ซิกส์เซ้นส์ไฮด์อะเวย์ บันไดสู่เวทีโลกของ “ณัฐ”
“...พ่อบอกว่า การเป็นเจ้าของโรงแรมมันน่าคบกว่าการเป็นเจ้าของโรงเลื่อยหรือโรงเหล็ก แม้ว่ายอดขายของโรงเหล็กหรือโรงเลื่อยอาจจะสูงปีละแสนล้านบาทก็ได้ แต่ยังไงเจ้าของโรงแรมก็เป็นอาชีพที่คนอยากคบมากที่สุดแล้ว...” เป็นหนึ่งในหลายวาทกรรมของชินเวศ ที่ณัฐประทับใจและเห็นด้วยอย่างมาก
(นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา พฤศจิกายน 2553)
“G Capital” หมากตัวใหม่บนสังเวียนเก่า
กว่า 10 ปีก่อน ความรุ่งเรืองของกลุ่มจีเอฟดับไปพร้อมกับฉากนักการเงินดาวรุ่งพุ่งแรงของ “ชินเวศ สารสาส” ที่มอดลง วันนี้ ชินเวศกลับมาขึ้นสังเวียนธุรกิจสินเชื่อที่เขาคุ้นเคยอีกครั้ง แม้ครั้งนี้ฐานลูกค้าจะเป็นคนกลุ่มใหม่ แต่เขาก็มั่นใจว่า “สารสาส” จะเติบโตบนเวทีเดิม ด้วยวิถีใหม่และหมากตัวใหม่ที่ชื่อ “G Capital”
(นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา พฤศจิกายน 2553)
“General Outsourcing” เรือธงบนน่านน้ำสีคราม
หากความหลงระเริงในความยิ่งใหญ่และมั่งคั่งบน “ธุรกิจฟองสบู่” เป็นก้าวผิดพลาดที่ทำให้เรือไททานิคอย่างจีเอฟจมไปกับคลื่นสึนามิทางการเงินปี 2540 การเปิดตัว “General Outsourcing” ในอีก 8 ปีถัดมาจึงเป็นก้าวใหม่ที่น่าจับตา เพราะนี่ไม่ใช่แค่ก้าวแรกหลังการล้มครืนแต่ยังเป็นหน้าแรกในตำนาน “reborn” ของ “สารสาส” ด้วย
(นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา พฤศจิกายน 2553)
บทเรียนที่ไม่มีในตำราของชินเวศ สารสาส
มาถึงวันนี้ นักการเงินรุ่นใหม่อาจไม่คุ้นหูกับชื่อ “ชินเวศ สารสาส” เพราะเขาเก็บตัวเงียบมาตลอด 13 ปี นับแต่ “จีเอฟ” อาณาจักรการเงินครบวงจรที่เขาสร้างมากับมือได้ล่มสลายลงจากวิกฤติการเงินในปี 2540 ปรากฏารณ์ครั้งนี้สร้างแง่คิดและมุมมองที่เป็นประโยชน์อย่างไรกับเขาบ้าง เป็นเรื่องที่น่าศึกษา
(นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา พฤศจิกายน 2553)
จีเอฟโฮลดิ้งส์ ก้าวกระโดดของธุรกิจการเงินตระกูลโอสถานุเคราะห์
การจะก้าวออกจากการมีชื่อว่า เป็นธุรกิจครอบครัวนั้น มีวิธีการที่ง่ายมาก
คือ จ้างมืออาชีพเข้ามาและให้ร่วมในบอร์ดบริหารด้วย กระจายหุ้นส่วนหนึ่งเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ
และร่วมทุนกับต่างชาติ นี่คือวิธีที่ตระกูลโอสถานุเคราะห์ใช้ในสายธุรกิจการเงิน
ซึ่งจะได้ผลมากน้อยแค่ไหนนั้นเป็นเรื่องที่ต้องคอยดูกันต่อไป
(นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2532)