หุ้นไทยไร้เสน่ห์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทยในช่วงต้นปี 2543 ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง สวนทางกับตัวชี้วัดภาพรวมทางเศรษฐกิจอื่นๆ ที่ระบุว่าแนวโน้มเศรษฐกิจไทยกำลังปรับตัวดีขึ้น
(นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2543)
Inflation Targeting
ธนาคารแห่งประเทศไทยกำลัง "หน้ามืด" มองเห็น Inflation Targeting เป็น "ยาวิเศษ"
ที่จะฟื้นคืนความน่าเชื่อถือของตนเอง (Cre-dibility) หาได้ สำเหนียกว่าความน่าเชื่อถือเกิดจากเหตุปัจจัยนาน
ัปการ มิได้เกิดจากความ สำเร็จในการดำเนินนโยบายเพียงโสดเดียว ในประการสำคัญ
ธนาคารแห่ง ประเทศไทยกำลังดำเนินนโยบายแก้ "ปัญหา" ในสิ่งที่มิได้เป็นปัญหา …
(นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2543)
Bangkok Consensus
บัดนี้ เศรษฐกิจพอเพียงกลายเป็น "ฉันทมติแห่งกรุงเทพฯ" (Bangkok
Consensus) โดยที่ประชาชนในชนบท ในหลายภูมิภาค เดินตามแนวทางนี้ มาก่อนเป็นเวลาหลายทศวรรษแล้ว …
(นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2543)
"กลุ่มองค์กรใหญ่ชูบทบาทบีโอไอสู่ประชาสัมพันธ์แห่งชาติ"
คงไม่มีประวัติศาสตร์ครั้งไหนของไทยก่อนหน้านี้ ที่ชี้ให้เห็นถึงภาวะวิกฤติของเศรษฐกิจได้มากเท่าในปีนี้
และคงไม่มีครั้งไหนที่สร้างภาวะของความกลมเกลียวในการมุ่งมั่นเข้าแก้ไขปัญหาของชาติของคนจากหลายองค์กร
ทั้งภาครัฐและเอกชน โดยที่ไม่รอคอยการสั่งการจากทางรัฐบาลได้มากเท่านี้อีกเช่นกัน
(นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2540)
"ต่อลมหายใจธุรกิจไทย ด้วยบทใหม่ของ ก.ม. ล้มละลาย"
คำสั่งปิดกิจการชั่วคราวบริษัทเงินทุนแบบสายฟ้าแลบของกระทรวงการคลัง โดยคำแนะนำของ ธปท.ทั้ง 2 ระลอก เป็นเวลากว่า 3 เดือน หลังประกาศรอบสอง ยังไม่ปรากฏมาตรการที่ส่อแววให้เห็นว่า ทั้ง 58 ไฟแนนซ์จะสามารถกลับมาดำเนินธุรกรรมหารายได้เพื่อนำมาชำระหนี้คืนต่อไปได้
(นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2540)
"IMF-วาระแห่งชาติ" = ความหวังของคนไทย"
5 สิงหาคม 2540 "วันกู้ชาติ" ด้วยการยอมรับเงื่อนไขของ IMF และการประกาศ
วาระแห่งชาติของรัฐบาล เพื่อเยียวยาปัญหาเศรษฐกิจของประเทศ แต่กว่าจะถึงวันที่เศรษฐกิจฟื้นตัวกลับมาดีดังเดิมนั้น
ทั้งผู้ที่อยู่ในวงการสถาบันการเงิน ผู้ที่ประกอบการรวมทั้งประชาชนจะต้องแบกรับผลกระทบที่เกิดจากเงื่อนไขดังกล่าวในระยะสั้น
แม้จะเป็นผลดีในระยะยาวก็ตาม
(นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2540)
"หัวเลี้ยวหัวต่อสังคมเศรษฐกิจไทย"
ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำและวิกฤตการเงินอย่างรุนแรงที่เกิดขึ้นในประเทศไทยเวลานี้เริ่มขยายวงกว้างไปสู่ประเทศ
"เสือ" เพื่อนบ้าน โดยเฉพาะสกุลเงินซึ่งในช่วงกลางเดือน ก.ค. สี่สกุลเงินอาเซียนถูกโจมตีจากนักเก็งกำไรจนปั่นป่วนไปหมด
นักเศรษฐศาสตร์ชั้นนำของโลกมองว่ากรณีประเทศไทยเป็นเรื่องเฉพาะ และมีทางออกเรื่องนี้ได้
ส่วนนักเศรษฐศาสตร์ไทยเองนั้น แม้ส่วนมากจะยังไม่มีสายตามองโลกในแง่ร้าย
เพราะไม่เชื่อว่าภายใต้โครงสร้างสังคมเศรษฐกิจ การเมืองไทยปัจจุบันจะสามารถนำพาประเทศชาติฝ่าพ้นวิกฤติรอบนี้ได้
(นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2540)
"โศกนาฏกรรมวันที่ 2 กรกฎาคม ปูนใหญ่กำไรฮวบเฉียดหมื่นล้าน"
เงินบาทลอยตัวพ่นพิษฉุดกำไรปูนใหญ่ลดเกือบหมื่นล้านบาทพร้อมบันทึกบัญชีในไตรมาส
2 ทั้งก้อน คาดปีนี้อาจจะถึงขั้นขาดทุน แต่ก็เป็นเพียงตัวเลขทางบัญชีเท่านั้นเพราะหนี้ยังไม่ถึงกำหนดส่วนจริง
ขณะที่กระแสเงินสดยังไหลคล่องเหมือนเดิมสุดท้ายผู้บริโภคต้องรับกรรมตามต้นทุนที่สูงขึ้นอีกราว
10%
ทันทีที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศเปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศจาก
fixed rate ที่อิงกับตะกร้าเงินมาเป็น float rate ในลักษณะ managed float rate
(นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2540)
ฮ่องกงใหม่ อนาคตยังกำหนดได้
ความหวั่นไหวต่ออนาคตคือความรู้สึกที่อื้ออึงอยู่บนทุกตารางนิ้วของฮ่องกง เป็นบรรยากาศที่ไม่ลงตัวระหว่างความคาดหวังกับความวิตกกังวล สะสมนานปีมานับแต่ก่อนวันดีเดย์ 1 กรกฎาคม 2540-วันส่งมอบฮ่องกงคืนสู่การปกครองของจีน ตอกย้ำอยู่จนทุกโมงยามของปัจจุบัน ความคาดหวังที่จะฉกฉวยโอกาสใหม่ๆ มูลค่ามหาศาลจากแผ่นดินใหญ่ของจีน ต่อสู้อยู่กับความหวาดระแวงตัวตนอันแท้จริงของระบบเศรษฐกิจสังคมนิยมอิงตลาดโลก
(นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2540)