Siam@Siam โรงแรมแรกแห่ง "พรประภา"
หลายคนคงนึกภาพไม่ออกว่า เมื่อผู้บริหารระดับอาวุโสที่คลุกคลีอยู่ในบริษัทยานยนต์ที่เก่าแก่ติดอันดับของประเทศมานานกว่า 30 ปี อย่าง "พรพินิจ พรประภา" ลุกขึ้นมาทำโรงแรมเองแล้วนั้น หน้าตาของโรงแรมจะเป็นอย่างไร ถ้าอยากรู้ก็ลองตามไปดู กับโรงแรมที่มีชื่อว่า "Siam@Siam"
(นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2550)
สยามกลการ ยังเป็นสมบัติของ "พรประภา" จนลมหายใจสุดท้ายของ ดร.ถาวร
7 กรกฎาคม 2544 เมืองไทยต้องสูญเสียบุคคลากรคนสำคัญ ในวงการอุตสาหกรรมยานยนต์ไปอีก
1 ท่าน จากการเสียชีวิตของดร.ถาวร พรประภา ผู้ก่อตั้ง และประธานกิตติมศักดิ์
บริษัทสยามกลการ และบริษัทในเครือ ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตและตัวแทนจำหน่าย
รถยนต์นิสสันในประเทศไทย
(นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2544)
ยามาฮ่ากลัว "พรเทพ"ผู้ขายทุกอย่างที่ขวางหน้า ?
ทำไมยามาฮ่าไม่ต่อสัญญาความร่วมมือทางเทคนิคกับสยามยามาฮ่า ซึ่งถือหุ้นใหญ่โดยสยามกลการ
หรือพูดง่ายๆ ทำไมยามาฮ่า มอเตอร์ ไม่เลือกสยามกลการซึ่งเป็นคู่ค้าเก่าแก่กันมานานกว่า
30 ปี ดูเหมือนจะเป็นคำถามที่ทุกฝ่ายพยายามหลีกเลี่ยงที่จะพูดถึง หรือหากจะตอบก็ตอบแบบเลี่ยงๆ
(นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2538)
"พรเทพ พรประภา คนสานฝัน (คนใหม่) ของถาวร"
พรเทพ พรประภา ขึ้นเป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่ แทนคุณหญิงพรทิพย์ ณรงค์เดช
ที่เลื่อนชั้นขึ้นเป็นรองประธานกรรมการ บริษัทสยามกลการ ตามคำสั่งลงวันที่
4 ตุลาคม 2536 ลงนามโดยถาวร พรประภา ประธานกิติมศักดิ์ ผู้ก่อตั้งสยามกลการ
ดูเหมือนจะเป็นการแก้ปัญหาต่าง ๆ ในบริษัทได้ดี
(นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2536)
"สยามกลการเดินหลงทาง?"
สำหรับบริษัทรถยนต์อย่างสยามกลการพวกเขา มักจะบอกใครต่อใครว่าเป็นบริษัทไทยแท้
100% แต่น่าเสียดาย ที่ในขณะที่ยุคแห่งโลกานุวัตรกำลังแผ่กระจายในโลกของการแข่งขัน
พวกเขากลับมีปัญหาจากการโยกย้ายคนภายในเป็นเพียงน้ำผึ้งหยดเดียว ที่อาจจะทำให้ชื่อของ
"สยามกลการ" ถูกลบจากสาระบบธุรกิจยานยนต์ของไทยในอนาคต !!
(นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2536)
"สยามกลการกับประวัติศาสตร์หน้าใหม่"
ชื่อของสยามกลการในอดีตที่ผ่านมาเพิ่งมีอายุการก่อตั้ง ครบ 40 ปีเมื่อปีก่อนดูจะเป็นบริษัทรถยนต์เกรดรอง
เมื่อเทียบกับบริษัทผู้ค้ารถยนต์รายอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นโตโยต้าหรือ ฮอนด้าที่เป็นค่ายรถยนต์ญี่ปุ่นด้วยกัน
(นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2536)
"สยามกลการทศวรรษที่ 5 ให้จับตา "พรพินิจ"
วันที่ 4 กันยายนนี้ นับเป็นปีที่คนในสยามกลการ ตื่นเต้นเป็นพิเศษ เพราะเป็นการฉลอง
40 ปีสยามกลการ ชื่อบริษัทซึ่ง ม.ล. ยวง อิศรเสนา ตั้งให้กับถาวร พรประภา
ผู้รับมรดกร้าน "ตั้งท่งฮวด" จาก "ไต้ล้ง" ต้นตระกูล
"พรประภา"
(นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2535)
"เหตุวิกฤตครั้งหนึ่งในชีวิต ถาวร พรประภา"
ถาวร พรประภาเป็นตัวอย่างของพ่อค้าในยุคสงครามโลกครั้งที่สองที่บุกเบิกกิจการค้ารถยนต์จนสร้างอาณาจักรอุตสาหกรรมในนามของ
"สยามกลการ" ได้สำเร็จเพราะส่วนผสมระหว่างสายสัมพันธ์ธุรกิจกับการะสมทุนให้แข็งแกร่ง
(นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2535)