จากเทียนอันเหมินถึงไทยแสท
กลุ่มไทยแสทคือกลุ่มที่ได้รับการคัดเลือกจากกระทรวงคมนาคม ให้เป็นผู้ลงทุนในโครงการสัมปทานดาวเทียม
และสร้างเครือข่ายการสื่อสารเพื่อให้บริการการสื่อสารด้วยดาวเทียมในมูลค่า
3,000 ล้านบาท โดยมีระยะเวลาสัมปทาน 30 ปี
(นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2533)
ปฏิวัติเทคโนโยลีสื่อสาร FAX เฉือน TELEX ขาดลอย
เมื่อแฟกซ์ได้เข้าสู่ตลาดในประเทศไทยเริ่มต้นจากการมีตลาดวงแคบ ๆ เมื่อ
6 ปีก่อน ปัจจุบันเป็นธุรกิจพันล้านที่นับวันจะโตวันโตคืนแฟกซ์ยี่ห้อดัง
ๆ ของโลกสามสิบยี่ห้อลงแข่งขันแย่งส่วนแบ่งทางการตลาดกันอย่างสนุกสนานและแล้วผลกระทบกลับกลายมาเป็นของเครื่องเทเล็กซ์ ที่อัตราการเติบโตของยอดผู้ใช้เริ่มที่จะลดลง หรือว่าคลื่นเทคโนโลยีของเครื่องแฟกซ์จะกลบกลืนเครื่องเทเล็กซ์เสียแล้ว
(นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2533)
ทศท. งัดข้อ กสท.
ทั้งองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย (ทศท.) และการสื่อสารแห่งประเทศไทย (กสท.)
ต่างก็เป็นหน่วยงานของรัฐที่ทำหน้าที่ด้านการสื่อสารโทรคมนาคมด้วยกันทั้งคู่
จึงมีปัญหาระหองระแหงในเรื่องการแบ่งแยกงานกันอยู่เสมอ
(นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2532)
ธุรกิจ "เหนือโลก" ของ ทักษิณ ชินวัตร
ชั่วเวลาเพียง 2 ปีหลังจากอำลาชีวิตตำรวจ ทักษิณ ชินวัตรสามารถก้าวทะยานมาเป็นผู้นำทางด้านธุรกิจเทคโนโลยีการสื่อสารได้อย่างรวดเร็ว
สินค้าของเขาหลายตัวคือภาพพจน์ของการแสวงหาและเริ่มต้นรูปแบบการสื่อสารใหม่
ๆ ในเมืองไทย แม้ห้วงเวลานี้โดยแท้จริงคือระยะผ่านแห่งการสะสมบารมีและสายสัมพันธ์
แต่ถ้าเขาผ่านขวากหนามช่วงนี้ไปได้ เขาอาจไปเร็วกว่าที่ทุกคนคาดคิด…..จับตาเขาไว้ให้ดี
(นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2532)
DPZ ฝันที่เป็นจริง
ความคิดในการจัดตั้ง DPZ (DATA PROCESSING ZONE) หรือ เขตอุตสาหกรรมข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้น
ถูกตั้งข้อสงสัยในเบื้องแรกว่า ไม่ได้เป็นเรื่องจริงจังอะไรนัก เป็นเรื่องที่ออกมาแก้ลำเพื่อให้เรื่องอบาคัสของการบินไทยตกไปเท่านั้น
เพราะ DPZ เพิ่งจะมีการพูดถึงก็เมื่อการบินไทยเสนอเรื่องอบาคัสต่อคณะรัฐมนตรี
(ครม.) เท่านั้น ก่อนหน้านั้นไม่เคยมีการพูดถึงเลย
(นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2532)
เอทีแอนด์ที ละครฉากใหญ่ที่ยังจัดไม่เสร็จ
เอทีแอนด์ทีมาเมืองไทยอย่างฟอร์มโต แต่หลายคนสรุปให้เสร็จว่าไปๆ มาๆ ก็
"ตายน้ำตื้น" ทุกวันนี้ เอทีแอนด์ทีเก็บเนื้อเก็บตัวมากขึ้น เหมือนประหนึ่งจะรอบางสิ่งพร้อมสรรพสมบูรณ์เสียก่อน
หรืออาจจะต้องทำตัวเงียบๆ ตลอดไปก็เป็นได้!
(นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2531)
"สรร อักษรานุเคราะห์ คนรวยเงียบๆ"
ทุกครั้งที่เกิดสงครามที่แบงก์แหลมทอง โฟกัสมักจะมุ่งไปที่สมบูรณ์ นันทาภิวัฒน์
หรือสุระ จันทร์ศรีชวาลา ทั้ง ๆ ที่ยังมีอีกหลายคนที่น่าสนใจ
(นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2531)