ฟาสต์ฟูดหน้าใหม่ จะทนแรงเบียดจากยักษ์ใหญ่นานแค่ไหน?
ป๊อปอายส์, โบรสเตอร์, คาลิโก แจ็คและทอยส์ ฟิช แอนด์ ชิพส์ เป็นฟาสต์ฟูดน้องใหม่
ชื่อเสียงของพวกเขายังไม่เป็นที่รู้จักมากเท่ารุ่นพี่ สองรายแรกอาจหาญเข้ามาในตลาดไก่ทอดที่มีเคเอฟซีเป็นผู้นำ
สองรายหลังเลือกเข้ามาในตลาดฟาสต์ซีฟูด เพราะไม่ต้องการเผชิญหน้ากับยักษ์ใหญ่
(นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2538)
เอบิโก้ขอรับบทผู้ช่วยพระเอกดีกว่าขาดทุนปีละ 50 ล้าน
ผู้ติดตามความเคลื่อนไหวในตลาดน้ำมันพืชไทย คงนึกแปลกใจที่จู่ ๆ PROCO หรือบริษัท กลั่นน้ำมันบริสุทธิ์ จำกัด ซึ่งเอบิโก้ถือหุ้นใหญ่อยู่ 70% (30% ที่เหลือเป็นของบริษัท สุรพลซีฟูดส์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทมิตซุย แอนด์ โค (ไทยแลนด์) จำกัด บริษัทละ 15%) มีอันต้องยุติแผนการทำตลาดน้ำมันปาล์มบรรจุขวดชั่วคราวอย่างค่อนข้างกะทันหัน
(นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2538)
ไอวอรี่ อัลตราไมลด์ ของพีแอนด์จี เมื่อตลาดแชมพูไม่สดใสดังคาด
8 ปีของบริษัทพรอคเตอร์ แอนด์ แกมเบิล แมนูเฟคเจอริ่ง ( ประเทศไทย) หรือ
พีแอนด์จี นับได้ว่าเป็นช่วงเวลาแห่งความสำเร็จ อัตราการเติบโตของยอดขายที่เพิ่มขึ้นเกือบ
20 เท่า คือจาก 200 ล้านบาทในปี 2531 เป็นกว่า 3,600 ล้านบาท ในปี 2537 คงจะเป็นข้อพิสูจน์ได้ดี
(นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2538)
ชนชั้น "รายย่อย"มนุษย์ทองคำแห่งทศวรรษ 2000
เจ้าของร้านค้าย่อยที่เติบโตอยู่มากมายในตลาดค้าปลีกเมืองไทย ดูจะเป็นกลุ่มยัปปี้รุ่นล่าสุดขนาดแท้ที่มีงานและการใช้ชีวิตที่เป็นสุขกับอาชีพอิสระในฐานะเจ้าของกิจการส่วนตัวเล็กๆ
พร้อมกับอุปกรณ์การดำเนินชีวิตตามสูตรของยัปปี้ที่ครบครัน ตั้งแต่ขับรถส่วนตัว
พกเครื่องมือสื่อสาร ใช้เครดิตการ์ด เที่ยวคลับ ดื่มโคล่า พักคอนโด ฯลฯ
(นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2538)
คัมภีร์ "รายย่อย"ก่อนจะรุ่งโรจน์หรือปิดฉาก
เงินทุน
การตัดสินใจจะลงทุนมีร้านเป็นของตัวเองสักร้าน คงไม่ใช่เรื่องที่สามารถตัดสินใจกันได้เพียงแค่ชั่วคืนเดียวเสียแล้ว
เพราะทุกวันนี้มีศูนย์การค้าเกิดขึ้นมากมายทั้งในเขตกลางเมือง ชานเมือง และนอกเมือง
ซึ่งแต่ละศูนย์ล้วนเป็นตัวแปรหลักให้เกิดร้านค้าย่อยมากมายนับร้อยเท่าต่อหนึ่งศูนย์
(นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2538)
ร้านค้าย่อย ทางรอดสุดท้ายของศูนย์การค้า
การเป็นพันธมิตรระหว่างศูนย์การค้ากับ "ร้านค้าย่อย" กลายเป็นสิ่งจำเป็นหลังจากที่ผู้บริหารศูนย์การค้าพบว่า
ปริมาณพื้นที่ศูนย์การค้าที่เกิดขึ้นอย่างมากมาย กำลังอยู่ในภาวะล้นตลาดจะหวังพึ่งเพียง
"ร้านค้าใหญ่" ที่เซ้งพื้นที่เป็นสิบๆ ปีย่อมเป็นไปไม่ได้
(นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2538)
สหวิริยาขายคอมพ์อย่างเดียวไม่ได้อีกแล้ว
"มีอุตสาหกรรมไหนบ้างภายใน 10 ปีราคาลดลง 10 เท่า ความสามารถเพิ่มขึ้น
10 เท่า ผมขายพีซี 1 ชุดเมื่อ 10 ปีที่แล้ว ด้วยราคา 250,000 บาท แต่วันนี้ราคาลดลงเหลือ
25,000 บาท แถมความสามารถยังสูงกว่าอีก"
(นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2538)
ประชัย เลี่ยวไพรัตน์ ความแข็งกร้าว ที่เปลี่ยนไป
ประชัย เลี่ยวไพรัตน์ ทายาทรุ่นที่สามของตระกูลผู้สืบสานธุรกิจอาณาจักรในยุคของเขา กว้างใหญ่ชนิดคนรุ่นก่อนคาดไม่ถึง
ด้วยแนวคิดที่มองไปข้างหน้า ด้วยสายตาที่มักคาดการณ์แบบกล้าได้กล้าเสีย ด้วยบุคลิกที่มักจะตรงไปตรงมา จึงทำให้คนทั่งไปในแวดวงธุรกิจรวมถึงผู้หลักผู้ใหญ่ในวงราชการมองดูว่าหนุ่มใหญ่วัย 50 ปี ผู้นี้ เต็มเปี่ยมไปด้วยความอหังการ ในเชิงธุกริจ
(นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2538)
จีนดูดการลงทุนเข้าชายแดนใช้จุดขายสัมพันธ์ 'สัมพันธ์อันดีกับพม่า'
จ้าว เปา เฉิง นักธุรกิจหนุ่มใหญ่วัย 45 จากปักกิ่ง ภายหลังจากที่ได้ เดินทางมาสำรวจธุรกิจตามบริเวณชายแดนแล้วหลาย
ๆ เมือง และเมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา เขาได้เข้ามายัง หวั่นติง เมืองเล็ก ๆ ของจีน
ที่ตั้งอยุ่บริเวณชายแดน จีน-พม่า และได้เปิดเผย 'ผู้จัดการ' ว่าเมื่อมาเห็นที่นี่
เขาไม่ลังเลเลยที่จะดำเนินธุรกิจของเขาที่เมืองหวั่นติงแห่งนี้
(นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2538)
"ชายแดนแม่สาย-ท่าขี้เหล็ก : มิติมืดของการค้าไร้พรมแดน"
ท่าขี้เหล็ก เมืองชายแดนของพม่าที่ตรงข้ามกับอำเภอแม่สาย ในจังหวัดเชียงรายของฝั่งไทยกำลังเปลี่ยนโฉมหน้าเข้าสู่ความทันสมัย ตามการขยายตัวของเศรษฐกิจซึ่งคาดกันว่าจะรุ่งเรืองอย่างมาก ๆ หากโครงการสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจเป็นจริงขึ้นในเร็ววันนี้
(นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2537)