสมองหากลยุทธ์แปลก ๆ มาปลุกตลาดตลอดเวลา และมีสายป่านยาวที่จะให้บริการลูกค้าได้อย่างต่อเนื่องแล้ว น้ำอดน้ำทนเป็นเรื่องสำคัญทีเดียว
(นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2537)
"มหิศรเรียลเอสเตท ค่ายใบโพธิ์"
ณ…วันนี้บริษัทมหิศร จำกัด อาจจะยังไม่เป็นที่คุ้นเคยของผู้ที่อยู่ในแวดวงธุรกิจอสังหาริมทรัพย์
แต่ในเร็วๆ นี้ชื่อนี้จะเป็นที่รู้จักกันทั่วไป บริษัทมหิศร จำกัด เป็นบริษัทพัฒนาที่ดินในเครือของธนาคารไทยพาณิชย์ มี
ดร. โอฬาร ไชยประวัติ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์ และประธานบริษัทแลนด์แอนด์เฮ้าส์
บริษัทพัฒนาที่ดินยักษ์ใหญ่ มานั่งในตำแหน่งประธานกรรมการบริษัทด้วย
(นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2536)
"ภัทรประสิทธิ์ในยุทธจักรเรียลเอสเตท"
ตระกูลภัทรประสิทธิ์นั้นสร้างเนื้อสร้างตัวมาจากกิจการโรงเหล้าโดยแท้ มีรากฐานอยู่ในจังหวัดพิจิตร
และ นครสวรรค์ จากโรงเหล้าท้องถิ่นธรรมดาก็ไต่เต้าขึ้นไปเป็นโรงเหล้าระดับมาตรฐานที่เชียงใหม่ใช้ชื่อว่า
"ภัทรล้านนา" หรือที่ขอนแก่นก็ใช้ชื่อว่า "ภัทรเกรียงไกร"
(นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2536)
"รัตนการเคหะ การกลับมาอีกครั้งของ ดร. ไวท์"
ภาพพจน์ของรัตนเคหะหรืออาร์ อาร์ วันนี้ต่ำกว่าศูนย์มีหนี้สินที่ต้องชำระไม่ต่ำกว่า
500 ล้านบาท ในขณะที่โครงการตรงตลาดเฉลิมโลกซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของ แผนการฟื้นฟู
เพื่อให้ได้มาซึ่งเม็ดเงินไปสูบฉีดโครงการพัฒนาที่ดินอื่น ๆ ให้เดินหน้าต่อไปได้นั้นต้องใช้เงินไม่ต่ำกว่า
1,600 ล้านบาท
(นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2536)
"วันที่รอคอยของเอ็มไทย"
ในที่สุดกลุ่มเอ็มไทยก็ได้ฤกษ์ทำโครงการในที่ดินแปลงประวัติศาสตร์ บนถนนวิทยุใกล้กับสถานฑูตอเมริกาหลังจากรอคอยมาด้วยความอดทนเกือบ4 ปีเต็มท่ามกลางคำถามต่างๆ ที่เกิดขึ้นมากมายว่า ทำไมถึงได้ยอมประมูลที่ดินซึ่งราคาสูงเกือบ
2,000 ล้านบาท แล้วทิ้งไว้โดยไม่ลงมือทำอะไรเลยนานถึงขนาดนั้น ?
(นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2536)
"เดชา ครุฑทิน นายช่างนักขาย"
เดชา ครุฑทิน สวมหมวกสองในในเครือสุมิโตโม คอนสตรัคชั่น ยักษ์ใหญ่ด้านก่อสร้างของญี่ปุ่น ซึ่งนอกจากจะเข้ามารับงานก่อสร้างขนาดใหญ่ในไทยแล้ว ยังได้ลงทุนในเรื่องของการพัฒนาที่ดินด้วยหมวกใบแรกของเขาคือ ผู้อำนวยการฝ่ายก่อสร้างบริษัทสุมิโตโม คอนสตรัคชัน ใบที่สองคือ ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมการขาย บริษัทสุมิโกพัฒนาการ บริษัทในเครือสุมิโตโม ซึ่งตั้งขึ้นมาเพื่อทำโครงการหมู่บ้านจัดสรรราคาแพง "เลคไซด์วิลล่า"
(นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2536)
"ธำรง ปัญญาสกุลวงศ์ เจ้าพ่อคอนโดฯ รังหนู"
ธำรง ปัญญาสกุลวงศ์ ไม่ได้เกิดจากกองเงินกองทอง ไม่ได้จบศาสตร์ด้านการบริหารในสถาบันที่มีชื่อเสียงจากต่างประเทศ มีเพียงวุฒิบัตรครูสอบภาษาจีนติดตัวเท่านั้น แต่….ผลงานของเขากำลังเป็นที่สนใจของบุคคลในแวดวงอสังหาริมทรัพย์ เพราะการบริหารงานแบบเถ้าแก่ประเภททำคนเดียวนั้น กำลังได้รับการพิสูจน์ว่า หากผู้นำ มีสมองที่ไม่หยุดนิ่งอยู่กับที่ บริษัทก็ไม่มีวันตาย
ไม่ว่าสงครามทางด้านการตลาดจะรุนแรงแค่ไหน
(นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2536)
"ความแปลกใหม่ จุดขายของโนเบิลกรุ๊ป"
กิตติ ธนากิจอำนวยกรรมการ ผู้จัดการโนเบิลโฮลดิ้ง จำกัด เป็นอีกคนหนึ่งที่สามารถฝ่าคลื่นลมของธุรกิจพัฒนาที่ดินมายืนผงาดในสมรภูมิการแข่งขันได้ในวันนี้ในขณะที่หลาย ๆ คนอาจจะเหนื่อยล้าและและรามือไปบ้างแล้ว บางคนบอกว่าเขายังยืนหยัดอยู่ได้เพราะได้เม็ดเงินช่วยเหลืออย่างต่อเนื่องจากอำนวย วีรวรรณ ผู้เป็นพ่อตาแต่หลายคนก็มองว่าเป็นเพราะ "กึ๋น" ของเขาเองด้วย
(นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2536)
"แลนด์แอนด์เฮ้าส์ จะใหญ่ไปอีกนานแค่ไหน ?"
ฝันร้ายของนักพัฒนาที่ดินเคยเกิดขึ้นเมื่อปี 2526 จากมาตรการจำกัดสินเชื่อ
18% และลดค่าเงินบาท มันได้สร้างความเจ็บปวดให้เกิดขึ้นกับนักธุรกิจถ้วนหน้าจนกระทั่งปี
2530-2533 เศรษฐกิจของเมืองไทยได้ฟูเฟื่องขึ้นมาอีกครั้ง ธุรกิจการก่อสร้างที่อยู่อาศัยบูมสุดขีดในห้วงเวลานั้น
แต่เป็นยุคทองที่กอบโกยกำไรได้สั้นเหลือเกิน หลังเกิดสงครามอ่าวเปอร์เซีย
ปี 2534 เศรษฐกิจภายในประเทศไทยถดถอยลงอย่างต่อเนื่องนักธุรกิจหลายรายที่ตั้งรับไม่ทันต้องเจ็บปวดซ้ำสอง
(นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2536)