ชนินท์ ว่องกุศลกิจ “ถ้าคุณอยู่กับมัน คุณจะตายเป็นคนสุดท้าย”
“Bringing coal to Newcastle” เป็นสำนวนคนอังกฤษแท้ๆ เทียบกับสำนวนไทยก็เหมือนกับ “เอามะพร้าวห้าวไปขายสวน” เป็นวัฒนธรรมทางภาษาที่เหลืออยู่ให้คนทั้งโลกจดจำได้ว่า สถานะของเมืองนิวคาสเซิลในอดีต ครั้งหนึ่งเคยเป็นแหล่งเหมืองถ่านหินก่อนจะพัฒนามาเป็นเมืองในปัจจุบัน
(นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา ตุลาคม 2554)
“หงสา” โจทย์ล่าสุดของบ้านปูแต่ลงตัวสำหรับชาวบ้าน
เที่ยงวันนั้น สิงเพิ่งกลับจากโรงเพาะเห็ดนางฟ้ามาถึงที่เรือนพักที่อยู่บริเวณหมู่บ้านเก่าของเธอ ขณะที่แมกลูกสาวของเธอกำลังนั่งแซว (ปัก) ผ้า รอเธออยู่บนเรือน
(นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา กันยายน 2553)
“บ้านปู” ณ ปัจจุบัน
“ทุกวันนี้ ทุกคนในหมู่บ้านสามารถรับผิดชอบตัวเองได้หมดแล้ว บริษัทไม่ต้องเข้าไปดูแลมากเหมือนช่วงแรกๆ แต่ความสัมพันธ์ระหว่างเราก็ยังดีอยู่เหมือนเดิม เวลาหน้าเทศกาลมีงานบุญแต่ละครั้ง เขาก็จะมาเชิญเราไปร่วมด้วยตลอด” สิทธิชัย เตชาธรรมนันท์ ผู้จัดการเหมือง บริษัทบ้านปู จำกัด (มหาชน) พูดถึงชีวิตความเป็นอยู่ในปัจจุบันของชาวบ้าน หมู่บ้าน “บ้านปู” หมู่บ้านที่เป็นพื้นที่สัมปทานทำเหมืองถ่านหินเหมืองแรกของบริษัทบ้านปูเมื่อ 27 ปีที่แล้ว
(นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา กันยายน 2553)
ภารกิจที่คนส่วนใหญ่มองไม่เห็น
หากเข้าใจว่ากระบวนการทำเหมืองถ่านหินมีแค่การขุดถ่านหินขึ้นมาแล้วก็ขนออกไปขาย คงไม่ถูกต้องทั้งหมด เพราะเหมืองแต่ละแห่งมีขั้นตอนที่ต้องพิจารณาลงในรายละเอียด ซึ่งทั้งลึกซึ้ง อ่อนไหว และต้องติดตามงานต่อเนื่อง แม้ว่าเหมืองแห่งนั้นจะปิดตัวลงไปแล้วหลายปี
(นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา กันยายน 2553)
ทำไมต้องถ่านหิน
ถ้าดูพอร์ตที่คุณชนินท์เล่าให้ฟัง ตอนนี้มีที่อินโดนีเซียเป็นหลัก และจีน แล้วก็มีธุรกิจไฟฟ้า คุณชนินทร์บอกว่าต้องมีประเทศที่ 3 ยังอยู่ในย่านนี้หรือเปล่า
(นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา กันยายน 2553)
A villager on an international milestone
บ่ายแก่ๆ ของกลางเดือนกรกฎาคม บุญเติมยืนมองที่นาของตนเองที่มีชาวปะกากะญอเกือบ 10 คน จากบ้านนากลาง หมู่บ้านที่อยู่ห่างออกไปไม่ไกลนัก เข้ามารับจ้างปักดำต้นกล้าให้
(นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา กันยายน 2553)
สมฤดี ชัยมงคล กับโจทย์ที่ท้าทาย CFO
เป็นเรื่องท้าทายสำหรับคนที่เป็น CFO ของบริษัทอย่างบ้านปู ที่ตั้งเป้าหมายชัดเจนว่าต้องการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง นอกจากการหาเงินทุนต้นทุนต่ำเพื่อนำมาใช้ในการขยายงานแล้ว ยังต้องสร้างสมดุลให้ผู้ถือหุ้นระหว่างผู้ที่ต้องการรับเงินปันผลกับผู้ที่ต้องการเห็นการเติบโตของบริษัท ซึ่งมีผลต่อการเติบโตของราคาหุ้น
(นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2550)
Institutionalizing Banpu
คนส่วนใหญ่ยังอาจติดกับภาพที่ว่ากลุ่มบ้านปู ธุรกิจเล็กๆ ที่เกิดจากการร่วมทุนระหว่างคนจาก 2 ตระกูล จนได้เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลายเป็นบริษัทมหาชน กระจายหุ้นให้นักลงทุนทั้งในกลุ่มสถาบัน กองทุนต่างชาติ และรายย่อยในประเทศอยู่ในปัจจุบัน ยังคงเป็นธุรกิจของตระกูลว่องกุศลกิจ
(นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2549)
พัฒนาการของบ้านปู
พัฒนาการของบริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน)
(นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2549)
New Source of Revenue
ไม่มีความพยายามครั้งใดของครอบครัวว่องกุศลกิจในการผลักดันธุรกิจของกลุ่มบ้านปูให้เติบโตออกไปได้อย่างรวดเร็วในต่างประเทศ จนกลายมาเป็นผู้เล่นเอกชนรายใหญ่ในธุรกิจถ่านหินระดับภูมิภาคได้อย่างในปัจจุบัน จะมีพละกำลังได้มากมายมหาศาลเท่าความพยายามอันแก่กล้า ซึ่งเกิดขึ้นมาในท่ามกลางเวลาที่ธุรกิจครอบครัวของพวกเขากำลังซวนเซจวนเจียนจะล้มลงในกระแสแห่งวิบากกรรมของค่าเงินครั้งใหญ่เมื่อกลางปี 2540
(นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2549)