เมื่อธนินท์ เจียรวนนท์ ต้องขี่หลังเสือ!
สิ่งที่สะท้อนความยิ่งใหญ่อย่างหนึ่งของซี.พี ก็คือ การมีเครือข่ายอาณาจักรที่ครอบคลุมไปเกือบทุกแขนงของธุรกิจที่มีอยู่
หากเปรียบเทียบกับนิยามของอัลวิน ทอล์ฟเลอร์ เจ้าตำรับคลื่นลูกที่สามแล้ว ซี.พี. นับเป็นเจ้าของธุรกิจไม่กี่รายที่มีธุรกิจอยู่บนคลื่นธุรกิจทั้ง 3 ลูก ทั้งเกษตร อุตสาหกรรม และเทคโนโลยี
(นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2540)
"อดิศัย โพธารามิก ถึงเวลาต้องกลับสู่จุดเริ่มต้น"
อดิศัย โพธารามิกได้ชื่อว่ามีความพร้อมในยุทธภูมิธุรกิจสื่อสารมากที่สุดผู้หนึ่ง
ความเป็นดีลเมกเกอร์ชั้นเยี่ยม คือที่มาของโครงการโทรศัพท์ต่างจังหวัด 1.5
ล้านเลขหมายและทำให้จัสมินโตแบบก้าวกระโดดกลายเป็นหนึ่งในบิ๊กสื่อสาร แต่แล้วผลงานชิ้นโบแดงในอดีตกำลังกลายเป็นยาขม
การลงทุนที่มีอย่างต่อเนื่องทำให้อดิศัยตัดสินใจกลับสู่ยุทธศาสตร์เดิม เพื่อเดิมพันอนาคตอีกครั้ง
(นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2540)
"สามารถฯ หนีห่างอย่างเหนือชั้น สู่ยุคอินเตอร์"
กลุ่มสามารถฯ นำโดยธวัชชัย วิไลลักษณ์ ยอมตัดใจขายหุ้นในสามารถ คอร์ปอเรชั่น
20.12% และบริษัทในเครือฯ อีก 33.33% ให้กับกลุ่มเทเลคอม มาเลเซียฯ เพื่อร่วมพัฒนาธุรกิจสื่อสารโทรคมนาคม
หวังได้ความเชี่ยวชาญจากพันธมิตรเพื่อปูทางก้าวไปสู่การเป็นบริษัทอินเตอร์
ด้านเทเลคอม มาเลเซียฯ หวังศักยภาพบุคลากรด้านมัลลิมีเดียของกลุ่มสามารถฯ สร้างโครงการ
MSC
(นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2540)
ยกใหม่แผนแม่บทฯ โทรคมนาคม 6 ล้านเลขหมายชนวนล้มกระดาน
แม้แผนแม่บทพัฒนากิจการโทรคมนาคมของประเทศไทย จะผ่านการพิจารณาร่างมาแล้วหลายรอบหลายคราจากทั้งฝ่ายรัฐคือกระทรวงคมนาคม และภาคเอกชนผู้มีส่วนเข้าไปร่วมในการร่างแผน แต่ถึงทุกวันนี้ก็ยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจน ประเด็นที่ขบไม่แตกว่าควรผลักดันให้มีการเปิดแผนแม่บทเสรีขึ้นใช้เป็นรูปธรรมซักทีนั้น เป็นเพราะรัฐมัวกังวลกับการมีแผนฯ มากจนเกินไปหรือไม่ แทนที่จะมุ่งไปที่เนื้อหาสาระเรื่องความต้องการพัฒนากิจการโทรคมนาคมโดยเปิดเสรีธุรกิจด้านสื่อสารโทรคมนาคมของไทย ไม่ให้มีการผูกขาดแค่หน่วยงานรัฐอีกต่อไป
(นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2540)
รูเพิร์ท เมอร์ด็อคเจ้าพ่อดาวเทียม
เมื่อเร็ว ๆ นี้ นิตยสารนิวสวีครายงานเรื่องของรูเพิร์ท เมอร์ด็อค-เจ้าพ่อดาวเทียม
เราอาจให้ฉายาเขาเช่นนั้นได้เพราะดูจากธุรกิจเฉพาะด้านดาวเทียมของเขานั้น
เขามีดาวเทียมที่มี footprint ครอบคลุมถึง 4 ทวีปในโลก คิดเป็นจำนวนประชากรมากกว่าค่อนโลก
เรื่องที่เป็นข่าวในตอนนี้คือการแตกคอกันระหว่าง News Corp. กับ Echostar
(นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2540)
ธาเนศ โชคศิขรินทร์ เมื่อยูคอมเปิดศึกค้าปลีก
ในขณะที่ร้านเทเลคอมช้อปทั้งหลายที่เกิดขึ้นราวดอกเห็ดเมื่อ 4-5 ปีที่แล้ว
ยังคงทำหน้าที่ของตัวเองอย่างซื่อสัตย์ โทรศัพท์มือถือหลากยี่ห้อ เพจเจอร์ของทุกค่ายยังวางอยู่เต็มหน้าร้าน
แต่ร้านเวิลด์โฟนช้อปของค่ายยูคอมกลับถูกเปลี่ยนชื่อเสียงเรียงนามใหม่เป็น
"เวิลด์มีเดีย" พร้อมกับสินค้าและบริการที่แปลกตาออกไป
(นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2540)
ไพบูลย์ ลิมปพยอม ภาคใหม่ กำลังหนุนชินวัตรกลับสู่ผู้นำ
หลายปีก่อน องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย มีผู้อำนวยการที่ชื่อ ไพบูลย์ ลิมปพยอม ผู้ซึ่งกลายเป็นข่าวอื้อฉาวของวงการโทรคมนาคม ด้วยการถูกระบุว่ามีส่วนพัวพันกับการอนุมัติโครงการโทรศัพท์ 3 ล้านเลขหมายให้กับบริษัท ซีพี เทเลคอม จำกัด ในเครือเจริญโภคภัณฑ์ ยักษ์ใหญ่ด้านผลิตภัณฑ์การเกษตรของไทย ถึงวันนี้ เรื่องทุกอย่างจางหายไปจากความคิดของหลายคนเพราะไม่มีความจำเป็นอะไรที่จะต้องรื้อฟื้นกลับมาเล่าใหม่ ปล่อยให้เป็นประวัติศาสตร์ของกิจการโทรคมนาคมของไทยกว่าสมัยหนึ่ง เมื่อองค์การโทรศัพท์ฯต้องการให้เอกชนเข้ามาร่วมลงทุนขยายการติดตั้งโทรศัพท์ที่ผูกขาดมานาน
(นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2540)
"ภูษณ ปรีย์มาโนช ปฏิบัติการกินรวบ"
ปฏิบัติการเหนือชั้นของภูษณ ปรีย์มาโนช การก้าวลงจากประธานกรรมการของยูคอมเพื่อขึ้นนั่งรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
นับเป็นการใช้ประโยชน์จากการเข้าสู่ศูนย์กลางของอำนาจอย่างแท้จริง เมื่อสภาพแวดล้อมธุรกิจโทรคมนาคมเปลี่ยนไป
วันนี้ภูษณได้ก้าวไปเป็นผู้ร่างแผนไอทีแห่งชาติ มีเป้าหมายโทรศัพท์ 6 ล้านเลขหมายเป็นเดิมพัน
การผลักดินให้ยูไอเอชเป็นผู้วางรากแก้วให้กับไอทีของประเทศ การรุกคืบสู่กรมประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างอาณาจักมีเดีย
การสร้างแขนขาผ่านเอเอ็ม/พีเอ็ม นี่คือเป้าหมายของการต่อ "จิ๊กซอว์"
(นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2540)
"สำเรียน สุทธิวงศ์ เลือดไทยคนแรกของลูเซนท์"
หลังจากลูเซนท์ เทคโนโลยีได้แยกกิจการเป็นอิสระออกจากเอที แอนด์ ที เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายระบบเครือข่ายอย่างสมบูรณ์แบบ
ก็ถึงคราวที่ลูเซนท์จะต้องเดินเครื่องเพื่อบุกตลาดในเมืองไทยเสียที
ลูเซนท์ติดเครื่องด้วยการแต่งตั้งผู้บริหารชาวไทย สำเรียน สุทธิวงศ์ ขึ้นควบตำแหน่งประธานบริษัทในไทยถึง
2 แห่งจาก 3 แห่งที่มีอยู่ในไทย คือบริษัทลูเซนท์เทคโนโลยีส์ ไมโครอีเล็คโทรนิคส์
(ไทย) จำกัด ทำธุรกิจผลิตและออกแบบแผงวงจรไฟฟ้ารวม และบริษัทลูเซนท์ เทคโนโลยี
ไทยแลนด์ อิงค์
(นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2540)
TAC ระดมทุนมาเหลือเฟือ แต่ปีนี้ลงทุนแค่ 5,000 ล้านบาท
นับจากภายหลังการเข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์เมื่อเดือนตุลาคม
ปี '38 ซึ่งทำให้ TAC ได้เงินทุนเกือบ 10,000 ล้านบาท จากนั้นในปี '39 ก็ได้มีการระดมทุนครั้งใหญ่ถึง
3 ครั้งด้วยกัน โดยเริ่มจากไตรมาสที่ 2 ของปี TAC ก็เป็นบริษัทเทเลคอมของไทยรายแรกที่ประสบความสำเร็จในการออกหุ้นกู้แปลงสภาพสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ
(ECD) อายุ 10 ปี
(นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2540)