อภิสิทธิ์ งามอัจฉริยะกุล เจ้าถิ่นย่านรามอินทราที่ชีวิตเริ่มต้นมาจาก "ศูนย์"
อภิสิทธิ์ งามอัจฉริยะกุล อยู่ในวงการพัฒนาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์มาเป็นเวลา 15 ปี จากการทำโครงการเพื่อกลุ่มลูกค้าผู้มีรายได้ปานกลาง ชื่อเสียงของอภิสิทธิ์เริ่มเป็นที่รู้จักในวงการนักพัฒนาที่ดินจากการที่เขาสามารถขายบ้านได้ในปริมาณเท่าๆ กับบริษัทพัฒนาที่ดินรายใหญ่ๆ ที่จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
(นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2540)
สินค้าร้อนๆ ในมือ ทศพงศ์ จารุทวี
ทศพงศ์ จารุทวี กรรมการผู้จัดการบริษัทแนเชอรัล พาร์ค จำกัด (มหาชน) เคยสร้างความฮือฮาให้เกิดขึ้นในวงการอสังหาริมทรัพย์ในเมืองไทย
เมื่อเข้าไปเสนอซื้อหุ้นใหญ่ในโครงการทางรถไฟและทางด่วนยกระดับโฮปเวลล์การได้ใช้ประโยชน์ในที่ดินตลอด
2 ข้างทางรถไฟระยะทางยาวประมาณ 60.1 ก.ม. จำนวนประมาณ 600 ไร่ โดยที่หลายแปลงเป็นที่ดินซึ่งอยู่ในย่านใจกลางเมืองนั้นคือจุดสำคัญในการตัดสินใจของเขา
(นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2540)
บางกอกแลนด์กับสมประสงค์กรุ๊ปต้องเร่งสร้างศรัทธาครั้งใหม่
ประสงค์ พานิชภักดี กรรมการผู้จัดการบริษัทสมประสงค์แลนด์จำกัด (มหาชน)
กับอนันต์ กาญจนพาสน์ กรรมการผู้จัดการบริษัทบางกอกแลนด์ จำกัด (มหาชน) มีอะไรที่เหมือน
ๆ กันหลายอย่าง เริ่มตั้งแต่เกิดในไทย แต่ไปโตและใช้ชีวิตส่วนใหญ่ที่ฮ่องกงเมื่อลอดลายมักรจากเกาะฮ่องกงมาลงทุนที่เมืองไทย
(นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2539)
สถานีกรุงเทพฯ งานใหม่ ที่ท้าทายของเลื่อน กฤษณกรี
ออกจากตำแหน่งผู้ว่าการการปิโตจรเลียมแห่งประเทศไทยเมื่อเดือนกรกฎาคม 2538
เลื่อน กฤษณกรี ก็มารับงานใหญ่ที่ท้าทาย ในบริษัทซันเอสเตทซึ่งเป็นบริษัทหนึ่งในเครือทานตะวันต่อทันทีในตำแหน่งประธานกรรมการบริหาร
(นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2539)
การบริการหลังการขาย สูตรความสำเร็จที่แท้จริงของแลนด์แอนด์เฮ้าส์
สิ้นสุดไตรมาส 2 ของปี 2539 บริษัท แลนด์แอนด์เฮ้าส์ จำกัด ( มหาชน ) ก็ยังเป็นผู้นำทางด้านการทำรายได้
และสร้างยอดขายในกลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ โดยมีรายได้รวม 2,692 ล้านบาท
กำไรสุทธิประมาณ 608 ล้านบาท ซึ่งสูงกว่าช่วงเวลาเดียวกันในปี 2538 ไม่มากนัก
และในสถานการณ์อย่างนี้การทำตัวเลขกำไรให้สูงเท่าปีที่แล้วซึ่งมีกำไรสุทธิถึง
2,000 ล้านนับเป็นเรื่องยาก
(นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2539)
บ้านสวนฉัตรบางพลัด หยุดสร้างอีกแล้ว
เป็นที่รู้กันว่าโครงการที่อยู่อาศัยซึ่งปะยี่ห้อ "หนึ่งในโครงการของรังสรรค์ ต่อสุวรรณ" นั้น ต้องเป็นโครงการที่สวยหรูและราคาแพง แต่เมื่อปี 2536 รังสรรค์ได้ลงมาจับตลาดล่างเป็นครั้งแรกในราคายูนิตละ 5 แสนบาทขึ้นไป สาเหตุที่ต้องลดเพดานบินครั้งนั้น เป็นเพราะตลาดที่อยู่อาศัยราคาแพงเริ่มอิ่มตัว ตลาดของผู้มีรายได้น้อยถึงปานกลางเป็นเป้าหมายใหม่ของรังสรรค์และผู้ประกอบการคนอื่น ๆ
(นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2539)
หุ้น SILI กับบทพิสูจน์ "กึ๋น" ครั้งใหม่ของเศรษฐา ทวีสิน
บริษัทแสนศิริ จำกัด (มหาชน) เป็นหุ้นอสังหาริมทรัพย์ตัวสุดท้ายที่เข้าไปซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์เมื่อเดือนกรกฏาคมที่ผ่านมา และก็ยิ่งตอกย้ำให้เห็นถึงภาวะตกต่ำของธุรกิจที่ดิน จากราคาจอง 63 บาทปิดราคาซื้อขายจริงวันแรก 64 บาทสูงกว่าราคาจองเพียง 1 บาท เรียกว่าลุ้นกันแทบหืดขึ้นคอ
(นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2539)
เวทีนี้ของ อนันต์ อัศวโภคิน ที่นายกฯ บรรหารรับคะแนนไปเต็ม ๆ
เมื่อกลางเดือนกรกฎาคม 2539 ที่ผ่านมานั้น กรมที่ดิน กระทรวงมหาดไทยได้จัดงานสัมมนา
เรื่อง "ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์กับเศรษฐกิจ" ขึ้นที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
และนับเป็นครั้งแรกในรอบหลายปีนี้ที่มีผู้มาร่วมงานสัมมนากันอย่างคับคั่งกว่า
1,000 คน และอยู่กันตลอดเวาจนถึงงานเลิกเป็นส่วนใหญ่
(นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2539)