"พาราไดส์ สคูบา" เริ่มจากเสี่ยง สู่อินเตอร์
ในวันนี้เมืองพัทยามีตัวเลขการเดินทางเข้ามาของกลุ่มนักดำน้ำและผู้เรียนดำน้ำในแต่ละปี
ไม่น้อยกว่า 15,000 คน และ 70% เป็นกลุ่มนักดำน้ำจากประเทศเยอรมนี ที่เหลือเป็นกลุ่มนักดำน้ำ
จากประเทศญี่ปุ่น, เกาหลี, ไต้หวัน ฯลฯ ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา เมืองพัทยามีผู้ประกอบธุรกิจ
ให้เช่าอุปกรณ์ดำน้ำและสอนดำน้ำเกิดขึ้นไม่น้อยกว่า 14 แห่ง และเกือบทั้งหมดดำเนินงานโดยชาวต่างชาติ
(นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2544)
100 ชม. สู่การเป็นครูฝึกสอนดำน้ำ
หลักสูตรที่ "พาราไดส์ สคูบา" และร้านดำน้ำส่วนใหญ่ ในพัทยา เลือกที่จะใช้หลักสูตรสำหรับสอนให้กับผู้สนใจดำน้ำ
ที่เดินทางเข้ามาเรียน คือ หลักสูตรของ PADI หรือ Professional Association
Development Instructor หนึ่งในสมาคมผู้ประกอบ การดำน้ำที่เกิดจากการรวมตัวของกลุ่มผู้ประกอบการดำน้ำทั่ว
โลก สำนักงานใหญ่อยู่ที่ประเทศสหรัฐฯ มีหน้าที่ผลิตนักดำน้ำ ขั้นต่างๆ จนถึงขั้นเป็นครูฝึกสอนดำน้ำ
ซึ่งเป็นที่รู้จักอย่างดีของ นักดำน้ำทั่วโลก
(นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2544)
คู่แข่ง "พาราไดส์ สคูบา"
เทียนชัย ม่วงแก้ว เจ้าของธุรกิจให้บริการซีวอร์กเกอร์ ซึ่งตั้งอยู่บนเกาะล้านในชื่อบริษัท
ซีเวอร์ ยาร์ท จำกัด ผู้ประกอบธุรกิจซีวอร์กเกอร์ และให้เช่าอุปกรณ์ดำน้ำ
กล่าวถึง การดำเนินธุรกิจของตนว่า จะเน้นหนักที่การเปิดบริการนำนักท่องเที่ยวเดินใต้ทะเลมากกว่าบริการดำน้ำ
เพราะบริษัทไม่มี ใบอนุญาตสอนดำน้ำจากสถาบันที่เกี่ยวกับการดำน้ำ ดังนั้นธุรกิจที่ทำในปัจจุบันจึงเป็นเพียงให้เช่าอุปกรณ์ดำน้ำ
สำหรับ ผู้มีใบรับรองการเรียนดำน้ำเท่านั้น
(นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2544)