รู้จัก Volvo... รู้จัก Geely... รู้จัก “หลี่ ซูฝู”
วันอาทิตย์ที่ 28 มีนาคม 2553 ณ เมืองโกเตนเบิร์ก ประเทศสวีเดน และแล้วข่าวลือชิ้นใหญ่ที่สุดในรอบหลายปีของแวดวงอุตสาหกรรมยานยนต์จีนก็กลายเป็นความจริง หลังเสร็จสิ้นการลงนามในสัญญาซื้อขายกิจการมูลค่า 1,800 ล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 59,000 ล้านบาท) เลวิส บูท ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายการเงิน (CFO) ของบริษัทฟอร์ด มอเตอร์ ก็เข้าสวมกอดกับชายชาวจีนวัยกลางคน ประธานกรรมการบริหารของกลุ่มบริษัทเจ้อเจียง จี๋ลี่ โฮลดิ้ง ที่ชื่อ "หลี่ ซูฝู (Li Shufu)"
(นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา พฤษภาคม 2553)
Ford กับคำถามที่ต้องตอบ
การเลือกใช้ ROI ของดีแทคแตกต่างจาก Ford อย่างชัดเจน เมื่อ Joanne Sheehan Head of Media and Sponsorship จาก Ford of Europe บอกว่า 1 ใน 3 ของงบลงทุนทั้งหมดของ Ford หมดไปกับการสื่อสารกับตลาด การสนับสนุนเป็นสปอนเซอร์ และอื่นๆ ที่เป็นภาพลักษณ์ให้กับ Ford
(นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2550)
เมื่อ Nissan มาแรงแซง Big Three
เผยกลยุทธ์เพิ่มประสิทธิภาพของ Nissan ที่สร้างความได้เปรียบเหนือผู้ผลิตรถยนต์ยักษ์ใหญ่ทั้งสามของสหรัฐฯ เป็นเวลาหลายปีมาแล้วที่ "3 ผู้ยิ่งใหญ่" หรือ Big Three ซึ่งหมายถึง 3 ยักษ์ใหญ่ผู้ผลิตรถยนต์ของสหรัฐฯ คือ General Motors, Ford และ Chrysler ต่างเร่งเครื่องอย่างหนักที่จะเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตเพื่อไล่กวดคู่แข่งจากญี่ปุ่น
(นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2547)
Ford อ่วม เจอข่าวลือใกล้ล้มละลาย
ธุรกิจรถหรูขาดทุน ผู้บริหารมีปัญหาเกาเหลา สารพัดมรสุมข่าวลือยังรุมกระหน่ำ
Ford ถึงเวลาพิสูจน์ฝีมือ CEO Bill Ford ทายาทรุ่นหลังของบริษัทรถยนต์ยักษ์ใหญ่อเมริกัน
(นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2546)
Ford ผู้เปิดตลาด pick up 4 ประตู
ในปี 2003 หรืออีกสองปีข้างหน้า Ford Motor บรรษัทผู้ผลิตรายใหญ่ของโลก
ที่ก่อตั้งโดย Henry Ford แห่งนี้จะมีอายุ ครบรอบศตวรรษ ซึ่งนับเป็น 100
ปีที่เต็มไป ด้วยสีสันและเรื่องราวที่มากมายเกินกว่าจะกล่าวขานได้หมด
(นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2544)
ฟอร์ด มอเตอร์
เฮนรี่ ฟอร์ด ก่อตั้งบริษัทฟอร์ด มอเตอร์เมื่อปี 1903 ที่เดียบอร์น มิชิแกน หลังจากนั้นห้าปีก็เปิดตัวรถ Model T ที่ผลิตจากสายการผลิตที่ปฏิวัติวงการรถยนต์ในยุคนั้น พอถึงปี 1920 รถยนต์ราว 60% ที่วิ่งอยู่ในสหรัฐฯ ก็เป็นรถยี่ห้อฟอร์ด
(นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2543)
ยนตรกิจ กรุ๊ป สนิมหรือทอง โอกาสอยู่ตรงนี้แล้ว
แหล่งข่าวระดับสูงในบริษัท ยนตรกิจ จำกัด กล่าวว่า "ขณะนี้บริษัทได้เข้าไปดำเนินการบริหารงานภายในบริษัทคอมเมอร์เชียลมอเตอร์เวอร์ค
จำกัด ซึ่งเป็นตัวแทนจำหน่ายรถยนต์โฟล์กสวาเก้นแล้ว ทั้งนี้เพื่อต้องการขยายตลาดรถยนต์ยุโรปให้ครอบคลุมมากกว่าเดิม"
(นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2540)
อุตสาหกรรมรถยนต์ไทย พัฒนาไปถึงไหนแล้ว?
หลังจากที่มีการประกาศสร้างฐานการผลิตของบริษัทรถยนต์ยักษ์ใหญ่ค่ายต่าง
ๆ ในประเทศไทย รวมทั้งการขยับขยายของบริษัทตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ยี่ห้อต่าง
ๆ ทำให้เกิดความคึกคักขึ้นมากในตลาดนี้ แม้ว่ายอดขายรถยนต์ในปีนี้จะลดต่ำลงด้วยเหตุผลหลักด้านภาวะเศรษฐกิจ
แต่ในระยะยาวนั้น คาดว่าประเทศไทยจะมีอัตราการผลิตรถยนต์สารพัดยี่ห้อเพื่อการส่งออกในอัตราสูงติดอันดับโลก
เรื่องโดย กองบรรณานิการ
(นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2540)
"ถึงเวลา "บิ๊กทรี" คืนสังเวียนตลาดรถสหรัฐฯ"
นับเป็นครั้งแรกในรอบศตวรรษที่อุตสาหกรรมรถยนต์สหรัฐฯ สามารถชิงความเป็นผู้นำในตลาดบ้านเกิดคืนจากคู่แข่งญี่ปุ่นได้อีกครั้ง หลังจากที่พ่ายแพ้อย่างหมดรูปไปเป็นเวลานานถึงเกือบสิบปี ณ วันนี้ ฟอร์ดและไครส์เลอร์กำลังก้าวขึ้นเป็นผู้ผลิตรถยนต์ที่ทรงประสิทธิภาพระดับโลก
(นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2535)