"พอกันทีไปรษณีย์แบบเก่า ยุคปรับโฉม กสท. แบบเอกชน"
กิจการไปรษณีย์ไทยแบบเดิม ผูกขาดโดย กสท. เมื่อถึงคราวต้องปรับตัวรับแผนแม่บทฯ
และการค้าเสรี หน่วยงานแห่งนี้จะทำอย่างไร? เอกชนมองเห็นช่องทางในการทำธุรกิจใหม่
"เมลล์ บ๊อกซ์" เสริมช่องว่างรัฐ หนทางนี้ยังไม่รุ่งหากไม่ทำธุรกิจอื่นเสริม
(นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2540)
"กสท.-ทศท.-ไอเอสพี ถึงเวลาแก้ไขปัญหาร่วมกัน"
การบูมขึ้นของอินเตอร์เน็ต ทำให้กลุ่มธุรกิจมองดูด้วยอาการของคนตื่นทอง แต่การสื่อสารแห่งประเทศไทย
(กสท.) มีสิทธิ์ขาดเพียงผู้เดียวสำหรับบริการอันน่าตื่นตาตื่นใจนี้ ทั้งสองฝ่ายแสวงหาทางออกด้วยการร่วมทุน
อย่างไรก็ดี การผูกขาดอำนาจการจัดสรรผู้ให้บริการอินเตอร์เนตของ กสท. ก่อปัญหาในการขยายตลาด
และประชาคมดิจิตอลเริ่มกดดัน กสท.ให้ถอยไปอยู่ในจุดที่เหมาะสมกว่าเดิม
(นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2540)
"TDRI ยื่นข้อเสนอดักทาง กสท."
วงการอินเตอร์เน็ตก้าวไปสู่ความถูกต้องอีกครั้งหนึ่ง ด้วยผลการวิจัยเรื่อง
"สภาพการแข่งขันและราคาค่าบริการอินเตอร์เน็ตในประเทศไทย" ของ
TDRI ซึ่งจัดทำขึ้นโดย ดร. สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ และ ดร. เดือนเด่น นิคมบริรักษ์
ผลงานชิ้นนี้นับเป็นสีสันร้อนแรงที่ดึงดูดความสนใจของทุกฝ่าย
(นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2540)
"อินเตอร์เน็ตสู่สังเวียนค้าเสรี"
ปัญหาอย่างหนึ่งของอินเตอร์เน็ตคือ เกรงกันว่า หากเปิดเสรีล่าช้า การผูกขาดของ
กสท. จะทำให้ไอเอสพีไทย ต้องมีภาระต้นทุนในการแข่งขัน เพราะต้องให้ทั้งหุ้นลม
และเงินปันผลแก่ กสท.
(นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2540)
กสท.ตกเป็นจำเลย จริงใจ มิใช่หลวมตัว
ประธานาธิบดีคลินตันกล่าวว่า เขาต้องการให้เด็กอเมริกันอายุ 8 ขวบทุกคนสามารถอ่านออกเขียนได้ เด็กอายุ 12 ขวบทุกคนสามารถใช้อินเตอร์เน็ตได้ทุกคน และเด็ก 18 ขวบทุกคน สามารถเรียนต่อในระดับอุดมศึกษา นี่เป็นการสะท้อนถึงความสำคัญของเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ในเมืองไทยเปิดให้บริการเชิงพาณิชย์มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2538 มีผู้ให้บริการหรือ
ISP กว่า 12 บริษัท และยังมีอีก 6 บริษัท ที่การสื่อสารแห่งประเทศไทยอนุมัติให้ดำเนินการได้ และอยู่ระหว่างการเตรียมเปิดให้บริการ
(นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2540)
หมดยุคทหารครองคมนาคม ถนนทุกสายมุ่งสู่การเมือง
บริการสื่อสารโทรคมนาคมของไทย จะอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของกระทรวงคมนาคม
ซึ่งมีหน่วยงานรัฐภายใต้สังกัด 3 แห่ง คือ กรมไปรษณีย์โทรเลข องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย
(ทศท.) และการสื่อสารแห่งประเทศไทย (กสท.) ทำหน้าที่ให้บริการสื่อสารโทรคมนาคมประเภทต่างๆ
แก่ประชาชน รวมทั้งออกใบอนุญาตให้กับเอกชนเข้ามาลงทุนขยายบริการในลักษณะของสัมปทานในบางโครงการ
(นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2538)
คอลล์แบ็ค กสท.ภาคเอกชน
" คอลล์แบ็ค " ( call back) หรือธุรกิจให้บริการติดต่อโทรศัพท์ระหว่างประเทศ
ระบบ " เรียกกลับสลับต้นทางอัตโนมัติ " อาศัยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี
ทางการสื่อสาร ผนวกกับต้นทุนที่ถูกกว่าของเจ้าของเครือข่ายโทรศัพท์ทางไกลข้ามชาติในตต่างประเทศ
ดำเนินการให้บริการแข่งกับการสื่อสารแห่งประเทศไทย (กสท) ซึ่งโดยอำนาจตามกฎหมาย
เป็นผู้ผูกขาดบริการนี้ไว้แต่เพียงผู้เดียว
(นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2537)
"ธุรกิจโทรคมนาคมการเคลื่อนย้ายอำนาจจากรัฐสู่เอกชน"
ภายใต้กระแสของความเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจทั้งภายใน และภายนอกประเทศที่ขยายตัวอย่างรวดเร็ว
แต่ละสังคมปรับเปลี่ยนเป็นสังคมที่ต้องการบริการเพิ่มขึ้น การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีได้ทำลายพรมแดนเก่า
ๆ ลงทั่วทั้งโลก หรือที่เรียกกันว่าเป็นยุคแห่งโลกานุวัตร โดยเฉพาะด้านการสื่อสารโทรคมนาคมที่มีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็วในเทคโนโลยี
(นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2537)
"หมดยุค "มืด" กสท.?"
ชวลิต ธนะชานันท์กันโครงการอื้อฉาว 8 รายการของการสื่อสารแห่งประเทศไทยออกมาศึกษาเป็นพิเศษ
หลังเข้ารับตำแหน่งประธานกรรมการฯ หมาด ๆ ทำให้เขาพบว่า ภายใต้ม่านมืดของ
กสท. นั้นมีจุดบอดในรายละเอียดที่ต้องแก้ไขไม่น้อย ไม่ว่าจะเป็นวิธีพิเศษหรือสเป็กเลือกข้าง
แต่เหนืออื่นใดระบบใหญ่อันไม่โปร่งใสต่างหากที่เป็นปัญหากว่าสิ่งอื่น
(นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2535)
"รัฐควรลดการผูกขาดในธุรกิจโทรคมนาคมลงและ ถ้าจะเปิดเสรีควรมีระบบ"
ธุรกิจด้านโทรคมนาคมเป็นธุรกิจที่ผูกขาดโดยรัฐบาลมาโดยตลอด การที่มีการกล่าวถึงความเป็นไปได้ในการปล่อยเสรีให้เอกชนรายใดก็ได้
เข้ามาลงทุนในธุรกิจนี้ มีสิ่งหนึ่งที่ต้องคำนึงถึงนั่นก็คือผลประโยชน์ของรัฐ
นั่นย่อมหมายถึงผลประโยชน์ของประชาชนที่อาจสูญเสีย ไปด้วยในกรณีนี้
(นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2534)