"L & H เดินเกมการเงินล้ำลึก"
แลนด์แอนด์เฮ้าส์ยอมประกาศขาดทุนในครึ่งปีแรกถึง 1,800 ล้านบาท ด้วยเหตุผลทางการเงินที่น่าสนใจ
เป็นเกมการเงินที่ล้ำลึกจนค่ายอื่นเดินตามไม่ทัน ฐานเดิมของบริษัทที่แข็งแกร่งทำให้อนันต์
อัศวโภคิน สามารถยืนหยัดและนำพาบริษัทฟันฝ่าไปได้อีกครั้ง ในขณะที่ภาพรวมของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์นั้น
ผู้ประกอบการต่างเจอกับปัญหาขาดสภาพคล่องอย่างรุนแรงจนมองไม่เห็นทางออก และหลายรายกำลังเริ่มนับถอยหลัง
(นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2540)
"ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ตัวใคร ตัวมัน"
"ผมเชื่อว่าโฆษณาทุกอย่างตอนนี้ไม่มีผลตอบรับเลย ไม่ได้ผลไม่ว่าจะใช้กลยุทธ์เด็ดขนาดไหนก็ตาม"
ผู้ประกอบการหลายรายให้ความเห็นกับ "ผู้จัดการรายเดือน"
เหตุผลที่สำคัญเป็นเพราะกำลังซื้อที่ถดถอยไปอย่างรุนแรง จากภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำแบบฉับพลัน
ทำให้กลุ่มลูกค้าจำนวนมากมีความเสี่ยงกับการตกงานมากขึ้น รายได้ที่ได้รับอยู่เป็นประจำหดหาย
(นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2540)
"ขาดเงินกู้ระยะยาว"
แทนไท เป็นพนักงานระดับบริหารของบริษัทเอกชนบริษัทหนึ่ง ในวัย 30 ตอนปลาย
รายได้ของเขาที่มีอัตราเพิ่มขึ้นมาตลอดในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมานั้น ทำให้เขาต้องการซื้อบ้านใหม่แทนบ้านหลังเดิมที่เป็นแบบทาวน์เฮาส์เพียง 20 ตารางวาหลังเล็กๆ เขาตัดสินใจซื้อบ้านหลังใหม่เนื้อที่ 60 ตารางวาราคาประมาณ 3 ล้านบาทเมื่อกลางปีที่ผ่านมา ในย่านชานเมืองแห่งหนึ่งในจังหวัดนนทบุรี
(นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2540)
"จับตาเจริญ ในธุรกิจอสังหาฯ เขาจะรอดได้อย่างไร?"
นักซื้อกิจการที่เป็นที่รู้จักหลายคนเช่น สุระ จันทร์ศรีชวาลา, ปิ่น จักกะพาก
และวินัย พงศธร ทุกคนมีวิธีการซื้อกิจการที่ค่อนข้างพิลึกพิลั่นแตกต่างกัน
และประสบความสำเร็จอย่างมากในช่วงเวลาหนึ่งที่จะประสบปัญหากลายเป็นกิ้งกือหกคะเมนในวันนี้
(นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2540)
บริษัทรับสร้างบ้าน บนเส้นทางสู่ปี 2540
ธุรกิจรับสร้างบ้าน เคยบูมสุดๆ พร้อมกับธุรกิจอื่นๆ เมื่อสมัยยุคทองของอสังหาริมทรัพย์
คราวนั้นบรรดานักลงทุนที่รวยหุ้นจากการเป็นนายหน้าขายที่ดินหรือ รวยจากการซื้ออสังหาริมทรัพย์ไว้เก็งกำไรต่างต้องการสร้างบ้านเองที่สวยงามหรูหราไม่ซ้ำแบบใครกันทั้งนั้น
เมื่อเป็นธุรกิจที่ใช้เงินลงทุนต่ำและการดำเนินงานไม่ยุ่งยากมากนัก ธุรกิจรับสร้างบ้านจึงผุดโผล่กันอย่างมากมายในปี
2531-2533 โดยมีการขยายตัวสูงถึงปีละ 25%
(นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2540)
ปิดตาย !!ตลาดอาคารสูง
ในไตรมาสแรกของปี 2540 มีรายงานสภาวะของอาคารสำนักงาน คอนโดที่อยู่อาศัย
และเซอร์วิสอพาร์ตเมนต์ในกรุงเทพฯ ที่น่าสนใจอยู่ 2 ชิ้น ซึ่งทำโดยบริษัทริชาร์ด
เอลลิส และบริษัท โจนส์ แลง วูธทั่น 2 บริษัทที่ปรึกษาทางด้านธุรกิจที่อยู่อาศัยชั้นนำของเมืองไทย
ตัวเลขของสองบริษัทนั้นไม่ได้ตรงกันเลยทีเดียว เพราะใช้วิธีในการจัดเก็บที่แตกต่างกัน
แต่ก็สามารถทำให้ประเมินถึงปัญหาที่เกิดขึ้นได้ในเมื่อพื้นที่ของโครงการแต่ละประเภทเพิ่มขึ้นอย่างน่ากลัว
(นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2540)
จุฬาไฮเทคหยุดการก่อสร้างรอผู้ชี้ชะตาใหม่
หลังจากสำนักงานทรัพย์สินจุฬาลงการณ์มหาวิทยาลัย ได้พิถีพิถันกับการคัดเลือกผู้มาดำเนินการโครงการจุฬาไฮเทค
สแควร์ ซึ่งเป็นโครงการนำร่องการจัดผลประโยชน์จากที่ดินของจุฬามานานหลายปี
จนพูดได้ว่าผ่านยุคทองไปอย่างน่าเสียดาย แต่ในที่สุดก็ได้บริษัทสยามเทคโนซิตี้
เป็นผู้ก่อสร้างและได้เปิดตัวบริษัทบริหารการขาย คือบริษัทเชสเตอร์ตันไทย
และบริษัทไทยชิมิสึเป็นผู้รับเหมาก่อสร้าง อย่างเป็นทางการเมื่อต้นปี 2539
(นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2540)
สายป่านยาวอยู่รอด !?
ความตกต่ำของตลาดอสังหาริมทรัพย์เป็นตัวจุดประกายเริ่มแรกของวิกฤติความซบเซาทางเศรษฐกิจในรอบนี้
ซึ่งความรุนแรงไม่เพียงแต่แสดงออกทางภาวะตลาดหลักทรัพย์ที่ตกต่ำลงอย่างรุนแรงและต่อเนื่องเท่านั้น
แต่ยังพาให้บริษัทไฟแนนซ์ และสถาบันการเงินต่างๆ ประสบปัญหาไปด้วย และในตอนนี้ปัญหาก็ลุกลามมากขึ้น
จนอาจกล่าวได้ว่ากระทบมาถึงบริษัทต่างๆ จำนวนมากและพนักงานในบริษัทเหล่านั้น
กลายเป็นปัญหาระดับชาติที่จู่โจมเสถียรภาพของรัฐบาลและความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจไทยอย่างหนัก
(นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2540)
อบส. - ต้นแบบ FREDDIE MAC ในไทย
มีผู้สงสัยว่าองค์การบริหารสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ หรือ อบส. นี้ในอนาคตจะเป็นเช่นไร
ผู้ที่มีความรู้เรื่องตลาดอสังหาริมทรัพย์ในต่างประเทศคงทราบดีว่าภาวะซบเซาเช่นนี้ย่อมเกิดขึ้นเป็นเรื่องธรรมดา
ตัวอย่างมีมากมายก่ายกองในต่างประเทศ ญี่ปุ่นนั้น เหตุที่เศรษฐกิจตกต่ำรอบหลังสุดก็เนื่องมาจาก
"ฟองสบู่แตก" เช่นกัน ซึ่งไทยกำลังเดินรอยตามอย่างไม่เหมือนเสียทีเดียวนัก
(นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2540)
"ธาตรี งานนี้มีลุ้น"
ธาตรี บุญดีเจริญ แห่งยูนิเวสท์แลนด์ กับอนันต์ กาญจนพาสน์ ค่ายบางกอกแลนด์นั้น
จะว่าไปแล้วก็ไม่ใช่คนอื่นคนไกล แต่เป็นเครือญาติที่สนิทชิดใกล้กัน เพราะเจริญ
ผู้เป็นบิดาของธาตรีนั้นคือพี่ชายแท้ๆ ของศิริวรรณ มารดาของอนันต์ และธาตรีเองเมื่อตอนหนุ่มๆ
ก็ได้เข้าไปช่วยงานในบริษัทบางกอกแลนด์มาโดยตลอด
(นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2540)