จีน: ตลาดส่งออกที่น่าจับตามอง
แม้ว่าในปัจจุบันประเทศไทยจะมีสัดส่วนเพียงร้อยละ 2.5 ของมูลค่าการนำเข้าสินค้าอาหารทั้งหมดของจีน แต่จีนมีการนำเข้าสินค้าอาหารจากไทยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อัตราการขยายตัวในการส่งออกสินค้าอาหารของไทยไปยังตลาดจีนมีแนวโน้มอยู่ในเกณฑ์สูงมาตั้งแต่ปี 2552
(นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา กุมภาพันธ์ 2555)
ส่งออกไปจีนยังพุ่งทะยาน
การส่งออกของไทยไปจีนในเดือนตุลาคม 2553 ยังคงพุ่งทะยานทำสถิติมูลค่ารายเดือนสูงสุดที่ 1,900.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เหนือกว่าเดือนกันยายนที่ผ่านมาซึ่งมีมูลค่า 1,898.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่การนำเข้าชะลอตัวลงมาอยู่ที่ 1,990.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากมูลค่า 2,101.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในเดือนก่อนหน้า ส่งผลให้ไทยเสียเปรียบดุลการค้าให้แก่จีนน้อยลงเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 8 เดือนที่มูลค่า 90.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
(นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา ธันวาคม 2553)
อาหารไทยยังขยายตัวได้ในญี่ปุ่น
ญี่ปุ่นนับเป็นหนึ่งในตลาดส่งออกที่สำคัญของไทยมาอย่างต่อเนื่อง โดยเป็นรองเพียงสหรัฐฯ และสหภาพยุโรปเท่านั้น แม้มูลค่าการส่งออกของไทยไปยังญี่ปุ่นจะชะลอตัวลงบ้างในปี 2552 จากผลของวิกฤติเศรษฐกิจโลกช่วงปลายปี 2551
(นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา ธันวาคม 2553)
ส่งออกรถยนต์ไปอาเซียนพุ่งทะยานหลัง AFTA
ยอดการส่งออกรถยนต์เดือนมิถุนายน 2553 โดยสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ที่ยังคงขยายตัวต่อเนื่องในระดับสูง ถึงร้อยละ 95.7 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันในปีที่แล้ว คิดเป็นจำนวนรถยนต์ส่งออก 69,279 คัน ส่งผลทำให้ในช่วงครึ่งแรกของปี 2553 ที่ผ่านมา ประเทศไทยส่งออกรถยนต์ไปต่างประเทศเป็นจำนวน 418,178 คัน ขยายตัวเพิ่มขึ้นกว่าช่วงเดียวกันในปีที่แล้วที่มีจำนวนเพียง 234,822 คัน ถึงร้อยละ 78.1
(นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา สิงหาคม 2553)
ส่งออกข้าว: เวียดนามกำลังเบียดแซงข้าวไทย
การส่งออกข้าวของไทยในปี 2553 ยังเผชิญปัญหาทั้งในด้านการลดปริมาณการนำเข้าข้าว จากการที่ประเทศผู้นำเข้าข้าวหันไปบริโภคธัญพืชชนิดอื่นๆ ทดแทน รวมทั้งยังเผชิญการแข่งขันอย่างรุนแรงจากเวียดนามที่สามารถส่งออกข้าวได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
(นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา สิงหาคม 2553)
แนะใช้ FTA รุกตลาด CLMV
การส่งออกสินค้าของไทยไปยังกลุ่มสมาชิกใหม่ของอาเซียน ทั้งกัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม (CLMV) ในช่วงครึ่งหลังของปี 2553 น่าจะขยายตัวได้ดีขึ้น หลังจากกลุ่ม CLMV ลดภาษีสินค้าจนเหลือไม่เกินร้อยละ 5 ในช่วงต้นปี ตามความตกลงการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) ทำให้การส่งออกสินค้าของไทยไปยังกลุ่ม CLMV ภายใต้กรอบ AFTA เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 60 (YoY) ในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้
(นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา กรกฎาคม 2553)
INDIA: ความหวังใหม่ส่งออกไทย
ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโลกที่อาจชะลอตัวในครึ่งปีหลัง ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจส่งออก อินเดียอาจถือเป็นตลาดส่งออกขนาดใหญ่ที่น่าสนใจและเป็นคำตอบสำหรับผู้ส่งออกไทยในปีนี้ เพราะเศรษฐกิจอินเดียได้รับผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจโลกปี 2552 น้อยกว่าประเทศอื่นในเอเชีย
(นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา กรกฎาคม 2553)
เตือนส่งออกครึ่งปีหลังชะลอตัว
แม้การส่งออกของไทยในเดือนพฤษภาคม 2553 ซึ่งเป็นช่วงที่ปัญหาความวุ่นวายทางการเมืองเข้าขั้นวิกฤติ และมีวันทำการน้อยจะมีมูลค่าสูงสุดในรอบ 22 เดือน โดยการส่งออกสินค้าสำคัญส่วนใหญ่ก็ยังคงขยายตัวสูง ซึ่งส่วนหนึ่งยังได้รับอานิสงส์จากการส่งออกทองคำที่พุ่งขึ้นถึงร้อยละ 521 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีมูลค่าสูงถึง 1,379 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือเกือบ 1 ใน 4 ของมูลค่าการส่งออกทองคำในปีที่แล้วทั้งปี
(นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา กรกฎาคม )
หนี้ยุโรปกระทบส่งออกไทย
แม้ว่ากองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) และกลุ่มยูโรได้อนุมัติเงินช่วยเหลือกรีซมูลค่ารวม 110 พันล้านยูโร เพื่อใช้แก้ไขปัญหาหนี้สาธารณะที่มีมูลค่ารวม 3 แสนล้านยูโร (เป็นเงินจาก IMF มูลค่า 30 พันล้านยูโร และที่เหลือจากกลุ่มยูโรอีก 80 พันล้านยูโร) ซึ่งส่วนหนึ่งของเงินช่วยเหลือจะใช้ในการชำระหนี้ที่จะครบกำหนดชำระในวันที่ 19 พฤษภาคม ได้คลายความกังวลต่อปัญหาหนี้ของกรีซในระยะสั้นไปได้
(นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา มิถุนายน 2553)
หวังให้การส่งออกช่วย
ท่ามกลางสถานการณ์ความรุนแรงทางการเมืองที่มีแนวโน้มส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยวและการใช้จ่ายภายในประเทศ ตัวเลขการส่งออกของไทยในไตรมาสที่ 1/2553 ยังคงเติบโตสูง และคาดว่าแรงขับเคลื่อนจากอุปสงค์ในตลาดโลกยังมีแรงส่งต่อเนื่องให้การส่งออกในไตรมาสที่ 2/2553 ขยายตัวได้ในอัตราที่ใกล้เคียงกัน
(นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา พฤษภาคม 2553)